ในหัวข้อนี้เราจะพูดถึง รูปแบบวงจรของ Magnetic Contactor ซึ่งข้อมูลส่วนนี้มีความจำเป็นต่อการเลือกใช้ กลุ่มสินค้าของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ เพื่อให้เกิดความเหมาะสมกับลักษณะงาน โดยการแบ่งรูปแบบการทำงานด้วย วงจรควบคุมมอเตอร์ (Start motor) ของแมกเนติก คอนแทคเตอร์ เป็นอีกส่วนหนึ่งที่จะช่วยให้ท่านมีความใจถึงความหมายว่า แมกเนติกคอนแทคเตอร์ คืออะไร? ได้อย่างเข้าใจและนำไปสู่ประสิทธิภาพการทำงานที่ดียิ่งขึ้น
การใช้งานแมกเนติกคอนแทคเตอร์ให้เหมาะสมได้นั้น เราจำเป็นต้องมีความเข้าใจในเรื่องของวงจรควบคุมกันก่อน โดยในเนื้อหาต่อไปนี้จะใช้ วงจรควบคุมมอเตอร์ (Start motor) เป็นเกณฑ์ในการแบ่งรูปแบบการทำงาน โดยมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
วงจรควบคุมมอเตอร์ (Start motor) ของแมกเนติก คอนแทคเตอร์
การควบคุมวงจรมอเตอร์ของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ มักแบ่งออกเป็น 2 รูปแบบ คือ
การสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง (Direct on line starter: DOL)
การเริ่มเดินมอเตอร์โดยตรง เป็นการจ่ายแรงดันไฟฟ้าตามพิกัดที่ระบุบน Name Plate มอเตอร์ เรียกย่อว่าการสตาร์ทแบบ DOL โดยไม่มีการลดกระแสหรือแรงดันขณะสตาร์ท ซึ่งมอเตอร์จะมีกระแสขณะสตาร์ทประมาณ 6 ถึง 7 เท่าของกระแสพิกัด จึงเหมาะกับมอเตอร์ขนาดเล็กเช่นมอเตอร์มีขนาดไม่เกิน 7.5 กิโลวัตต์หรือ 10 แรงม้า แต่อาจมีการสตาร์ทแบบ DOL ได้เช่นกันในมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่กว่านี้ สำหรับงานที่ต้องการแรงบิดสูงๆ
รูปแสดงวงจรการสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง (Direct on line starter: DOL)
การสตาร์ทมอเตอร์ด้วยการลดแรงดันไฟฟ้า (Reduced Voltage Starter)/ Star Delta
เนื่องจากการเริ่มเดินมอเตอร์แบบ DOL จะมีกระแสสตาร์ทสูงประมาณ 7 ถึง 10 เท่า ทำให้การเลือกอุปกรณ์ไม่ว่าจะเป็นขนาดของเซอร์กิตเบรกเกอร์, คอนแทคเตอร์, สายไฟ จะต้องมีการเผื่อการรองรับกระแสให้เพียงพอ เพื่อป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้น
การเดินมอเตอร์ด้วยการลดแรงดันไฟฟ้า (Reduced Voltage Starter) ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน มีหลายแบบด้วยกัน แต่วิธีที่นิยมที่สุด คือ การเริ่มเดินแบบสตาร์-เดลต้า (Star-delta starter)
ซึ่งการสตาร์ทแบบสตาร์-เดลตา นี้ เป็นวิธีการที่นิยมใช้กันมาก เนื่องจากออกแบบง่ายและเหมาะสำหรับการสตาร์ทมอเตอร์สามเฟสแบบเหนี่ยวนำใช้สำหรับมอเตอร์ที่มีการต่อขดลวดภายในที่มีปลายสาย ต่อออกมาข้างนอก 6 ปลาย และมอเตอร์จะต้องมีพิกัดแรงดันสำหรับการต่อแบบเดลตาที่สามารถต่อเข้ากับแรงดันสายจ่ายได้อย่างปลอดภัย
ปกติพิกัดที่ตัวมอเตอร์สำหรับระบบแรงดัน 3 เฟส 380 V จะระบุเป็น 380/660 V ในขณะสตาร์ทมอเตอร์จะทำการต่อแบบสตาร์ (Star หรือ Y) ซึ่งสามารถลดแรงดันขณะสตาร์ทได้ และ เมื่อมอเตอร์หมุนไปได้สักระยะหนึ่งประมาณความเร็ว 75% ของความเร็วพิกัดมอเตอร์จะทำการต่อแบบเดลตา ( Delta หรือ D)
รูปแสดงวงจร star-delta ภาค Control
รูปแสดงวงจร star-delta ภาค Power
จากเนื้อหาทั้งหมดที่กล่าวมานั้น จะเห็นได้ว่าหากเราใช้ วงจรควบคุมมอเตอร์ (Start motor) เป็นเกณฑ์ในการแบ่งรูปแบบนั้น จะสามารถแบ่งได้ทั้งหมดเป็น 2 แบบ ได้แก่ การสตาร์ทมอเตอร์โดยตรง (Direct on line starter: DOL) และ การสตาร์ทมอเตอร์ด้วยการลดแรงดันไฟฟ้า (Reduced Voltage Starter)/ Star Delta โดยรายละเอียดของแต่ละแบบนั้น ก็จะมีรายละเอียดที่แตกต่างกันออกไป
ฉะนั้นก่อนการตัดสินใจเลือกใช้ กลุ่มสินค้าของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ นั้น จำเป็นต้องมีการคำนึงถึงข้อมูลในส่วนนี้ เพื่อสามารถเลือกใช้ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ ได้ถูกประเภทและเกิดความเหมาะกับลักษณะงานต่อไป
และนี้คือเนื้อหาทั้งหมดที่ทาง Factomart.com ได้นำมาเสนอ โดยข้อมูลนี้เป็นความรู้พื้นฐานที่จะช่วยเสริมความเข้าใจให้รู้ว่า แมกเนติกคอนแทคเตอร์ คืออะไร? และถ้าหากท่านผู้อ่านมีข้อสงสัย หรือ ต้องการเพิ่มเติมในส่วนใด ทางเรายินดีให้บริการผ่านทุกช่องทางการติดต่อของเราครับ
แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อแมกเนติก คอนแทคเตอร์
แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) แมกเนติก คอนแทคเตอร์ ที่เราได้รวบรวมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อแมกเนติก เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย เช่น แบรนด์ Schneider Electric, ABB, Lovato Electric, Mitsubishi Electric และ Fuji Electric