Comments Off on ประเภทของ Temperature RTD
บล็อก Factomart.com ยินดีต้อนรับครับผม ^^ วันนี้เรามาต่อกับบทความที่เกี่ยวกับ Temperature RTD กันครับ ซึ่งวันนี้เราจะมารู้จักประเภทต่างๆ ของ RTD กันว่าประเภทของอาร์ทีดีนั้นมีด้วยกันกี่ประเภท? แต่ละประเภทต่างกันอย่างไร? พร้อมแล้วไปเริ่มกันเลยครับ
ประเภทของ Temperature RTD
RTD เป็นตัวเซ็นเซอร์อุณหภูมิที่ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานของโลหะ โดยวัสดุที่นำมาใช้จะเป็นโลหะที่มีความต้านทานจำเพาะต่ำ วัสดุที่นิยมนำมาทำนั้นได้แก่
- แพลตินัม: เป็นวัสดุที่นิยมนำมาใช้ทำมากที่สุดในอุตสาหกรรม เนื่องจากมีความเที่ยงตรง (precision) และมีความเป็นเชิงเส้น (linearity) สูง RTD ประเภทนี้จะเรียกว่า Pt100, Pt500, Pt1000 ซึ่งหมายถึงที่ 0 °C จะมีค่าความต้านทานอยู่ที่ 100, 500, 1000Ω โดย RTD Pt1000 นั้นจะสามารถวัดงานที่ละเอียดได้มากกว่า Pt500 และ Pt100
- นิกเกิล: มีความเป็นเชิงเส้นต่ำ วัดอุณหภูมิได้ไม่สูงเท่าแพลตินัม
- ทองแดง: มีความเป็นเชิงเส้นดีที่สุดแต่ย่านอุณหภูมิในการใช้งานแคบ จึงทำให้ไม่ค่อยนิยมนำมาใช้งานเท่าไรนัก
- ทังสเตน: มีค่าความต้านทานจำเพาะสูง จะนิยมใช้วัดในอุณหภูมิที่สูง มีใช้งานอยู่บ้างแต่ไม่แพร่หลายมากนัก
ตัวเซ็นเซอร์อุณหภูมิที่มีหัววัดทำมาจากลวดแพลตินัมนั้นจะวัดได้แม่นยำและละเอียดกว่าเทอร์โมคัปเปิล โครงสร้างภายในของเซ็นเซอร์ RTD Pt100 นั้นมีดังนี้
ที่มภาพ: https://en.wikipedia.org/wiki/Resistance_thermometer
นอกจากนั้นยังแบ่ง Pt100 ออกเป็นคลาส (Class of RTD Pt) ซึ่งจะแบ่งตามความละเอียดในการวัดและคลาสที่นิยมใช้กันทั่วไปมากที่สุดคือ คลาส B ในแต่ละคลาสนั้นจะมีความแม่นยำในการวัดดังนี้- คลาส AA ความแม่นยำในการวัด ± (0.10 + 0.0017 * |t|) °C
- คลาส A ความแม่นยำในการวัด ± (0.15 + 0.0020 * |t|) °C
- คลาส B ความแม่นยำในการวัด ± (0.30 + 0.0050 * |t|) °C
- คลาส C ความแม่นยำในการวัด ± (0.60 + 0.0100 * |t|) °C
Facebook Comments