สอนเลือก Digital power meter ให้ตรงกับสเปคที่ได้รับ

Share this post

บทความที่จะมาแนะนำถึง วิธีการเลือกใช้งาน Power Meter ให้ได้ตามความต้องการ และมีประสิทธิภาพในการใช้งานนะครับ ซึ่งทางเราได้รวบรวมข้อคำนึงต่างๆ ที่ท่านผู้อ่านสามารถนำไปประยุกต์เพื่อเอาไว้คิดถึง และพิจารณาก่อนการเลือกใช้จริงได้

คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Power Meter ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น

ปัจจัยสำหรับการเลือก

ปัจจัยต่างๆที่ท่านสามารถเอาไว้ “คิดถึง” เพื่อพิจารณาก่อนการเลือกใช้ เพื่อให้ได้ตามความต้องการมีดังนี้

ค่าพื้นฐานทางไฟฟ้าที่ Power Meter วัดได้

ภาพตารางค่าพื้นฐานทางไฟฟ้าที่ Power Meter ควรจะวัดได้ตามตารางที่แสดงด้านล่าง

จากตารางข้างต้น หากผู้ใช้งานมีความต้องการวัดค่าฮาร์มอนิกแบบแยกลำดับ ควรจะใช้รุ่นเฉพาะที่มีฟังก์ชั่นวัดค่าฮาร์มอนิกได้ (PF & harmonic) โดยทั่วไปลำดับของฮาร์มอนิกที่ใช้กันจะมีแบบ THD, 31 ลำดับ, 63 ลำดับ เป็นต้น

เนื่องจากผู้ใช้งานอาจจะพบเจอปัญหาที่มักจะหาสาเหตุไม่ได้ เช่น ตู้ CAP Bank มักจะระเบิดบ่อยๆ หรือ เครื่องจักรบางตัวมักจะเสียโดยไม่ทราบสาเหตุ เป็นต้น เพราะฉะนั้นควรจะติดตั้งมิเตอร์ที่สามารถวัดค่าฮาร์มอนิก เพื่อนำมาประกอบในการวิเคราะห์ด้วย

ซอฟท์แวร์ที่ดีควรบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือฐานข้อมูลได้

ควรเลือกระบบซอฟท์แวร์ที่สามารถเก็บบันทึกข้อมูลในคอมพิวเตอร์หรือฐานข้อมูลสำหรับการวิเคราะห์ระบบไฟฟ้าได้ ซึ่งขึ้นกับซอฟท์แวร์ของแต่ละระบบ

สามารถวัดค่าต่างๆได้ อย่างหลากหลาย

มิเตอร์ควรเก็บบันทึกค่าได้

มิเตอร์ควรสามารถเก็บบันทึกค่า Min, Max, Average หรือ Demand ได้ และสามารถเก็บบันทึกข้อมูลค่ากิโลวัตต์ แล้วนำไป Plot กราฟแสดงที่มิเตอร์ได้

ควรเลือกจาก Accuracy ที่สูงๆ

เพื่อลดเปอร์เซ็นความผิดพลาดในการอ่านค่าทางไฟฟ้าต่างๆ โดยเฉพาะ ค่า Active Power ควรเลือกที่ Class 0.5s เพราะเป็น Class ที่มีความคลาดเคลื่อนน้อยที่สุดแล้วในมิเตอร์ปัจจุบันนี้

เลือกมิเตอร์วัดได้หลายระบบ

ควรเลือกมิเตอร์ที่สามารถวัดได้ทั้งระบบ Low Voltage , ระบบ Medium Volt และ ระบบ High Volt

วัดฮาร์มอนิกได้

ควรเลือกมิเตอร์ที่สามารถวัด ฮาร์มอนิกแบบ THD หรือ แบบแยกลำดับ (31 ลำดับ, 63 ลำดับ)

ตัวอย่างการแสดงผล

Option เสริมเติมประสิทธิภาพได้

มิเตอร์ควรมี Option เสริมให้เลือกหลากหลาย เช่น การรับ input เข้ามาอ่านค่าในมิเตอร์หรือการส่ง output ออกไปแสดงผลข้างนอกได

ย่านแรงดัน Supply

ควรเลือกมิเตอร์ที่มีย่านแรงดัน Supply ให้ครอบคลุมทั้ง Single phase และ Three phase เพราะบางสถานที่ไม่มีนิวตรอน จำเป็นต้องใช้มิเตอร์ที่สามารถรับไฟ line to line เท่านั้น เช่น 90 – 484 Vac เป็นต้น

หน้าจออ่ายง่ายเห็นตัวเลขชัดเจน

สิ่งที่เราคาดหวังจากมิเตอร์เลยก็คือ การวัดค่าให้ตรงกับค่าจริงมากที่สุด โดยหน้าจอแสดงผลของมิเตอร์บางยี่ห้อนั้นเป็น 7-segment ซึ่งปัญหาที่ทุกคนมักจะพบเลยคือ LED ขาดทำให้ค่าที่เราอ่านมีความคาดเคลื่อนเกิดขึ้น เช่น จากเลข 8 เป็น เลข 0 หรือ เลข 6 เป็นเลข 3 หรือแม้กระทั้งตัวหนังสือเป็นภาษาต่างดาว อ่านยาก เป็นต้น

ปัญหาเหล่านี้จึงเป็นเหตุผลหลักที่ทุกๆ คนหันมาใช้หน้าจอแบบ Graphic LCD เพราะหน้าจอแสดงผลนั้นจะเป็นคำศัพท์ที่อ่านแล้วเข้าใจง่าย ทำให้อ่านค่าได้แม่นยำ และมีความหลากหลายในการแสดงผล เช่น ดูกราฟคุณภาพของไฟฟ้า หรือดูเป็นกราฟแท่งแยกแต่ละลำดับของฮาร์มอนิกส์ในระบบ และควรมีโหมด Saving Energy ถนอมหน้าจอด้วยเพื่อยืดอายุการใช้งานของหน้าจอ

ช่องทางการส่งข้อมูลระหว่างมิเตอร์ และซอฟท์แวร์

โดยการใช้งานจริงเราสามารถสั่งการทำงานจากซอฟท์แวร์ไปยังมิเตอร์ได้ หรือแม้กระทั่งสามารถติดตามข้อมูลของมิเตอร์ในขณะที่กำลังทำงาน หรือเก็บข้อมูลย้อนหลังก็สามารถทำได้ โดยหัวใจหลักที่จะทำให้กระบวนการทำงานเหล่านี้เป็นไปได้ก็ คือ Protocal ของมิเตอร์ และซอฟท์แวร์นั้น จะต้องเป็นประเภทเดียวกัน เช่น ModBus Protocal, ProfiBus, เป็นต้น

ตัวอย่างอุปกรณ์ช่องทางการส่งข้อมูลระหว่างมิเตอร์และซอฟท์แวร์

ประเภทของช่องทางการสื่อสารระหว่างมิเตอร์และซอฟท์แวร์

Serial Port

เหมาะสำหรับโรงงานที่มีต้นทุนต่ำ แต่ต้องการความเสถียรภาพ และความเร็วในการส่งข้อมูลอยู่ในเกณฑ์ใช้ได้ ควรใช้สายส่งข้อมูลดังนี้

RS232

ลักษณะการติดตั้ง คือ เป็นแบบ 1 ต่อ 1 ระยะสายควรจะไม่เกิน 10 เมตร

RS485

ลักษณะการติดตั้ง ควรติดตั้งแบบ Multi drop ใน 1 Loop ควรมีมิเตอร์ 25-31 ตัว หรือ ระยะสายไม่ควรเกิน 1200 เมตร

Eternet

เหมาะสำหรับโรงงานที่มีวง Lan เป็นของตัวเองอยู่แล้ว เนื่องจากราคาของสายแลนค่อนข้างแพงแต่เสถียรภาพของการส่งข้อมูลและความเร็วในการส่งข้อมูลดีกว่า RS232 และ RS485 ลักษณะการติดตั้งเป็นแบบ 1 ต่อ 1 และระยะสายไม่ควรเกิน 100 เมตร

WIFI

เหมาะสำหรับโรงงานที่มีต้นทุนสูง และไม่สะดวกที่จะเดินสายไฟ แนะนำให้มีส่งข้อมูลผ่าน WIFI ลักษณะการติดตั้ง

มี Reference

ควรเลือกซื้อมิเตอร์ที่มีคุณภาพและความน่าเชื่อถือที่เป็นที่รู้จักหรือใช้ ตามโครงการใหญ่ๆ เพราะเราคงไม่อยากจะซื้อที่ราคาถูกแต่ใช้ได้ไม่นานก็พังและต้องทำการซื้อ เปลี่ยนใหม่บ่อยๆ

ความน่าเชื่อถือจากแหล่งซื้อ

และที่สำคัญที่สุดคือควรเลือกซื้อกับตัวแทนจำหน่ายที่มีความเชี่ยวชาญด้าน มิเตอร์ เพราะหลังจากซื้อไปแล้วถ้าเกิดมีปัญหาขึ้นมาเราก็ต้องการคนที่มีความรู้เข้า มาทำการแก้ไขปัญหาให้โดยเร็ว

จากข้อแนะนำต่างๆ เหล่านี้ คงจะเป็นการเพิ่มแนวทางที่ดี ที่จะสามารถช่วยให้ท่านผู้อ่านมีข้อมูลเพิ่มเติม เพื่อประกอบการพิจารณาในการเลือกใช้ได้อย่างเหมาะสมตามความต้องการของท่านได้นะครับ และถ้าหากท่านผู้อ่านยังมีข้อสงสัยเพิ่มเติม ท่านสามารถส่งข้อความสอบถามไว้ที่กล่องแสดงความคิดเห็นที่อยู่ด้านล่างบทความนี้ได้ หรือจะโทรสอบถามทางเราก็ยินดีที่จะให้บริการนะครับ

หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Digital Power Meter ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

ข้อมูลเกี่ยวกับ Digital Power Meter ทั้งหมด ไม่ว่าจะข้อมูลประเภท ตังอย่างการใช้งาน เปรียบเทียบระหว่างแบบดิจิตอลกับอนาลอก แนะนำวิธีการเลือก รูปแบบการสื่อสาร และใช้งานกับ MDB และตู้ DB รวบรวมไว้ในรูปแบบเอกสารให้คุณดาวน์โหลดฟรี

Facebook Comments