วงจร Interlock เป็นวงจรที่สำคัญใช้กันอย่างแพร่หลาย ไว้สำหรับใช้ค้างสถานะ เหมาะกับการใช้กับปุ่มกด Push button ที่เป็นแบบ Normally-open (NO) เพราะว่าปุ่มกด NO หลังจากที่กดแล้วปล่อยมันจะกลับไปสถานะเดิม จึงต้องมีวงจรมาช่วยให้ไม่ให้กลับไปสถานะเดิม ใช้กันเยอะในวงจรสตาร์ทมอเตอร์ ในบทความนี้ทางเราแนะนำตัววงจรรวมถึงการทำ wiring สาย และอุปกรณ์สำคัญที่ใช้ในวงจรนี้ อาทิเช่น Emergency Switch, Pilot Lamp, แมกเนติก คอนแทคเตอร์ และ Push Button
คุณวิกันต์ : เซอร์กิตนี้ เรียกว่าเซอร์กิตอะไรครับ คุณชนะเดช
คุณชนะเดช : เซอร์กิตนี้ปกติจะเรียกว่า วงจรค้างสถานะ แต่ที่เราคุ้นเคยกันจะเรียกมันว่า Interlock Circuit ครับ
คุณวิกันต์ : แล้วทำไมทางเราจึงแนะนำเป็นวงจรนี้ครับ
คุณชนะเดช : วงจร Interlock นี้นะครับ เป็นวงจรเบสิกพื้นฐานที่ใช้สำหรับการเริ่มวงจรไฟฟ้า โดยปกติแล้วเวลาสตาร์ทมอเตอร์เนี่ย เราจะนิยมใช้ปุ่มที่เป็นปุ่ม Push Button ในรูปนี้นะครับ ซึ่งถ้าเรากดค้างไว้ มอเตอร์ก็จะทำงานค้าง แต่เวลาเราปล่อยปุ่มปุ๊ป มอเตอร์ก็จะหยุดทันที ดังนั้นเราจึงต้องใช้วงจร Interlock มาทำให้มันทำงานค้าง เมื่อเรากดปุ่มทีนึงแล้วปล่อย ตัวมอเตอร์ก็จะทำงานค้างครับ และเมื่อเรากดปุ่ม Stop สีแดง มอเตอร์ก็จะหยุดทำงานครับ
คุณวิกันต์ : คุณชนะเดชครับ วงจรนี้มีการทำงานอย่างไรครับ
คุณชนะเดช : ในวงจร Interlock Circuit นี้นะครับ เราจะมาดูกันที่เป็น Single Line Diagram กันครับ
คุณชนะเดช : เริ่มตั้งแต่ไฟ 220 V เข้ามาผ่าน Emergency Switch สีแดงตัวนี้นะครับ
คุณชนะเดช : หลังจากนั้นจะมีปุ่ม Stop ตัวนี้นะครับ ซึ่งทั้ง 2 ตัวนี้จะเป็นหน้าคอนแทค NC ครับ
คุณชนะเดช : หลังจากนั้นจะมีปุ่ม Start ปุ่มสีเขียว เป็นหน้าคอนแทค NO
คุณชนะเดช : แล้วจะเป็นตัว แมกเนติก คอนแทคเตอร์ ส่วนนี้จะเป็นคอยด์ครับ
คุณชนะเดช : แล้วจะมีตัว Auxiliary Contact ของตัวคอนแทคเตอร์เอง ตัวนี้จะเป็นหน้าคอนแทค NO
คุณชนะเดช : ส่วนตัวนี้เป็น Auxiliary Contact ของตัวแมกเนติก คอนแทคเตอร์ ตัวนี้จะเป็นหน้าคอนแทค NC นะครับ
คุณชนะเดช : จากนั้นจะมีตัว Pilot Lamp จำนวน 2 ตัว ไว้แสดงสถานะ ปุ่มแรกคือปุ่มสตาร์ท เมื่อกดสตาร์ท มอเตอร์ทำงาน ไฟสีเขียวจะติด
คุณชนะเดช : เมื่อกดปุ่ม Stop ไฟสีแดงจะติด มอเตอร์จะหยุดทำงานนะครับ
คุณชนะเดช : หลังจากนั้นจะมาที่ปุ่ม Start สีเขียว ตัวนี้นะครับ หน้าคอนแทคของปุ่ม Start จะเป็น NO พลิกไปด้านหลังที่มีแถบสีเขียว และตัวอักษรเขียนว่า NO บอกไว้อยู่ครับ
คุรชนะเดช : หลังจากนั้นจะเป็นปุ่ม Stop ไว้สำหรับหยุดมอเตอร์ ปุ่ม Stop หน้าคอนแทคจะเป็น NC เหมือนกัน
คุณวิกันต์ : คุณชนะเดชช่วยโชว์อุปกรณ์ชัดๆ อีกทีนะครับ
คุณชนะเดช : ครับผม อุปกรณ์ที่ใช้ในวงจร Interlock นี้นะครับ ผมจะเริ่มต้นที่ปุ่ม Emergency Switch ครับ ถ้าเรียงตามวงจรก็คือตัว Emergency Stop ปุ่มตัวนี้นะครับลักษณะการทำงานก็คือมันจะค้าง เวลาจะปล่อยก็ให้หมุนแล้วก็ปล่อย หน้าคอนแทคของปุ่มนี้จะเป็น NC สังเกตที่แถวสีแดงด้านหน้าและมีเขียนข้างๆ ว่า NC นะครับ
คุณชนะเดช : ฟังก์ชั่นการทำงานของวงจร Interlock นี้นะครับ ชื่อมันบอกอยู่แล้วนะครับว่าไว้ใช้ค้างสถานะการทำงานนะครับผม วิธีการทำงานเมื่อเราจ่ายไฟเข้าที่ 220V นี้นะครับ ไฟก็จะไหลลงมา เมื่อเรากดปุ่ม Start แล้วไฟก็จะเข้ามาที่ตัวแมกเนติก คอนแทคเตอร์ แล้วลงกราวด์ ทำให้แมกเนติก คอนแทคเตอร์ทำงาน เมื่อทำงานแล้ว หน้าคอนแทคตัว NO ก็จะทำงานตาม เมื่อทำงานแล้วจะทำให้ตัวไฟสีเขียวติด
แต่ถ้าเรากดปุ่ม Stop ปุ๊ป วงจรจะตัดทันที เมื่อวงจรตัดไฟจะไม่ไหลไปที่หน้าคอนแทค NO แต่จะไหลไปหาหน้าคอนแทค NC แทน ทำให้ไฟสีแดงติด หลังจากนั้นเมื่อเราเทสฟังก์ชั่น Emergency หรือสวิตช์ฉุกเฉิน เมื่อเรากดปุ่มตัวนี้ปุ๊ป ทั้งไฟสีแดงและสีเขียวก็จะไม่ติดทั้งคู่
ที่เรียกว่าวงจร Interlock เนี่ยมันทำงานช่วงไหน มันก็คือช่วงที่เรากดปุ่ม Start สีเขียว เมื่อไฟวิ่งเข้ามาตรงนี้แล้ว เราจะดึงหน้าคอนแทคที่เป็น NO ให้ทำงาน ไฟแทนที่จะวิ่งไปหาปุ่ม Start สีเขียว เมื่อเราปล่อยปุ่มนี้ ไฟจะไม่วิ่งผ่านเส้นนี้แล้ว แต่จะวิ่งผ่านเส้นคอนแทค NO แทน ทำให้มีไฟเลี้ยงเข้าคอยด์เหมือนเดิม มันก็ยังคงค้างค่าอยู่ แต่เมื่อเรากดปุ่ม Stop สีแดง จะไม่มีไฟวิ่งเข้าเส้นคอนแทคช่วย NO และเส้นปุ่ม Start สีเขียว ทำให้ตัวแมกเนติกไม่ทำงาน มอเตอร์ก็จะหยุดทำงานครับ
คุณชนะเดช : จากนั้นจะมาที่คอยด์ของคอนแทคเตอร์นะครับ ก็คือ A1 กับ A2 ที่อยู่บนตัวแมกเนติก คอนแทคเตอร์
คุณชนะเดช : จากนั้นตัวแสดงสถานะการทำงาน สีเขียวก็คือมอเตอร์ทำงาน ไฟจะติด
คุณชนะเดช : ส่วนปุ่มนี้ สีแดง เป็นตัวมอเตอร์หยุดทำงาน ไฟสีแดงก็จะติด
คุณชนะเดช : ส่วน Auxiliary Contact คอนแทคช่วยตัวนี้นะครับ ที่เขียนว่า NO กับ NC บนตัวแมกเนติกของ Schneider จะมีมาให้ครบนะครับ ผมได้อธิบายครบทุกอุปกรณ์แล้วครับสำหรับวงจร Interlock นี้ และในวันนี้ผมจะใช้ Push Button รุ่น Harmony XB5 Plastic ของ Schneider มาทดลองกันครับ
คุณวิกันต์ : เอาล่ะครับ เรามาดูของการ Wiring กันดีกว่าครับ สายสีดำนี้นะครับจะเป็นสายไลน์กับสายนิวทรัลนะครับ เริ่มที่สายไลน์ (Line) จะต่อเข้าที่ตัวปุ่ม Emergency Stop แล้วออกจากตัวปุ่ม Emergency Stop ไปเข้าที่ปุ่ม Stop ก่อนครับ
คุณวิกันต์ : จากตัวปุ่ม Stop ก็จะต่อไปที่ปุ่ม Start ตามที่ลูกศรชี้บอกไว้เลยครับ
คุณวิกันต์ : แล้วก็จะมีไปที่ตัว Auxiliary Contact ตัว NO และก็ให้จั้มเข้าที่ตัว NC ด้วยครับ
คุณวิกันต์ : ที่นี้จากปุ่ม Start จะต่อเข้า 2 ที่นะครับ ก็คือ ที่แรกจะเข้าที่ Pilot Lamp สีเขียว
คุณวิกันต์ : และที่ที่สองจะต่อเข้าที่ตำแหน่ง A1 ของตัวคอนแทคเตอร์นะครับ ตามรูปวงจรเลยครับ
คุณวิกันต์ : ที่นี่มาดูการโยงสายเข้า Pilot Lamp บ้างนะครับ ตัว NO จะต่อเข้าที่ Pilot Lamp สีเขียวด้านนี้นะครับ
คุณวิกันต์ : ทางตัว NC จะเข้าที่ Pilot Lamp สีแดง เส้นนี้นะครับ
คุณวิกันต์ : ส่วนสุดท้ายนี้นะครับ ทั้งตำแหน่ง A2, Pilot Lamp สีเขียว และ Pilot Lamp สีแดง ต้องต่อเข้าสายนิวทรัล ตรงตัว Pilot Lamp สีแดง จะต่อเข้ากับ Pilot Lamp สีเขียวด้วย และตัว Pilot Lamp สีเขียวก็ต่อกลับเข้ามาที่ A2 แล้วก็ต่อกลับไปที่นิวทรัลทั้งหมด เมื่อต่อครบทุกสายแล้วก็เป็นอันเสร็จเรียบร้อยแล้วครับ
คุณวิกันต์ : ต่อไปเป็นการทดสอบวงจรกันครับ อันดับแรกเลยนะครับเราต่อไฟเข้าไปแล้ว ตัว Pilot Lamp สีแดงจะติด ตามรูปเลยครับ
คุณวิกันต์ : ขั้นตอนต่อไปเราจะเริ่มสตาร์ทโอเปอร์เรชั่น เราจะสตาร์ทอย่างไรครับ?
คุณชนะเดช : เราจะเริ่มสตาร์ทตัวมอเตอร์โดยการกดปุ่มสีเขียวซ้ายมือสุดหรือปุ่ม Start นะครับ เมื่อกดแล้วเนี่ยไฟสีเขียวต้องติดนะครับ เราจะได้ยินเสียงตัวแมกเนติกทำงานครับ เมื่อแมกเนติกทำงานแล้ว ไฟสีเขียวก็จะติดครับ
คุณวิกันต์ : สังเกตที่ไฟสีแดงจะดับลงไป
คุณชนะเดช : ถูกต้องครับ ต่อไปเราจะมาเทสปุ่ม Stop ดูครับ
คุณชนะเดช : ส่วนนี้ผมจะลองเทสปุ่ม Stop ดู เพืิ่อต้องการหยุดมอเตอร์ ผมจะกดปุ่มสีแดง แล้วไฟสีแดงจะต้องติด และไฟสีเขียวต้องดับนะครับ ผมทำการกดลงไปแล้วครับ ตามรูปเลยครับ ไฟสีเขียวดับส่วนไฟสีแดงติด แสดงว่ามันทำงานถูกต้องแล้วนะครับ
คุณชนะเดช : ระหว่างที่เรารันมอเตอร์อยู่เนี่ย สมมติเกิดเหตุฉุกเฉิน แล้วเราจะทำอย่างไร? คือให้เรากดที่ Emergency Stop ปกติก้เนี่ยปุ่ม Emergency เราต้องใช้แรงมากหน่อย ให้กระแทกมันไปแรงๆ เลยครับ สังเกตว่าไปทุกดวงดับหมดเลยครับ ส่วนเวลาจะปล่อยให้เราหมุน พอหมุนแล้ว ไฟแดงจะติด ก็คือพร้อมที่จะสตาร์ทมอเตอร์อีกครั้ง แต่ถ้าเราหมุนปล่อยแล้วไฟสีเขียวติดแทน ก็แสดงว่าเรา wiring ผิดนะครับ จำไว้เลยว่า ถ้าหมุนปล่อยแล้ว ไฟสีแดงจะต้องติดก่อน แล้วเราค่อยไปกดสตาร์ทที่ปุ่มเขียวทีหลังครับ เท่านี้ก็เสร็จเรียบร้อยแล้วครับ
ปุ่ม Emergency Switch ทืี่เราใช้กันทั่วไป อาจเป็นแบรนด์อื่น สังเกตว่าตอนที่เราแค่เอามือไปโดนหรือเดินชนมันก็ทำงานแล้ว บางแบรนด์ก็จะมีการ์ดสีเหลืองๆ ไว้ป้องกันการเดินชน ไม่ให้เครื่องหยุดเอง แต่ถ้าเป็นปุ่ม Emergency Switch ของ Schneider เขาจะออกแบบมาให้เราต้องออกแรงกดจริงๆ แรงๆ ปุ่มมันถึงจะทำงาน ตอนเวลาใช้งานจริง เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินจะไม่ค่อยมีใครมากดเบาๆ หรอกครับ ส่วนใหญ่จะทุบลงไปเลยครับ
แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อแมกเนติก คอนแทคเตอร์
แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) แมกเนติก คอนแทคเตอร์ ที่เราได้รวบรวมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อแมกเนติก เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย เช่น แบรนด์ Schneider Electric, ABB, Lovato Electric, Mitsubishi Electric และ Fuji Electric