วิธีการเลือกไพลอตแลมป์ (Pilot Lamp) สัญญาณไฟแสดงสถานะ

pilot lamp ไพลอตแลมป์

Share this post

ไพลอตแลมป์ (Pilot Lamp) ไฟแสดงสถานะ ถือได้ว่าเป็นอุปกรณ์ที่พบเจอได้ทั่วไป ซึ่งเกือบจะทุกตู้คอนโทรลหรือตู้ไฟฟ้าจะต้องมีอุปกรณ์นี้ เพื่อบอกสถานะการการทำงานต่างๆ เช่น แสดงการทำงานปกติ , การหยุดทำงาน ,การเกิด Alarm ,การเกิด Over load , การเปิด หรือ ปิด ระบบ, ไฟแสดงเฟสระบบไฟฟ้า,และอื่นๆ ซึ่งในบทความนี้จะเป็นการแนะนำการเลือกใช้งานของเจ้าตัวไพลอตแลมป์ เพื่อเป็นแนวทางให้กับผู้ที่สนในหรือหาข้อมูลเกี่ยวกับไพลอตแลมป์ ซึ่งในการเลือกนั้นจะมี 6 ปัจจัยในการเลือกดังนี้

7 ปัจจัยในการเลือกไพลอตแลมป์

null
ไฟเลี้ยง Voltage
AC/DC
null
สีแสดงสถานะ (Color)
เขียว, แดง, เหลือง, น้ำเงิน และอื่น
null
ประเภทของไพลอตแลมป์
แยกประกอบ/ไม่แยกประกอบ
null
วัสดุ
พลาสติก/เหล็ก
null
ชนิดของหลอดไฟ
LED, Bulb
null
การทำงานของหลอดไฟ
ติดค้าง หรือ กระพริบ
null
ขนาด (Diameter)
16mm, 22mm

ไฟเลี้ยง (Voltage Supply)

สำหรับไฟเลี้ยงนั้น มีให้เลือกใช้งานหลากหลายขนาด ได้แก่  12VAC/DC, 24VAC/DC, 110 – 120VAC และ 220 – 240VAC ซึ่งการเลือกใช้นั้นต้องดูก่อนว่าไฟในตู้คอนโทรลหรือตู้ไฟเป็นไฟขนาดเท่าไร

สีแสดงสถานะ (Color)

สีของไพลอตแลมป์เป็นสิ่งที่บอกสถานะการทำงานต่างๆ เช่น แสดงการทำงานปกติ , การหยุดทำงาน ,การเกิด Alarm ,การเกิด Over load , การเปิด หรือ ปิด ระบบ, ไฟแสดงเฟสระบบไฟฟ้า,และอื่นๆ ซึ่งมีสีหลักๆให้เลือกใช้ดังนี้

สีเขียว

สีแดง

สีเหลือง

สีน้ำเงิน

สีขาว

ตัวอย่างการเลือกสีมีการกำหนดใช้งานโดยทั่วไป
1.สีเขียว เป็น การทำงาน
2.สีแดง เป็น การหยุดทำงาน
3.สีเหลือง เป็น การแจ้งสัญาณเตือนความผิดพลาด
4.สีขาว เป็น ไฟ 3 เฟส R S T

ประเภทของไพลอตแลมป์

สำหรับประเภทของไพลอตแลมป์จะมีสองประเภทหลักๆคือแบบแยกประกอบและไม่แยกประกอบ แบบไม่แยกประกอบราคาจะถูกกว่าและเลือกใช้งานง่าย ส่วนแบบแยกประกอบนั้นส่วนหัวและตัวแยกชิ้นกันทำให้สามารถประกอบได้ตามความต้องการ

วัสดุ เหล็กหรือพลาสติก

ในส่วนของวัสดุของไฟลอตแลมป์นั้นจะมี 2 ชนิดให้เลือกใช้งานคือ พลาสติกและเหล็ก  ซึ่งไฟลอตแลมป์ที่เป็นวัสดุเหล็กจะมีราคาแพงและแข็งแรงทนทานกว่าแบบพลาสติก

แบบพลาสติก

pilot lamp ไพลอตแลมป์

แบบเหล็ก

ชนิดของหลอดไฟ

ชนิดของหลอดไฟจะมี 2 ประเภทหลัก คือ แบบ LED และ Bulbs ซึ่งแบบ Bulbs จะมี 2 ชนิดได้แก่ แบบหลอดไส้และหลอดนีออน แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นในปัจจุบันไพลอตแลมป์ที่เป็นหลอด LED จะเป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมอย่างมากเนื่องจากสามารถประหยัดพลังงานและทนทานกว่าหลอด Bulbs

การทำงานของหลอดไฟ

สำหรับการทำงานของหลอดไฟนั้นจะมี 2 ประเภทให้ได้เลือกใช้งานคือ แบบ ติดค้างและแบบกระพริบ

ขนาด (Diameter)

ขนาดของไพลอตแลมป์จะมีตั้งแต่ 16mm, 22mm และ 30mm แต่ขนาดที่นิยมเลือกใช้งานกันมากที่สุดจะเป็นขนาด 22mm

หวังว่าข้อมูลที่เรานำเสนอ ท่านผู้อ่านพอจะใช้เป็นแนวทางในการเลือก Pilot Lamp เบื้องต้นได้นะครับ หากติดปัญหาในการเลือกสามารถปรึกษาทีมงาน Technical Engineer ของเราได้ทุกช่องทางครับ หรือจะอ่านข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Pilot Lamp  หรือหากสนใจสินค้า Pilot Lamp สามารถกดสั่งซื้อออนไลน์ได้ทันทีครับ

New call-to-action

ดาวน์โหลดคู่มือ Pilot Lamp ไพลอตแลมป์

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือและศูนย์รวมข้อมูล Pilot Lamp ไพลอตแลมป์ คุณสามารถดาวน์โหลดบทความทุกบทในรูปแบบไฟล์เอกสารได้ที่นี่เลย มีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้

  • ไพลอตแลมป์ (Pilot Lamp) คืออะไร
  • ประเภทของไพลอตแลมป์ (Pilot Lamp)
  • วิธีการเลือกไพลอตแลมป์ (Pilot Lamp)
New call-to-action

แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อ Switching Power Supply

แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) Pilot Lamp ไพลอตแลมป์ ที่เราได้รวบรวมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อไพลอตแลมป์  เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย เช่น แบรนด์ Schneider Electric, Lovato Elecric, ABB และ Idec

Button-02-B02-New
Button-02-Home-back-New
Pilot Lamp ไพลอตแลมป์
Pilot Lamp ไพลอตแลมป์
Pilot Lamp ไพลอตแลมป์
Facebook Comments