มาเรียนรู้โครงสร้างและการทำงานของ รีเลย์ แบบที่ใช้ทั่วไปกัน

รีเลย์ Relay

Share this post

คุณเคยสงสัยไหมว่าภายในของ Relay มันมีหน้าตาและการทำงานเป็นอย่างไร??…………ที่นี่เลย!! โครงสร้างและหลักการทำงานของ General Relay บทความที่เราจัดไว้ให้คุณได้หาคำตอบข้อสงสัยเหล่านั้นของคุณ โดยคุณไม่ต้องไปนั่งแกะ แงะ งัด รีเลย์ให้เสียของเปล่าๆ

หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไปชมได้เลยที่ General Relay Catalog เราได้จัดหาสินค้าหลากหลายแบรนด์ หลากหลายยี่ห้อมาให้คุณได้เลือกอย่างเพลิดเพลิน หรือหากคุณยังมีข้อสงสัยอื่นๆเกี่ยวกับ General Relay อีกล่ะก็ เราก็ยังมีคลังความรู้เกี่ยวกับ General Relay ที่รวบรวมเนื้อหาที่น่าสนใจไว้ ที่นี่ ศูนย์รวมข้อมูลและคู่มือ รีเลย์

General Relay คืออะไร?

General Relay เป็นประเภทหนึ่งของ Relay ซึ่งเป็นอุปกรณ์ไฟฟ้าที่มีใช้ในวงการอิเล็กทรอนิกส์ ทำหน้าที่เป็นสวิทช์ไฟ ตัด-ต่อวงจร โดยการเปลี่ยนพลังงานไฟฟ้าให้เป็นพลังงานแม่เหล็ก เพื่อใช้ในการดึงดูดหน้าสัมผัสของคอนแทคให้เปลี่ยนสภาวะ รีเลย์จะทำงานได้โดยการป้อนกระแสไฟฟ้าให้กับขดลวด เพื่อทำการปิดหรือเปิดหน้าสัมผัสคล้ายกับสวิตช์อิเล็กทรอนิกส์ ซึ่งเราสามารถนำรีเลย์ไปประยุกต์ใช้ ในการควบคุมวงจรต่าง ๆได้

หลักๆ แล้ว General Relay ที่มีการใช้งานอย่างแพร่หลายถ้าแบ่งตามลักษณะของขา แบ่งได้ 3 ประเภท แบบ Blade Terminal (ขาแบน), PCB (ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์) และ Pin Terminal (ขากลม)

Blade Terminal
PCB relay
Pin Terminal Relay

แบบ Blade Terminal (ขาแบน)

แบบ PCB (ใช้ในวงจรอิเล็กทรอนิกส์)

แบบ Pin Terminal (ขากลม)

ดาวน์โหลดคู่มือรีเลย์

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือและศูนย์รวมข้อมูล รีเลย์ Relay คุณสามารถดาวน์โหลดบทความทุกบทในรูปแบบไฟล์เอกสารได้ที่นี่เลย มีบทความดังนี้

  • โครงสร้างและการทำงานของรีเลย์
  • วิธีการเลือกรีเลย์
  • เปรียบเทียบรุ่นรีเลย์ ตามแบรนด์ยอดนิยม
  • การประยุกต์ใช้งานรีเลย์

คุณรู้ไหม General Purpose Relay ทำงานอย่างไร

คุณรู้อยู่แล้วว่า General Purpose Relay เป็นรีเลย์ประเภทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ใช้ตัดต่อวงจรไฟฟ้า โดยอาศัยแรงดันจากภายนอกมาควบคุมการทำงานของหน้าคอนแท็คผ่าน Coil ซึ่งมีทั้งแบบ DC หรือ AC แต่คุณรู้หรือไม่ว่า Relay ทำงานอย่างไร และมีโครงสร้างแบบใด

Relay 1PDT

จุดต่อ NC

จุดต่อ NC ย่อมาจาก normal close หมายความว่า ปกติปิดหรือหากยังไม่จ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสจะติดกัน โดยทั่วไปเรามักต่อจุดนี้เข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการให้ทำงานตลอดเวลา

จุดต่อ NO

จุดต่อ NO ย่อมาจาก normal open หมายความว่า ปกติเปิดหรือหากยังไม่จ่ายไฟให้ขดลวดเหนี่ยวนำหน้าสัมผัสจะไม่ติดกัน โดยทั่วไปเรามักต่อจุดนี้เข้ากับอุปกรณ์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าที่ต้องการควบคุมการเปิดปิด

จุดต่อ C

ย่อมากจาก common หมายถึง จุดร่วมที่ต่อมาจากแหล่งจ่ายไฟ

ขดลวด (Coil)

ทำหน้าที่รับแรงดันไฟฟ้าจากวงจรที่ต้องการมาควบคุมหรือ Controller เพื่อสร้างสนามแม่เหล็กไฟฟ้าให้แกนโลหะไปกระทุ้งให้หน้าสัมผัส Contact ให้ต่อกัน (ซึ่งค่าแรงดันไฟฟ้าที่รีเลย์ต้องการขึ้นกับชนิดและรุ่นตามที่ผู้ผลิตกำหนด โดยปกติถ้าเป็น Coil AC ก็จะ 220-240V แต่ถ้าเป็น DC ก็จะ 24V)

Coil Relay

ภาพขดลวด Coil ที่อยู่ในตัวของ Relay

หน้าสัมผัส (Contact)

ทำหน้าที่เหมือนสวิตช์จ่ายกระแสไฟให้กับอุปกรณ์ที่เราต้องการ ซึ่งจะมีวงจรไฟฟ้าแบบ 1PDT, 2PDT, 3PDT และ 4PDT จากในรูปข้างล่างจะเป็นแบบ 3PDT คือมีวงจรไฟฟ้า 3 วงจร นอกจากนี้ต้องเลือกขนาดของกระแส และชนิดของวัสดุที่ใช้ทำหน้า Contact ด้วยว่าต้องการเท่าใด

Contact Relay

ภาพ Contact Relay

แสดงสถานะ (Indicator)

ทำหน้าที่แสดงสถานะการทำงานของหน้า Contact รีเลย์ว่าทำงานอยู่หรือไม่ โดยปกติจะมีอยู่ 2 แบบ คือแบบ LED ซึ่งจะติดเมื่อมีการจ่ายไฟเลี้ยงที่ Coil และแบบกลไกซึ่งจะทำงานให้เห็นเมื่อ contact ทำงาน

Indicator Relay

ภาพ Indicator แสดงการทำงานของ Relay

ปุ่มทดสอบ (Tester)

ทำหน้าที่ใช้ทดสอบการทำงานวงจรของ Relay แบบ Manual ซึ่งจะช่วยให้การทดสอบวงจรรีเลย์ง่ายขึ้น ไม่จำเป็นต้องจ่ายไฟเลี้ยงที่ Coil

Tester Relay

ภาพปุ่มทดสอบการทำงานของ Relay

ถึงแม้ว่า General Relay จะมีโครงสร้างที่ไม่ซับซ้อนมากนักแต่ทุกส่วนประกอบล้วนแต่เป็นส่วนสำคัญที่ไม่อาจมองข้ามไปได้ รวมไปถึงเรื่องของจุดโครงสร้างสำคัญของรีเลย์ ซึ่งเป็นความรู้พื้นฐานที่จะช่วยให้คุณมีความเข้าใจในเรื่องของหลักการมากยิ่งขึ้น เมื่อคุณรู้การทำงานแล้ว สามารถศึกษาเรื่องอื่นๆเพิ่มได้อีก จาก General Relay Knowledge Center ที่จะช่วยนำสิ่งที่คุณรู้ไปใช้ในงานของคุณ

Button-02-N02-New
Button-02-Home-back-New
Button
Button
Button
Facebook Comments