Power Meter สามารถเชื่อมต่อ Port สื่อสารได้ ในบทความนี้เราจะมาดูว่าการสื่อของ Power Meter แต่ละรูปแบบมีลักษณะใดบ้าง และควรใช้รูปแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานที่เราต้องการ
คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Power Meter ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น
รูปแบบการสื่อสารกับ Power Meter ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน
เรามาดูกันครับว่าในปัจจุบันรูปแบบการสื่อสารกับ Power Meter ที่นิยมใช้มีอะไรบ้างรวมถึงจุดเด่นและจุดด้อยของแต่ละประเภท
รูปแบบการสื่อสาร RS-485
รูปแบบการสื่อสาร RS-485 เป็นการสื่อสารที่นิยมใช้กันมากในงานระบบสื่อสารโรงงาน ตึกอาคารพาณิชย์
จุดเด่น RS-485
ส่งสัญญาณได้ไกล
RS485 สามารถส่งสัญญาณได้ไกลสูงสุดถึง 1,200 เมตร ซึ่งถือว่าเป็นระยะทางที่ไกลมาก เพียงพอต่อการใช้งานในโรงงานอุตสาหกรรมอย่างแน่นอนและจะเห็นได้ชัดว่าระยะการส่งสัญญาณได้ถูกพัฒนาขึ้นมากจนทิ้งห่างมาตรฐานรุ่นเก่าอย่าง RS232 ที่สามารถส่งสัญญาณได้เพียง 15 เมตร เท่านั้น
เชื่อมต่อเครือข่ายได้
นอกจากจะส่งสัญญาณได้ไกลแล้ว RS485 ยังสามารถเชื่อมต่อเป็นเครือข่าย (Network) แบบ Multipoint ได้ด้วย ซึ่งสามารถเชื่อมต่ออุปกรณ์ในระบบได้สูงสุดถึง 32 ตัว ซึ่งสิ่งนี้ถือว่าเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของสัญญาณ RS485 เลยทีเดียว
ช่วยประหยัดงบประมาณในการเดินสาย
RS485 เป็นมาตรฐานที่ใช้สายไฟเพียง 2 เส้นในการรับส่งข้อมูล เมื่อเปรียบเทียบกับมาตรฐานรุ่นเก่าที่สามารถส่งสัญญาณในระยะเท่ากันอย่าง RS422 ที่ต้องใช้สายไฟถึง 4 เส้นในการรับส่งข้อมูล ซึ่งราคาสายเคเบิลแบบ 2 แกน จะถูกกว่าสายเคเบิลแบบ 4 แกน ถึงเกือบครึ่ง ในความเป็นจริงแล้วเรื่องงบประมาณถือเป็นเรื่องสำคัญมากๆ ซึ่งนี่ถือเป็นอีกหนึ่งจุดเด่นของ RS485 เลยทีเดียว
ข้อเสีย RS-485
ต้องใช้ตัวแปลงสัญญาณในการเชื่อมต่อกับคอมพิวเตอร์
เนื่องจากปัจจุบันคอมพิวเตอร์ที่เราใช้กันอยู่นั้นไม่มี port เชื่อมต่อสัญญาณ RS485 โดยตรง จะมีก็แต่ USB หรือ RS232 เท่านั้น ฉะนั้นหากเราจะเชื่อมต่ออุปกรณ์ที่ใช้ RS485 กับคอมพิวเตอร์นั้น เราต้องเสียงบประมาณเพิ่มขึ้นในการซื้อตัวแปลงสัญญาณ (Converter) เพื่อแปลงสัญญาณจาก RS485 เป็น USB หรือ RS232 ในการเชื่อมต่อนั้นเอง
ความเร็วในการรับส่งข้อมูลล่าช้า
ถึงแม้ RS485 จะถูกพัฒนาด้านความเร็วในการรับส่งข้อมูลขึ้นมากแล้วก็ตามเมื่อเทียบกับมาตรฐานเก่า แต่ก็ยังมีความล่าช้าอยู่เมื่อเชื่อมต่อในลักษณะเครือข่ายจำนวนมากๆ
รูปแบบการสื่อสาร Eternet
เป็นการสื่อสารที่ได้รับความนิยมในการใช้งานการเข้าถึงสื่อสารสนเทศมากที่สุด ซึ่งสามารถเชื่อมต่อกับ Power Meter ได้เช่นกัน
จุดเด่น Eternet
ความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูล
มีความเร็วในการรับส่งข้อมูลที่สูงมาก รวมถึงรูปแบบการรับ-ส่งข้อมูลมีให้เลือกใช้งานในแบบ Full-Duplex ทำให้ความสามารถในการรับส่งข้อมูลได้ตอบโต้ได้เป็นอย่างดี
ง่ายต่อการเข้าถึงและใช้งาน
เป็นรูปแบบที่นิยมมากที่สุดง่ายต่อการเข้าถึงและใช้งาน ไม่ต้องแปลงสัญญาณใดๆสามารถต่อสาย LAN แล้วเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้ทันที
ข้อเสีย Eternet
ระยะการส่งมีจำกัด
เมื่อเทียบกับ RS-485 ระยะทางค่อนข้างสั้น คือสูงสุด 100 เมตรเท่านั้น ถ้าหากต้องใช้ระยะไกลต้องมีการทวนสัญญาณตลอดระยะทางทำให้สิ้นเปลืองค่อนข้างมาก
ราคาสูง
ราคาของสาย LAN ที่ใช้ในการเชื่อมต่อมีราคาสูงเมื่อเทียบกับสาย 2 core แบบมีชิลด์ และเมื่อต้องต่อเข้าระบบจำนวนมากต้องใช้ Switch hub ในการเชื่อมต่อ ซึ่งมีราคาค่อนข้างสูงเมื่อเทียบกับจำนวนพอร์ตการเชื่อมต่อ
รูปแบบการสื่อสาร USB
เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ง่าย เพียงแค่ต่อสาย USB ก็สามารถต่อเข้ากับ PC Notebook ได้เลยไม่ต้องผ่านการแปลง
จุดเด่น USB
ใช้งานง่าย
ง่ายต่อการใช้งานเพียงแค่ต่อสาย USB ก็สามารถต่อเข้ากับคอมพิวเตอร์ได้เลย
ความรวดเร็วในการรับส่งข้อมูล
มีความเร็วสูงรับ-ส่งข้อมูล ตอบสนองทันที
ข้อเสีย USB
ระยะทางเชื่อมต่อสั่น
ระยะทางในการเชื่อมต่อ USB นั้นสั้นมาก การเชื่อมต่อที่เสถียรที่สุดคือ 5 เมตร
ติดตั้ง Drive USB
ในการใช้งานผ่านทาง USB โดยทั่วไปต้องมีการติดตั้ง Driver USB ด้วย อาจทำให้ไม่สะดวกในบางกรณี
Modbus Protocol ที่ใช้ในงาน Power Meter
หลังจากที่เราทราบแล้วว่ารูปแบบการสื่อสารที่นิยมใช้ส่วนใหญ่เป็นรูปแบบไหน เรามาดูกันต่อว่า Modbus Protocol ที่ Power Meter ส่วนใหญ่ใช้มีอะไรบ้าง
Modbus RTU
ใช้ในการสื่อสารแบบอนุกรมและทำให้การใช้งานมีขนาดกะทัดรัดแทน binary ของข้อมูลสำหรับโปรโตคอลการสื่อสาร รูปแบบ RTU ตามคำสั่งข้อมูลที่มีวงจรตรวจสอบความซ้ำซ้อนการตรวจสอบเป็นกลไกการตรวจสอบข้อผิดพลาดเพื่อความน่าเชื่อถือของข้อมูล
Modbus TCP/IP (Modbus-TCP)
คือ โปรโตคอล Modbus RTU ที่เชื่อมต่อด้วย TCP โดยทำงานบนสถาปัตยกรรมของ Ethernet โครงสร้าง Message ของ Modbus คือ application protocol ที่จะถูกส่งผ่านไปพร้อมกับ TCP/IP (TCP/IP คือ Transmission Control Protocol และ Internet Protocol ซึ่งเป็นตัวกลางที่ใช้ในการส่ง Message ของ Modbus TCP/IP)
ซึ่งทั้ง 2 รูปแบบ สามารถใช้งานในระบบ Power Meter ได้ทั้งสองแบบขึ้นกับระบบอุปกรณ์ที่ทางลูกค้าใช้งานรวมเข้ากับระบบ เช่น PLC HMI รองรับแต่ TCP ก็สามารถใช้งานในรูปแบบ TCP ที่วิ่งผ่าน RS-485 ได้เช่นกัน หรือ อุปกรณ์รองรับ RTU ก็สามารถใช้ในรูปแบบ LAN หรือ USB ก็ได้
หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Digital Power Meter ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ
ข้อมูลเกี่ยวกับ Digital Power Meter ทั้งหมด ไม่ว่าจะข้อมูลประเภท ตังอย่างการใช้งาน เปรียบเทียบระหว่างแบบดิจิตอลกับอนาลอก แนะนำวิธีการเลือก รูปแบบการสื่อสาร และใช้งานกับ MDB และตู้ DB รวบรวมไว้ในรูปแบบเอกสารให้คุณดาวน์โหลดฟรี