ส่วนประกอบของแมกเนติก (Magnetic Contactor) มีอะไรบ้าง ไปดูกัน!

แมกเนติก

Share this post

เนื้อหาในส่วนนี้เราจะพาทุกท่านมาล้วงลับ เข้าไปดูส่วนประกอบภายในของ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ ว่าอะไรคือส่วนประกอบสำคัญ? ที่ทำให้ สวิทช์ตัดต่อวงจรไฟฟ้า นั้นสามรถทำงานได้  โดยแต่ส่วน มีความสำคัญ และ มีหน้าที่อย่างไร? ทางเราได้จัดเตรียมข้อมูลไว้ พร้อมที่จะพาท่านไปเยี่ยมชมภายใน ให้เข้าใจถึงกระบวนการทำงานของ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ กันครับ

หากท่านผู้อ่านต้องการรู้เพิ่มเติมว่า แมกเนติกคอนแทคเตอร์ หรือ ต้องการที่จะเลือกซื้อ กลุ่มสินค้าของแมกเนติกคอนแทคเตอร์  ทาง Facromart.com ได้จัดเตีรยมข้อมูลต่างๆทีจะเสริมความเข้าใจ และ รายการสินค้ามากมายไว้ให้ท่านเลือกสรรได้อย่างจุใจในเว็บไซต์ของเรานะครับ

ส่วนประกอบของแมกเนติกคอนแทคเตอร์

แมกเนติก คอนแทคเตอร์
แมกเนติก

แกนเหล็ก (Core) มี 2 ส่วนได้แก่ แกนเหล็กอยู่กับที่และแกนเหล็กเคลื่อนที่

แกนเหล็ก (Core)

แกนเหล็กนี้ผลิตจากแผ่นเหล็กบางๆ นำมาวางซ้อนกันหลายๆ ชั้น โดยแผ่นเหล็กเหล่านี้จะถูกเคลือบด้วยฉนวนไฟฟ้า เพื่อป้องกันไม่ให้กระแสไฟไหลวนในแกนเหล็ก ที่จะส่งผลให้เกิดความร้อนภายในแกนเหล็ก แกนเหล็กที่ทำหน้าเป็นทางเดินของเส้นแรงแม่เหล็ก ประกอบด้วย 2 ส่วนคือ

แกนเหล็กอยู่กับที่ (Stationary Core)

มีขดลวดทองแดงพันรอบอยู่ และมีวงแหวนบัง (Shading Ring) ฝังอยู่บนผิวหน้าของแกนเหล็ก เมื่อทำการจ่ายไฟฟ้ากระแสสลับ AC เข้าไปที่ขดลวด เส้นแรงแม่เหล็กจะเปลี่ยนสลับไปมา ส่งผลให้อาร์เมเจอร์เกิดการสั่นไหวตามจังหวะการเปลี่ยนแปลงเส้นแรงแม่เหล็ก วงแหวนบัง (Shading Ring) จะทำให้เกิดเส้นแรงแม่เหล็กที่ต่างเฟสกับเส้นแรงแม่เหล็กหลัก จึงสามารถช่วยลดการสั่นลงได้

แกนเหล็กเคลื่อนที่ (Moving Armature)

ทำจากแผ่นเหล็กบางอันซ้อนกันเป็นแกน โดยมีชุดหน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (Moving Contact) ยึดติดอยู่

แมกเนติก

ขดลวด (Coil) ขดลวดหรือคอยล์ ทำมาจากลวดทองแดงพันอยู่รอบแกนล้อพันขดลวด(Bobbin)

ขดลวด (Coil)

ขดลวดทำมาจากทองแดง ขดลวดจะถูกพันอยู่รอบแกนเหล็กอยู่กับที่ ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็ก โดยมีขั้วต่อไฟเข้าสัญลักษณ์ A1 – A2

แมกเนติก

หน้าสัมผัส (Contact) หน้าสัมผัสจะยึดติดอยู่กับแกนเหล็กเคลื่อนที่

หน้าสัมผัส (Contact)

หน้าสัมผัสของแมกเนติก คอนแทคเตอร์ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

หน้าสัมผัสหลัก (Main Contact)

ทำหน้าที่ตัด-ต่อกระแสไฟฟ้าในวงจรกำลัง (Power Circuit) เข้าสู่โหลด ซึ่งมีขนาดกระแสไฟฟ้าที่มากกว่า หน้าสัมผัสนี้จึงมีขนาดใหญ่กว่า แบ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ

  • หน้าสัมผัสอยู่กับที่ (Stationary Contact) หน้าสัมผัสส่วนนี้จะถูกยึดติดอยู่กับโครง (Mounting) ของแมกเนติก ส่วนนี้จะเป็นส่วนที่เชื่อมต่อกับสายตัวนำไฟฟ้าทั้งด้านเข้าและด้านออก
  • หน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (Movable Contact) หน้าสัมผัสส่วนนี้จะถูกยึดอยู่กับส่วนแกนเหล็กเคลื่อนที่ โดยมีตัวรองรับที่วัสดุเป็นฉนวนไฟฟ้าเป็นตัวยึดเข้าด้วยกัน

หน้าสัมผัสช่วย (Auxilary Contact)

หน้าสัมผัสส่วนนี้มีขนาดของชุดหน้าสัมผัสเล็กกว่าหน้าสัมผัสหลัก รองรับกระแสไฟได้น้อยกว่า ถูกนำไปใช้งานในวงจรควบคุม (Control Circuit) หน้าสัมผัสชนิดนี้มีทั้งแบบติดตั้งอยู่ในตัวแมกเนติกเลย หรือแบบติดตั้งแยกต่างหากที่นำมาประกอบเข้ากับแมกเนติกเพิ่มได้ภายหลัง โดยแบบติดตั้งแยกจะได้รับความนิยมมากกว่าแบบติดตั้งอยู่ในตัว และสามารถติดตั้งได้ทั้งด้านข้างหรือด้านบนของแมกเนติก คอนแทคเตอร์ หน้าสัมผัสช่วยนี้แบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ

  • หน้าสัมผัสปกติเปิด (Normally Open : NO)
  • หน้าสัมผัสปกติปิด (Normally Close : NC)
แมกเนติก

สปริง (Spring) ทำหน้าที่ไม่ให้หน้าคอนแทคสัมผัสกัน

สปริง (Spring)

เป็นสปริงแบบชนิดสปริงกด (Pressure Spring) โดยสปริงในแมกเนติก คอนแทคเตอร์ มี 2 ชุด คือ

สปริงดันแกนเหล็ก

สปริงกันแกนเหล็กหรือสปริงดันอาร์เมเจอร์ คือ สปริงที่ทำหน้าที่ดันแกนเหล็กทั้ง 2 ส่วนให้แยกจากกันเมื่อไม่มีการจ่ายไฟเข้าขดลวดสร้างสนามแม่เหล็ก เป็นผลให้หน้าสัมผัสแยกออกจากกัน สปริงส่วนนี้จะมีขนาดใหญ่ที่สุด

สปริงดันหน้าสัมผัส

คือ สปริงที่ติดตั้งอยู่กับหน้าสัมผัส (ส่วนที่เคลื่อนที่) ติดตั้งอยู่ด้านหลังของหน้าสัมผัส ทำหน้าที่คอยดันให้หน้าสัมผัสแนบสนิทกับหน้าสัมผัสส่วนที่อยู่กับที่ และเป็นตัวซึมซีบแรงกระแทกระหว่างหน้าสัมผัส เพื่อไม่ให้หน้าสัมผัสเกิดความเสียหาย

เห็นไหมครับว่า? ถึงแม้จะเป็นส่วนประกอบเพียงไม่กี่ชิ้น แต่ก็เป็นส่วนที่พื้นฐานที่สำคัญ ที่ไม่สามารถขาดไปได้ เปรียบเสมือนการใช้งานเช่นกัน เราจำเป็นต้องมีความรู้พื้นฐาน และ มีความเข้าใจว่า แมกเนติกคอนแทคเตอร์ เพื่อที่เราจะได้มีความรู้มากพอ เพื่อที่จะสามารถเลือกซื้อ กลุ่มสินค้าของแมกเนติกคอนแทคเตอร์ ให้เหมาะสมกับงานและเกิดประสิทธิภาพได้มากที่สุดครับ

และทั้งหมดนี้คือส่วนประกอบต่างๆของ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ ที่ทาง Facromart.com ได้จัดเตีรยมข้อมูลไว้เพื่อทีจะเสริมความรู้และความเข้าใจ ถึงส่วนประกอบสำคัญที่อยู่ภายในของ แมกเนติกคอนแทคเตอร์ นะครับ หากท่านมีข้อสงสัย หรือ ต้องการเพิ่มเติมในส่วนใด เรายินดีให้บริการผ่านทุกช่องทางการติดต่อของเรานะครับ

หากท่านมีข้อสงสัยหรือต้องการเพิ่มเติมในส่วนใด เรายินดีให้บริการผ่านทุกช่องทางการติดต่อของเรานะครับ ทั้งทางอีเมลล์ info@fctomart ทาง Line หรือทางแชทด้านล่างขวามือได้เลยครับ

ดาวน์โหลดคู่มือแมกเนติก คอนแทคเตอร์

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือและศูนย์รวมข้อมูลแมกเนติก คอนแทคเตอร์ คุณสามารถดาวน์โหลดบทความทุกบทในรูปแบบไฟล์เอกสารได้ที่นี่เลย มีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้ หลักการทำงานของแมกเนติก ส่วนประกอบ วงจรสำหรับต่อแมกเนติก อุปกรณ์เสริม เลือกแมกเนติกให้เหมาะกับมอเตอร์ที่ใช้ เปรียบเทียบ 6 แบรนด์ แมกเนติก และการต่อวงจร Interlock ใช้ควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส

New call-to-action

แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อแมกเนติก คอนแทคเตอร์

แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) แมกเนติก คอนแทคเตอร์ ที่เราได้รวบรวมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อแมกเนติก เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย เช่น แบรนด์ Schneider Electric, ABB, Lovato Electric, Mitsubishi Electric และ Fuji Electric

Button-02-N03-New
Button-02-Home-back-New
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
Facebook Comments