เลือก แมกเนติกคอนแทคเตอร์ Magnetic Contactor อย่างไร ให้เหมาะกับมอเตอร์ที่เราใช้งาน

แมกเนติก

ในการที่จะเลือกตัวแมกเนติก คอนแทคเตอร์นั้น คุณควรที่จะเลือกให้เหมาะสมกับประเภทของโหลด โดยเฉพาะโหลดที่เป็นมอเตอร์แบบ 3 เฟส อินดักทีฟโหลด (Inductive Load) อย่างมอเตอร์นั้นเป็นโหลดแบบพิเศษ เพราะว่ามันต้องใช้กระแสที่สูงในการสตาร์ทตัวมอเตอร์มันเองก่อน และยังมีแฟคเตอร์อื่นอย่าง เช่น แหล่งจ่ายไฟ (Supply) ในโรงงานที่ยังต้องคำนึงถึงอีกด้วย ในบทความนี้เราจะมาดูถึงการเลือกแมกเนติก คอนแทคเตอร์ ให้ถูกต้องและเหมาะสมกับมอเตอร์ที่เราใช้งาน

สิ่งที่ต้องคำนึงตอนเลือกแมกเนติก คอนแทคเตอร์

1. ประเภทของโหลด

ซึ่งประเภทของโหลดนั้นจะมีมาตรฐาน IEC รองรับ อาทิเช่น AC-1 และ AC-3 เป็นต้น ซึ่งมอเตอร์ส่วนมากที่เราจะใช้ร่วมกับคอนแทคเตอร์นั้นจะเป็นแบบพวก AC-3 (Squirrel-cage motors) ซึ่งคุณสามารถดูตารางประเภทของโหลดได้ที่นี่

[TS_Advanced_Tables id=”7″ table_scope=”tablesaw” show_name=”true”]

จากตารางจะเห็นได้ว่า ประเภทของโหลดนั้นมีหลากหลายประเภทมาก เนื่องจากกระแสช่วงเริ่มสตาร์ทของแต่ละประเภทนั้นมีค่าต่างกัน ดังนั้นสำหรับการเลือกแมกเนติกไปใช้นั้นเราต้องรู้โหลดที่ต้องใช้งานเสียก่อนเพื่อความปลอดภัยและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

2. Inrush Current

กระแสที่ใช้สตาร์ทมอเตอร์นั้นสูงกว่ากระแสที่ใช้สำหรับการรันมอเตอร์มาก เพราะฉะนั้นตัวคอนแทคเตอร์ที่คุณเลือกนั้นควรที่จะสามารถรองรับกระแสที่สตาร์ทมอเตอร์ได้ ไม่ใช่เพียงแต่ใช้รันมอเตอร์  ดังกราฟด้านล่าง

กราฟแสดงกระแสตอนสตาร์ทมอเตอร์
Name Plate แมกเนติก Schneider

จากรูปจะเห็นว่า ค่ากระแสสำหรับโหลด AC-3 จะมีค่าน้อยกว่าโหลด AC-1 เนื่องจากทางผู้ผลิตได้ออกแบบเพื่อสามารถทนกระแสช่วงเริ่มสตาร์ทได้ ดังนั้นถ้าต้องการแมคเนติกเพื่อใช้งานกับมอเตอร์เราต้องดูค่ากระแสที่เขียนกำกับสำหรับโหลด AC-3  เพื่อความคุ้มค่า, ปลอดภัยและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน

3. แรงดันของระบบไฟฟ้าในไซด์งาน

โดยทั่วไปแล้วโรงงานในไทยใช้แรงดันอยู่ที่ 400V แต่พวกโรงงานญี่ปุ่น โรงงานที่เป็นบริษัทจากญี่ปุ่นหลายที่มักจะใช้แรงดัน 110V และอุตสาหกรรมหนักในประเทศไทยมักจะใช้แรงดันที่สูงกว่า 440V ซึ่งอาจจะสูงถึง 690V ได้ กระแสที่ตัวคอนแทคเตอร์ทนได้นั้นขึ้นอยู่แรงดันของระบบไฟฟ้าในไซด์งานด้วย ดังนั้นตรงนี้เราก็ต้องตรวจสอบให้ดีก่อนว่าแมคเนติกที่ใช้นั้นรองรับแรงดันซัพพลายของโรงงานได้หรือไหม จากรูปจะเห็นว่าต่างรุ่นต่างแบนดร์นั้นมีการรองรับแรงดันซัพพลายที่ต่างกัน 

เลือกแมกเนติก คอนแทคเตอร์

การเลือกแมกเนติก คอนแทคเตอร์มีอยู่ 3 ขั้นตอน ดังนี้

ขั้นตอนที่ 1 ดูค่าไฟฟ้าต่างๆ ที่ถูกต้องจาก Nameplate ของมอเตอร์

ค่าไฟฟ้าที่คูณต้องดูให้ถูกต้องจาก Nameplate ของมอเตอร์มีอยู่ 3 ค่า คือ กระแส กำลังไฟ้าหรือแรงม้า และแรงดันที่มอเตอร์ต้องการ  ตัวอย่าง ช่างในโรงงานอุตสาหกรรม ตั้งอยู่ที่ต่างจังหวัด ซึ่งขอใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค โดยใช้ระดับแรงดันไฟฟ้าที่ 400/230VAC ต้องการต่อ Motor แบบ Delta โดยใช้ Magnetic Contactor ของ Mitsubishi ST Series โดยให้ข้อมลของมอเตอร์ตาม Nameplate Motor ABB ด้านล่าง

Name Plate มอเตอร์

ตัวอย่างที่ 2 โรงงานอุตสาหกรรมผลิตเหล็ก ซึ่งเป็นอุตสาหกรรมหนัก และใช้ไฟฟ้ากับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ซึ่งใช้ระดับแรงดันไฟฟ้าที่ 400/230VAC เหมือนตัวอย่างด้านบน ต้องการ Start Motor แบบ Star ตาม Nameplate Motor ABB ด้านล่าง แต่ต่อผ่านตัว Step Up Transformer เพื่อแปลงแรงดันจาก 400VAC เป็น 690VAC เพื่อลดกระแสใช้งานจากเดิม 55AAC ให้เหลือ 32AAC จะได้ใช้ขนาดสายไฟฟ้าเส้นเล็กลง และเพิ่มประสิทธิภาพจากการลดการสูญเสียในสาย ซึ่งจะใช้ Magnetic Contactor ของ Mitsubishi ST Series เหมือนเดิม

Name Plate มอเตอร์

จาก 2 ตัวอย่างนั้นจะเห็นได้ว่า มอเตอร์ตัวเดียวกันแต่การต่อใช้งานต่างกัน ดังนั้นเราต้องเลือกแมคเนติกที่เหมาะกับการใช้งานด้วย เพื่อความปลอดภัยและมีอายุการใช้งานที่ยาวนาน  จาก nameplate ของมอเตอร์นั้นเราได้ค่าต่างๆที่ใช้ประกอบการเลือกแล้ว ต่อไปเราเลือกตัวแมคเนติกกันเลยย

ขั้นตอนที่ 2 หาตารางการเลือกคอนแทคเตอร์ของผู้ผลิตในแบรนด์ที่คุณต้องการจะใช้

ตารางการเลือกแมกเนติก Contactor

ขั้นตอนที่ 3 นำทั้งหมดมารวมกัน

ในตารางการเลือก ผู้ผลิตนี้ควรเช็คให้แน่ใจว่าเป็นตารางที่เข้ากับมอเตอร์แบบ AC-3 ซึ่งครั้งนี้เราจะยกตัวอย่างตารางการเลือกของแบรนด์ Mitsubishi  จากตัวอย่างแรกค่าที่อ่านได้จาก nameplate คือ มอเตอร์ที่ใช้เป็นขนาด 30kW @400VAC, 50Hz ต่อไปมาดูในตารางด้านล่างกันว่าควรเลือกแมกเนติครุ่นไหนดี

ตารางการเลือกแมกเนติก Contactor

จากตารางแนะนำให้เลือกใช้ Magnetic Contactor รุ่น S-T65 เนื่องจากสามารถใช้งานกับมอเตอร์ AC-3 ขนาด 30kW ได้ โดยทนกระแสได้สูงสุด 65A ซึ่งมากกว่ากระแสใช้งานของมอเตอร์ซึ่งอยู่ที่ 55A  แต่ถ้าเป็นตัวอย่างที่ 2 นั้นไม่แนะนำเนื่องด้วยข้อมูลด้านบน ตัว Contactor จะทำงานที่กระแส 65A ที่แรงดัน 400VAC แต่สำหรับงานนี้เป็น Motor ที่ใช้แรงดันไฟฟ้าขนาด 690VAC ซึ่งถ้าดูที่ตัวอุปกรณ์จริง หรือ Contactor และ Data Sheet แล้ว จะพบว่า Contactor รุ่นนี้ไม่ได้แนะนำให้ใช้กับ Motor AC-3 ขนาดแรงดัน 690VAC เนื่องจากแรงดันที่แนะนำให้ใช้สูงสุดอยู่ที่ 500VAC ดังนั้นควรใช้ Magnetic Contactor รุ่นอื่นจะทำให้อายุการใช้งานยากนานกว่า

contactor table mitsubishi 1

เห็นกันแล้วนะครับว่าการที่จะเลือกแมกเนติก คอนแทคเตอร์นั้น จำเป็นต้องเลือกให้เหมาะกับโหลด ซึ่งในกรณีที่เราใช้กับโหลดมอเตอร์ AC-3 นั้น เราควรที่จะดูค่าไฟฟ้าที่มอเตอร์ต้องการให้ถูกต้อง มีการดูตารางที่ถูกต้องจากผู้ผลิตแล้วนำมารวมกัน เพื่อที่จะเลือกรุ่นที่เหมาะสม และคำนึงถึงว่าเราใช้กระแสแบบธรรมดาหรือเปล่าด้วย เพราะว่าตารางของผู้ผลิตนั้นมีไว้รองรับกระแส 380V กับ 400V เท่านั้น ถ้าจะให้แน่ใจควรที่จะเช็ค Data Sheet กับ Nameplate ของตัวแมกเนติก คอนแทคเตอร์ให้ดี วันนี้ลาไปก่อนครับ เช่นเคยถ้ามีคำถามอะไรคุณสามารถคอมเม้นท์ไว้ด้านล่าง หรือกรุณากรอกแบบฟอร์ม กรอกอีเมลล์สมัครสมาชิกกับเรา เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความต่อๆ ไปของเราครับ

แมกเนติกคอนแทคเตอร์คืออะไร?

แมกเนติกคอนแทคเตอร์ (Magnetic Contactor) คือสวิทช์แม่เหล็กไฟฟ้า ทำงานโดยอาศัยอำนาจแม่เหล็กไฟฟ้าช่วยในการเปิด-ปิดหน้าสัมผัส ในการตัด-ต่อวงจรกำลัง เช่น เปิด-ปิดการทำงานของมอเตอร์

*ซื้อ Contactor ออนไลน์ได้ที่ Factomart.com*

โครงสร้างหลักของคอนแทคเตอร์ที่สาคัญ ไม่ว่าจะเป็นยี่ห้อใดก็ตามมีดังนี้

  1. แกนเหล็ก (Core)
  2. ขดลวด (Coil)
  3. หน้าสัมผัส (Contact)
  4. สปริง(Spring)

ทำไมต้องใช้คอนแทคเตอร์?

หากเป็นมอเตอร์ขนาดเล็กเช่น พัดลม เราคงไม่เห็นความสำคัญของคอนแทคเตอร์ดังกล่าว เพราะเราสามารถใช้สวิทช์ทั่วไปในการควบคุมการเปิด-ปิดได้ แต่หากเป็นมอเตอร์ที่มีขนาดใหญ่ขึ้น หรือเพื่อให้ง่ายต่อการควบคุมเราคงต้องสนใจเจ้าคอนแทคเตอร์ตัวนี้แล้วล่ะค่ะ

ข้อดีของการใช้คอนแทคเตอร์เมื่อเทียบกับสวิทช์ทั่วไป

  • สามารถต่อควบคุมระยะไกลได้แทนการสับสวิทช์ด้วยมือโดยตรง ทำให้ผู้ควบคุมมอเตอร์ปลอดภัยจาก  อันตรายจากการตัดต่อวงจรกำลัง ซึ่งมีกระแสไฟฟ้าค่อนข้างสูง
  • สะดวกในการควบคุม และสามารถต่อร่วมกับอุปกรณ์อื่น ๆได้ เช่น ลิมิตสวิทช์, เพรสเชอร์สวิทช์ เป็นต้น
  • ประหยัดกว่าเมื่อเทียบกับการควบคุมด้วยมือ เช่น หากควบคุมด้วยมือ ต้องทำการเดินสายไฟของ  วงจรกำลังไปยังจุดควบคุมหลังจากนั้นเดินสายไฟไปยังโหลด แต่หากควบคุมด้วยคอนแทคเตอร์ สายไฟ  ของวงจรกำลังสามารถเดินไปยังโหลดได้โดยตรง ส่วนสายไฟวงจรควบคุมเดินสายจากจุดควบคุมไปยัง  โหลดใช้สายขนาดเล็กกว่า ทำให้ประหยัดค่าติดตั้งในการเดินสาย

Magnetic Contactor Lovato BG Series

ส่วนประกอบหลักของคอนแทคเตอร์มีอะไรบ้าง?

แกนเหล็ก (Core) แบ่งเป็น 2 ส่วนดังนี้

  • แกนเหล็กอยู่กับที่ (Fixed Core) ทำด้วยแผ่นเหล็กบางอัดซ้อนกันเป็นแกนจะมีลักษณะเป็นรูปตัว E ดังรูปที่ 1 ขาทั้งสองข้างของแกนเหล็ก มีลวดทองแดงเส้นใหญ่ต่อลัดวงจรไว้เป็นรูปวงแหวน เรียกวงแหวนนี้ว่าเช็ดเด็ดริง (Shaded Ring) เป็นวงแหวนฝังอยู่ที่ผิวหน้าของแกนเหล็ก เพื่อช่วยลดการสั่นสะเทือน ของแกนเหล็ก อันเนื่องมาจากไฟฟ้ากระแสสลับ
  • แกนเหล็กเคลื่อนที่ (Stationary Core) ทำด้วยแผ่นเหล็กบางอัดซ้อนกันเป็นแกน และมีชุดหน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (Moving Contact) ยึดติดอยู่ ดังรูปที่ 2

แกนเหล็ก (Core)

ขดลวด (Coil) ขดลวดหรือคอยล์ ทำมาจากลวดทองแดงพันอยู่รอบแกนล้อพันขดลวด(Bobbin)

สวมที่ขากลางของแกนเหล็กอยู่กับที่ ดังรูปที่ 3 ขดลวดชุดนี้ทำหน้าที่สร้างสนามแม่เหล็กขึ้นมาเพื่อให้หน้าคอนแทคทำงาน มีขั้วต่อเพื่อจ่ายไฟเข้า โดยทั่วไปใช้สัญลักษณ์อักษรกำกับ คือ A1- A2 หรือ a-b

หน้าสัมผัส (Contact)

หน้าสัมผัสจะยึดติดอยู่กับแกนเหล็กเคลื่อนที่ แบ่งออกเป็นสองส่วนคือ

  • หน้าสัมผัสหลัก(Main Contact) ใช้ในวงจรกำลังทำหน้าที่ตัดต่อระบบไฟฟ้าเข้าสู่โหลด
  • หน้าสัมผัสช่วย (Auxiliary Contact) ใช้ในวงจรควบคุม หน้าสัมผัสช่วยแบ่งออกเป็น 2 ชนิด
    • หน้าสัมผัสปกติเปิด (Normally Open : NO)
    • หน้าสัมผัสปกติปิด (Normally Close : NC)

หน้าสัมผัสช่วยมีทั้งที่ประกอบมาพร้อมกับหน้าสัมผัสหลัก หรือติดตั้งเพิ่มเติมภายนอก ทำงานโดย  อาศัยอำนาจในการเปิด-ปิดหน้าสัมผัสหลัก ต่างกันตรงที่หน้าสัมผัสช่วยจะทนกระแสได้ต่ำกว่า  หน้าสัมผัสหลัก จำนวนหน้าสัมผัสและชนิดของหน้าสัมผัสขึ้นอยู่กับบริษัทผู้ผลิตและการนำไปใช้งาน

สปริง (Spring) ทำหน้าที่ไม่ให้หน้าคอนแทคสัมผัสกัน

สปริง(Spring) ทำหน้าที่ไม่ให้หน้าคอนแทคสัมผัสกัน ก่อนป้อนแรงดันไฟฟ้าเข้าคอยล์ ดังรูปที่ 3

สปริง (Spring) ส่วนประกอบแมกเนติก

ดาวน์โหลดคู่มือแมกเนติก คอนแทคเตอร์

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือและศูนย์รวมข้อมูลไทม์เมอร์ รีเลย์ คุณสามารถดาวน์โหลดบทความทุกบทในรูปแบบไฟล์เอกสารได้ที่นี่เลย มีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้ หลักการทำงานของแมกเนติก ส่วนประกอบ วงจรสำหรับต่อแมกเนติก อุปกรณ์เสริม เลือกแมกเนติกให้เหมาะกับมอเตอร์ที่ใช้ เปรียบเทียบ 6 แบรนด์ แมกเนติก และการต่อวงจร Interlock ใช้ควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส

คอนแทคเตอร์ทำงานอย่างไร?

ในสภาวะปกติหรือในสภาวะที่ไม่มีกระแสไฟฟ้าไหลในวงจร แกนเหล็กทั้ง 2 ชุดคือแกนเหล็กอยู่กับที่และแกนเหล็กเคลื่อนที่ จะถูกดันให้ห่างออกจากกันด้วยสปริง หน้าสัมผัสหลักหรือเมนคอนแทคจะเปิดวงจร และเมื่อเราป้อนแรงดันไฟฟ้าเข้าไปยังขดลวดหรือคอยล์ จะทำให้เกิดสนามแม่เหล็กขึ้นและเอาชนะแรงสปริงดึงให้แกนเหล็กเคลื่อนที่ซึ่งมีชุดหน้าสัมผัสเคลื่อนที่ (Moving Contact) ยึดติดอยู่เลื่อนลงมา เมนคอนแทคจะปิดวงจร กระแสไฟฟ้าจึงจ่ายไปยังโหลดได้

สำหรับหน้าสัมผัสช่วยหรือคอนแทคช่วย ทำงานโดยอาศัยอำนาจในการเปิด-ปิดของหน้าสัมผัสหลัก เมื่อจ่ายกระแสไฟฟ้าเข้าคอยล์ คอนแทคช่วยปกติเปิด(NO) จะเปลี่ยนหน้าสัมผัสเป็นปิด และคอนแทคช่วยปกติปิด(NC) จะเปลี่ยนหน้าสัมผัสเป็นเปิด เมื่อหยุดจ่ายกระแสไฟฟ้าให้คอยล์ คอนแทคช่วยทั้งสองชุดนี้จะกลับไปสู่สภาวะเดิมอีกครั้ง

คอยล์ของแมกเนติก

New call-to-action

แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อแมกเนติก คอนแทคเตอร์

แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) แมกเนติก คอนแทคเตอร์ ที่เราได้รวบรวมนั้น เพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อแมกเนติก เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย เช่น แบรนด์ Schneider, ABB, Lovato , Mitsubishi และ Fuji


6 แบรนด์แมกเนติกยอดนิยม เลือกซื้อได้ที่นี่

แมกเนติก Schneider
แมกเนติก Contactor Lovato
แมกเนติก มิตซูบิชิ
แมกเนติก ABB
แมกเนติก LS
แมกเนติก ฟูจิ

ต้องรู้อะไรบ้าง ในการเลือกใช้คอนแทคเตอร์

วงจรกำลัง

  1. พิกัดแรงดันไฟฟ้า คอนแทคเตอร์จะต้องมีค่าพิกัดในการทนแรงดันไฟฟ้าไม่ต่ำกว่าแรงดันของระบบไฟฟ้าที่ต่อใช้งาน เช่น 400 โวลต์  ซึ่งโดยทั่วไปผู้ผลิตมักจะผลิตให้สามารถทนแรงดันเกินได้ เช่น 440 โวลต์
  2. พิกัดกำลังไฟฟ้า ค่าพิกัดกำลังไฟฟ้าของมอเตอร์มักระบุเป็นกิโลวัตต์(kW) หรือแรงม้า(Hp) แต่โดยทั่วไปผู้ผลิตมักจะระบุเป็นพิกัดการทนกระแสไฟฟ้า(A) ซึ่งพิกัดคอนแทคเตอร์ต้องไม่น้อยกว่ากระแสโหลดเต็มที่ของมอเตอร์
  3. ลักษณะของโหลด ตามมาตรฐาน IEC 60947-4 แบ่งชั้นการใช้งานของคอนแทคเตอร์ เพื่อป้องกันคอนแทคเตอร์ชำรุดเนื่องจากการปลดหรือสับวงจร คอนแทคเตอร์ที่ใช้กับไฟฟ้ากระแสสลับโดยทั่วไปแบ่งเป็น 4 ชนิดตามลักษณะของโหลด ดังนี้
    • AC 1 : เหมาะสำหรับโหลดที่เป็นความต้านทาน หรือในวงจรที่มีโหลดเป็นชนิดอินดัคทีฟไม่มากนัก
    • AC 2 : เหมาะสำหรับใช้ในการสตาร์ทและหยุดโหลดที่เป็นสลิปริงมอเตอร์
    • AC 3 : เหมาะสำหรับใช้ในการสตาร์ทและหยุดโหลดที่เป็น มอเตอร์กรงกระรอก (AC 3 อาจใช้งาน  กับมอเตอร์ที่มีการเดิน-หยุด สลับกันเป็นครั้งคราว แต่การสลับต้องไม่เกิน 5 ครั้งต่อนาที   และไม่เกิน 10 ครั้งใน 10 นาที)
    • AC 4 : เหมาะสำหรับใช้ในการสตาร์ท-หยุดมอเตอร์ แบบ Plugging(การหยุดหรือสลับเฟสอย่าง  รวดเร็ว ในหว่างที่มอเตอร์เดินกำลังเดินอยู่) แบบ Inching หรือ Jogging(การจ่ายไฟให้  มอเตอร์ซ้ำ ๆกัน ในช่วงเวลาสั้น ๆ เพื่อต้องการให้มอเตอร์เคลื่อนตัวเล็กน้อย
    • AC11: คอนแทคช่วยสำหรับวงจรควบคุม
  4. Breaking Capacity ค่ากระแสที่คอนแทคเตอร์สามารถปลดวงจรได้ โดยไม่ชำรุด
  5. Making Capacity ค่ากระแสที่คอนแทคเตอร์สามารถต่อวงจรได้โดยไม่ชำรุด ขณะเริ่มเดินมอเตอร์

นอกจากนี้วิธีการเริ่มเดินมอเตอร์ก็มีผลในการเลือกใช้คอนแทคเตอร์เช่นเดียวกัน

วงจรควบคุม

  1. แรงดันไฟฟ้าและความถี่ของแหล่งจ่ายไฟเข้าคอยล์ ค่าแรงดันไฟฟ้าที่ใช้สำหรับจ่ายคอยล์เพื่อให้คอนแทคเตอร์ทำงาน แบ่งเป็น
    • แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) 50/60 เฮิร์ต เช่น 24, 48, 110, 230, 400 โวลต์
    • แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ (AC) 60 เฮิร์ต เช่น 24, 48, 120, 230, 460, 575 โวลต์
    • แรงดันไฟฟ้ากระแสตรง (DC) เช่น 12, 24, 48, 60, 110, 125, 220 โวลต์
  2. จำนวนคอนแทคช่วย จำนวนของคอนแทคช่วยปกติเปิด(NO) และคอนแทคช่วยปกติปิด(NC) ขึ้นอยู่กับการออกแบบวงจรควบคุมมอเตอร์

ตัวอย่างการเลือกแมคเนติกคอนแทกเตอร์

เพื่อให้สามารถเลือกใช้ได้เหมาะสม เรามาดูตัวอย่างในการเลือกคอนแทคเตอร์ไปใช้งานดีกว่าค่ะ

หากเรามีมอเตอร์ไฟฟ้าชนิดกรงกระรอกขนาด 30 กิโลวัตต์ 3 เฟส 380 โวลต์ กระแส 60 แอมป์ ใช้งานทั่วไปมอเตอร์เริ่มเดินแบบรับแรงดันไฟฟ้าเต็มที่ (Direct On Line : DOL) วงจรควบคุมใช้แรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ (แรงดันจ่ายคอยล์)

เราลองมาดูตัวอย่างการเลือก Contactor โดยใช้ตัวช่วยกรองกลุ่มสินค้าบนเว็บไซต์ Factomart.com ในหน้า Magnetic Contactor

การเลือกแมคเนติกคอนแทกเตอร์

คอนแทคเตอร์ที่เราควรเลือกใช้มีรายละเอียดดังนี้

คอนแทคเตอร์ต้องรับแรงดันได้ไม่น้อยกว่า 416 โวลต์ (เนื่องจากแรงดันไฟฟ้าเมื่อไม่มีโหลด แรงดันไฟฟ้าอาจเท่ากับที่หม้อแปลง 416 โวลต์ สำหรับการไฟฟ้านครหลวงและ 400 โวลต์ สำหรับการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค) ผู้ผลิตส่วนใหญ่เผื่อให้เรียบร้อยแล้วค่ะ มักจะระบุที่ 440 โวลต์ (ทุกแบรนด์มีแบบนี้เหมือนกันหมด เลือกได้เลย)

คอนแทคเตอร์ต้องรับกระแสได้ไม่น้อยกว่า 60 แอมป์ (ตามกระแสโหลดเต็มที่ของมอเตอร์) เลือกขนาดใหญ่ขึ้นได้ค่ะ แต่ไม่ควรเลือกขนาดเล็กกว่า เพราะหน้าคอนแทคอาจละลายได้

การเลือกพิกัดกระแสแมคเนติกคอนแทกเตอร์

  • คอนแทคเตอร์ต้องรับแรงดันจ่ายคอยล์เป็นแรงดันไฟฟ้ากระแสสลับ 220 โวลต์ (220/230 คือไฟฟ้ากระแสในระดับเดียวกัน)

การเลือกคอยล์แมคเนติกคอนแทกเตอร์

  • เมื่อเลือกตามขั้นตอนจนครบแล้ว เราจะได้สินค้าที่ตรงกับความต้องการ คลิ๊กเข้าไปเพื่อดูรายละเอียดเพิ่มเติม

แมกเนติก Lovato

ดาวน์โหลด Datasheet แมกเนติก lovato

  • โมเดลสินค้า 11BF6500230 แบรนด์ Lovato ราคาอยู่ที่ 5,180 บาท
  • นอกจากนั้นเราสามารถเพิ่มคอนแทคช่วยตามความต้องการของวงจรควบคุมได้ ซึ่งจะแตกต่างกันในแต่ละผู้ผลิต สามารถเลือกตามที่ต้องการได้เลย

ในบทความนี้เราเซตตัวอย่างเกี่ยวกับการใช้ตัวเลือกในการเลือก Magnetic Contactor ที่มีสเป็คสินค้าตามที่ต้องการในส่วนของบทความ “จะเลือก Magnetic Contactor ได้อย่างไร” เราหวังว่าคุณจะได้รับความรู้เกี่ยวกับการเลือก Magnetic Contactor สำหรับการใช้งานของคุณ ถ้ามีคำถามเพิ่มเติมสามารถสอบถามได้จากกล่องข้อความด้านล่างนี้ ทางผู้เชี่ยวชาญยินดีมาตอบคำถามให้ทุกท่านค่ะ ถ้าคุณต้องการซื้อ Contactor หรืออุปกรณ์เพิ่มเติมเกี่ยว Contactor สามารถเข้าไปเลือกชมสินค้าได้ที่ Factomart.com

ดาวน์โหลดคู่มือแมกเนติก คอนแทคเตอร์

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือและศูนย์รวมข้อมูลแมกเนติก คอนแทคเตอร์ คุณสามารถดาวน์โหลดบทความทุกบทในรูปแบบไฟล์เอกสารได้ที่นี่เลย มีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้ หลักการทำงานของแมกเนติก ส่วนประกอบ วงจรสำหรับต่อแมกเนติก อุปกรณ์เสริม เลือกแมกเนติกให้เหมาะกับมอเตอร์ที่ใช้ เปรียบเทียบ 6 แบรนด์ แมกเนติก และการต่อวงจร Interlock ใช้ควบคุมมอเตอร์ 3 เฟส

New call-to-action

แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อแมกเนติก คอนแทคเตอร์

แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) แมกเนติก คอนแทคเตอร์ ที่เราได้รวบรวมนั้น เพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อแมกเนติก เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย เช่น แบรนด์ Schneider, ABB, Lovato , Mitsubishi และ Fuji

Button-02-N06-New
Button-02-Home-back-New
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก
แมกเนติก