วิธีการใช้งาน Insulation tester (เมกะโอห์มมิเตอร์)

สวัสดีครับ ^^ เพื่อนๆ Factomart.com ทุกท่าน จากที่เราได้เรียนรู้ข้อมูลพื้นฐานต่างๆ ที่เกี่ยวกับ Insulation Tester ไปแล้ววันนี้เราได้จัดทำวิธีการใช้งานเบื้องต้นมาให้ผู้อ่านได้เรียนรู้กันครับ พร้อมรึยังครับ…ถ้าพร้อมแล้วไปกันเลย>>>>

วิธีการใช้งาน Insulation tester (เมกะโอห์มมิเตอร์)

ก่อนการเริ่มต้นใช้งานอุปกรณ์ไฟฟ้าหรืออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เราควรทำความรู้จักส่วนประกอบของอุปกรณ์ก่อนเป็นอันดับแรก เนื่องจากอุปกรณ์ไฟฟ้าจะมีปุ่ม สัญลักษณ์ เทอร์มินอลต่างๆ ที่ใช้เดินสายไฟเพื่อทำการรับแหล่งจ่ายไฟและเชื่อมต่อรับ-ส่งข้อมูลไปยังอุปกรณ์อื่นๆ หากเราไม่รู้จักส่วนประกอบในแต่ละส่วนดีพอเวลาใช้งาน อาจทำให้อุปกรณ์เกิดความเสียหายได้  

ภาพแสดงส่วนประกอบต่างๆ ของ Insulation Tester รุ่น IR4057 ของ HIOKI

ในการใช้งาน Insulation Tester/Mega Ohm Meter เบื้องต้นนั้นจะคล้ายๆ กัน อุปกรณ์นี้จะมีสายวัดสองสายซึ่งสายหนึ่งจะไปจับหรือเชื่อมต่อบริเวณกราวด์ อีกสายหนึ่งจะไปจับบริเวณ Power ที่จะวัด ตั้งค่าแรงดันทดสอบที่เหมาะสม กดปุ่ม Test แล้วรอจนกว่าค่าที่วัดนิ่งหรือคงที่แล้วค่อยอ่านค่า

Insulation resistance measurement (การวัดความต้านทานฉนวนไฟฟ้า)

คำเตือน: อย่าพยายามวัดความต้านทานฉนวนไฟฟ้าบนตัวนำที่มีไฟ (live conductor)

  1. ตรวจสอบดูว่าปุ่ม MEASURE นั้นต้องไม่อยู่ในสภาพที่นูนออกมา
  2. ศึกษาดูตารางและตรวจสอบแรงดันไฟฟ้าที่วัดเพื่อที่จะได้กำหนดแรงดันไฟฟ้าทดสอบได้ถูก

*ค่าในตารางเป็นค่าที่ใช้จากการทดสอบในประเทศญี่ปุ่น*

3. เชื่อมต่อสายวัด (test lead) สีดำเข้ากับกราวด์ (ground) ของอุปกรณ์ที่จะทำการวัด
4. เชื่อมต่อสายวัดสีแดงเข้ากับสาย line ที่จะทำการวัด
5. กดปุ่ม MEASURE
6. อ่านค่าหลังจากค่าที่แสดงคงที่

วิดีโอแนะนำ Insulation Tester รุ่น IR4056//IR4057

Discharging function (ฟังก์ชันการคายประจุไฟฟ้า)

การทำการคายประจุที่ถูกต้องนั้นต้องทำหลังจากการทดสอบหรือวัดทุกครั้ง

1. ไม่ต้องถอดสายวัดออกจากออกจากอุปกรณ์ที่ทำการวัด หลังจากนั้นกดปิดปุ่ม MEASURE
2. ภายในอุปกรณ์จะมีวงจรคายประจุ (discharge circuit) ซึ่งจะทำการคายประจุอัตโนมัติ

3. เมื่อการคายประจุไฟฟ้าเสร็จสิ้น “เครื่องหมายการคายประจุ” ที่ด้านบนขวาของหน้าจอจะหายไป

Voltage measurement (การวัดแรงดัน)

หมายเหตุ: ในการวัดแรงดันให้นำสายวัดไปเชื่อมต่อด้าน secondary side ของเบรกเกอร์ และไม่ต้องกดปุ่มวัดในขณะที่วัดแรงดัน

1. หมุน rotary switch ไปที่ฟังก์ชัน V
2. นำสายวัดสีดำไปเชื่อมต่อด้านสายดินของสิ่งที่ต้องการวัด
3. นำสายวัดสีแดงไปเชื่อมต่อกับด้าน line ของเบรกเกอร์
4. อ่านค่าหลังจากค่าที่แสดงผลมีความนิ่ง

Resistance measurement (การวัดความต้านทาน)

ก่อนทำการวัดควรทำการ zero adjustment ก่อนทุกครั้ง

ภาพแสดงตัวอย่างของการตรวจสอบความต่อเนื่องของสายกราวด์

1. หมุน rotary switch ไปที่ฟังก์ชัน Ω
2. นำปลายของสายวัดทั้ง 2 เส้น มาแตะกันเพื่อทำการ Short circuit
3. กดปุ่ม MEASURE
4. กดปิดปุ่ม MEASURE เพื่อทำการวัดค่า
5. กดปุ่ม   ”0Ω  ADJ”  
6. นำสายวัดไปเชื่อมต่อกับสายกราวด์ของอุปกรณ์ที่ต้องการทำการวัด
7. กดปุ่ม MEASURE และทำการอ่านค่าที่แสดง
8. กดปิดปุ่ม MEASURE หลังจากใช้งานเสร็จ

PVΩ measurement (มีเฉพาะ Insulation Tester รุ่น IR4053 เท่านั้น)

PVΩ measurement จะใช้วัดความต้านทานฉนวนไฟฟ้าระหว่างแผงโซลาร์เซลล์และพื้นดิน การใช้การวัดแบบ PVΩ measurement นี้นั้นจะช่วยให้สามารถวัดความต้านทานฉนวนที่ถูกต้องโดยไม่มีผลกระทบต่อการผลิตไฟฟ้า

1. ปิดสวิตซ์หลักที่เชื่อมต่อกับเครื่องกรองไฟ (Power Conditioner)
2. ปิดสวิตซ์ทุกตัวเพื่อหยุดการเชื่อมต่อที่ใช้สำหรับ String

1. เช็คดูว่า MEASURE ปิดอยู่หรือไม่
2. หมุน rotary switch ไปที่ PVΩ
3. กดปุ่ม   และทำการตั้งแรงดันไฟฟ้าเป็น 500V หรือ 1000V ตามต้องการ
4. กดปุ่ม    เพื่อทำการปลดล็อค
5. นำสายวัดสีดำไปเชื่อมต่อกับ grounding terminal
6. นำสายวัดสีแดงไปเชื่อมต่อกับ terminal P ของ String
7. กดปุ่ม MEASURE
8. หลังจากนั้นประมาณ 4 วินาที ค่าความต้านทานฉนวนจะแสดงค่าออกมา
9. กดปุ่ม MEASURE เพื่อทำการปิด

*ถ้าพบว่า terminal P เกิดชำรุดสามารถที่จะนำสายวัดสีแดงไปเชื่อมต่อทางด้าน terminal N (10) ได้ แล้วทำการวัดตามขั้นตอนที่ (7)-(9)

ค่ามาตรฐานความต้านทานฉนวนของอุปกรณ์ไฟฟ้าต่างๆ ที่ปลอดภัยคือเท่าไหร่

ในการทดสอบค่าความต้านทานฉนวนเราจะมีการกำหนดค่าแรงดันทดสอบ ซึ่งแรงดันทดสอบนี้เราจะเลือกให้เหมาะสมกับแรงดันที่ใช้งานจริง โดยปกติจะเลือกแรงดันทดสอบอยู่ที่ประมาณ 2 เท่า ของแรงดันที่ใช้งาน เมื่อเลือกแรงดันทดสอบได้แล้วก็ทำการทดสอบค่าฉนวนไฟฟ้า แล้วค่าฉนวนไฟฟ้าต้องมีค่าเท่าไรถึงแสดงว่าอุปกรณ์ไฟฟ้ามีสภาพสมบูรณ์พร้อมใช้งาน? ตามมาตรฐาน IEC 60364 มาตรฐานสากลด้านการติดตั้งไฟฟ้าในอาคาร ได้กำหนดค่าต่ำสุดของค่าความต้านทานฉนวนไว้ หากค่าที่ทำการทดสอบมีค่าน้อยกว่าที่กำหนดแสดงว่าอุปกรณ์นั้นไม่มีความปลอดภัยในการใช้งานควรทำการเปลี่ยนอุปกรณ์

ตารางแสดงค่าความต้านทานฉนวนตามมาตรฐาน IEC 60364

การตรวจสอบสภาพฉนวนของมอเตอร์จะทดสอบด้วยการต่อสายกราวด์ของเมกะโอห์มมิเตอร์เข้ากับกรอบ (Frame) ของมอเตอร์ ทำการเลือกแรงดันทดสอบแล้วป้อนแรงดันเข้าที่ชุดขดลวดของมอเตอร์ รอให้ค่านิ่งแล้วทำการอ่านค่า

    – หากค่าฉนวนที่อ่านได้มีค่าสูงหลายร้อยหรือหลายพันเมกะโอห์ม แสดงว่าฉนวนอยู่ในสภาพดีไม่ชำรุด แห้ง พร้อมใช้งาน
    – หากค่าฉนวนที่อ่านได้มีค่าน้อยกว่า 1 เมกะโอห์ม แสดงว่าฉนวนอยู่ในสภาพเสื่อม มีความชื้น เปื้อนสารเคมี ไม่เหมาะกับการใช้งาน ควรทำการเปลี่ยนฉนวนทันที

ตามมาตรฐาน ANSI/IEEE หมายเลข 43 ของอเมริกา ได้กำหนดเกณฑ์ต่ำสุดของค่าที่ยอมรับได้ว่า “ต้องอ่านค่าเมกะโอห์มได้ไม่ต่ำกว่า 1 เมกะโอห์มบวกกับอีก 1 เมกะโอห์มต่อ 1000 โวลต์ ของพิกัดแรงดันมอเตอร์” นั้นแสดงว่าถ้าค่าความต้านทานฉนวนอ่านค่าได้ต่ำกว่า 1 เมกะโอห์ม ฉนวนจะมีสภาพเสื่อม เช่น ถ้ามอเตอร์มีพิกัดแรงดัน 360 โวลต์ จะต้องมีค่าความต้านทานฉนวนไม่ต่ำกว่า 1.36 เมกะโอห์ม

ตารางแสดงค่าต่ำสุดของ PI สำหรับมอเตอร์ไฟฟ้ากระแสตรงและกระแสสลับ

ตารางมาตรฐานแรงดันทดสอบด้วยไฟฟ้ากระแสตรง (DC)

ที่มา: http://thailandindustry.com/indust_newweb/articles_preview.php?cid=13377

หากท่านใดต้องการทราบข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับหลักการทำงาน, ประเภทต่างๆ ที่ใช้กันในปัจจุบัน, วิธีการเลือกซื้อ, เทคนิคและข้อควรระวังในการใช้ สามารถเข้าไปเลือกศึกษาได้เลยนะครับ ทาง Factomart.com ได้จัดทำไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมหรือต้องการเลือกชมสินค้าสามารถเข้ามาได้ที่ Factomart.com ได้เลยครับ ^^

Facebook Comments