ในบทความนี้จะมาทำความรู้จักกับประเภทและหลักการทำงานของโอเวอร์โหลดรีเลย์ โดยเราจะแบ่งออกเป็น 2 ประเภทหลักๆ คือ แบบ Thermal และแบบ Electrical เราจะได้รู้ว่าแต่ละประเภทมีการทำงานแตกต่างกันอย่างไร
คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ โอเวอร์โหลด รีเลย์ Overload relay ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น
ประเภทของโอเวอร์โหลด รีเลย์
Thermal Overload Relay
หลักการทำงาน
ภายในโอเวอร์โหลดมีขดลวดความร้อน (Heater) พันกับแผ่นไบเมทัล (Bimetal หรือแผ่นโลหะผลิตจากโลหะต่างชนิดกัน) เชื่อมติดกัน เมื่อได้รับความร้อนแผ่นโลหะจะโก่งตัว ขดลวดความร้อนซึ่งเป็นทางผ่านของกระแสไฟฟ้าจากแหล่งจ่ายไฟไปมอเตอร์ เมื่อกระแสไหลเข้าสูงในระดับค่าหนึ่ง ส่งผลขดลวดความร้อนทำให้แผ่นไบเมทัลร้อนและโก่งตัว ดันให้หน้าสัมผัสปกติปิด NC ของโอเวอร์โหลดที่ต่ออนุกรมอยู่กับแผงควบคุมเปิดวงจร ตัดกระแสไฟฟ้าจากคอล์ยแม่เหล็กของคอนแทกเตอร์ ทำให้หน้าสัมผัสหลัก (Main Contact) ของคอนแทกเตอร์ ปลดมอเตอร์ออกจากแหล่งจ่ายไฟ ป้องกันมอเตอร์ความเสียหายจากไฟเกินได้
โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบธรรมดา
แบบนี้เมื่อเกิดโอเวอร์โหลดจะทําให้ Bimetal ร้อนและโก่งตัวออกไปแล้ว เมื่อเย็นตัวลงกลับที่เดิมจะทําให้หน้าสัมผัสควบคุมกลับตําแหน่งเดิมด้วย
โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบที่มีรีเซ็ท (Reset)
แบบนี้เมื่อเกิดโอเวอร์โหลดจะทําให้ Bimetal ร้อนและโก่งตัวออกไปแล้วจะมีกลไกทางกลมาล็อคสภาวะการทํางานของ หน้าสัมผัสควบคุมที่เปลี่ยนตําแหน่งไว้ เมื่อเย็นตัวลงแล้วหน้าสัมผัสควบคุมยังคงสภาวะอยูได้ ถ้าต้องการให้หน้าสัมผัส ควบคุมกลับตําแหน่งเดิมต้องกดปุ่มรีเซต (Reset) ก่อน โอเวอร์โหลดรีเลย์แบบมีรีเซต (Reset) นี้มักนิยมใช้ในการควบคุมเครื่องกลไฟฟ้า
สัญลักษณ์ แบบมี Reset
เมื่อไฟเกิน หน้าสัมผัสเปิด ต้องกด Reset
Electrical Overload Relay
หลักการทำงาน
Electrical Overload Relay จะไม่มีตัวทำความร้อน (Heater) เหมือนกับที่พบในโอเวอร์โหลดประเภท Thermal โอเวอร์โหลดรีเลย์ชนิดนี้มีการป้องกันการสูญเสียเฟสด้วยการตรวจจับความสูญเสียของเฟสและการปลดมอเตอร์ออกจากแหล่งจ่ายไฟ จะใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ในการตรวจสอบกระแสไฟฟ้าและป้องกันสภาวะโหลดเกินของมอเตอร์อย่างต่อเนื่อง มีหลายแบบให้เลือกตามการใช้งานรูปแบบต่างๆ
โอเวอร์รีเลย์แบบนี้ไม่มีการป้องกันไฟฟ้าลัดวงจร ดังนั้นต้องใช้คู่กับเบรกเกอร์ นอกจากนี้ยังมันยังสามารถเชื่อมต่อกับอุปกรณ์ประเภท PLC เพิ่มการสื่อสารแบบ Ethernet หรือการเชื่อมต่อแบบ Serial และฮาร์ดแวร์ระบบอัตโนมัติอื่น ๆ Electrical Overload Relay มีความแม่นยำและความยืดหยุ่นมากกว่าเมื่อเปรียบเทียบกับ Thermal Overload Relay แต่มีราคาแพงกว่ามาก การใช้งานส่วนมากจะอยู่ในงานโครงสร้างพื้นฐานด้านการทำเหมือง ซึ่งต้องการความแม่นยำและความยืดหยุ่นสูง
หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไปดูและเลือกซื้อ OverLoad Relay ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ
ดาวน์โหลดคู่มือโอเวอร์โหลดรีเลย์ Overload Relay
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือและศูนย์รวมข้อมูลโอเวอร์โหลดรีเลย์ Overload Relay คุณสามารถดาวน์โหลดบทความทุกบทในรูปแบบไฟล์เอกสารได้ที่นี่เลย มีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้
- โอเวอร์โหลด รีเลย์ คืออะไร
- ประเภทและการทำงานของโอเวอร์โหลดรีเลย์
- เลือกโอเวอร์โหลดรีเลย์ให้เหมาะกับมอเตอร์
- สอนวิธีการต่อวงจร สตาร์-เดลต้า (Star-Delta)
แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อโอเวอร์โหลด รีเลย์
แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) โอเวอร์โหลดรีเลย์ Overload Relay ที่เราได้รวบรวมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อ Switching Power Supply เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย เช่น Schneider Electric, ABB, Lovato Electric, Mitsubishi Electric และ Fuji Electric