มาม่ะ มาดู การเลือกใช้ Ultrasonic Sensor ให้ดี จะได้ถูกใจทุกครั้งที่ท่านได้ใช้งานกันนะครับ โดยในบทความนี้เราจะเล่าถึงปัจจัย และเงื่อนไขต่างๆ ที่ควรคำนึงถึงก่อนการเลือกใช้ว่ามีอะไรบ้างที่ท่านต้องคิดถึง?
ซึ่งในส่วนนี้ถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญอีกส่วนหนึ่งที่จะสามารถช่วยให้ท่านเลือกใช้ กลุ่มสินค้าของ Ultrasonic Sensor ได้อย่างเหมาะสม อีกทั้งยังจะช่วยให้เข้าใจถึงความหมายว่า Ultrasonic Sensor นั้นคืออะไร? ได้มากขึ้นอีกด้วย โดยในบทความนี้ จะมีวิธีเลือกอย่างไรรอท่านผู้อ่านอยู่นั้นติดตามได้จากรายละเอียดต่อไปนี้เลยนะครับ
เลือก Ultrasonic Sensor อย่างไร ให้ถูกใจ?
การเลือกใช้งาน Ultrasonic Sensor นั้น จำเป็นต้องทราบเงื่อนไข หรือ ความต้องการใช้งานต่างๆ เพื่อให้สามารถเลือกเซ็นเซอร์ได้อย่างถูกต้อง และ สามารถใช้งานเซ็นเซอร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ โดยเงื่อนไข หรือ ปัจจัย ที่ควรรู้ก่อนที่จะเลือกใช้นั้นสามารถคำนึงได้ดังนี้
วัสดุที่ใช้ตรวจจับ
สำหรับงานที่ใช้อัลตร้าโซนิคเซนเซอร์ในการตรวจจับนั้น สามารถแบ่งประเภทของตัววัสดุได้เป็น 2 กลุ่ม คือ วัสดุที่เป็นของแข็ง กับวัสดุที่เป็นของเหลว โดยเวลาเลือกใช้ตัวเซ็นเซอร์จำเป็นต้องเลือกให้ตรงกับประเภทของวัสดุด้วย
รูป 1 ที่ Ultrasonic Sensor for liquids สำหรับวัดระดับของเหลว
รูปที่ 2 Ultrasonic Sensor for solids สำหรับวัดระดับของแข็ง
Distance Sensing
ระยะการตรวจจับชิ้นงาน วัตถุ หรือระดับของเหลวต่างๆ โดยปัจจุบันตัวอัลตร้าโซนิคเซ็นเซอร์นั้นมีตั้งแต่ระยะในการทำงานให้เลือกใช้ได้ไกลถึง 60 เมตร
Power Supply หรือ แหล่งจ่ายไฟ
การเลือกใช้งานแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับตัวเซนเซอร์นั้น ขึ้นอยู่กับหน้างานและตัวควบคุมที่รับสัญญาณจากตัวเซนเซอร์ ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ คอนโทรลเลอร์เป็นพวก PLC, Counter, Timer, Pulse Meter ก็จะใช้แหล่งจ่ายไฟชนิด DC 10-30V ซึ่งมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากกว่า แต่ถ้าโหลดเป็นอุปกรณ์ที่เป็น AC เช่น Coil AC 220VAC ก็สามารถใช้เซนเซอร์ที่ใช้แหล่งจ่ายไฟแบบ AC 220V ได้เช่นกัน แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการต่อสายให้ถูกต้อง
Output
อัลตร้าโซนิคเซ็นเซอร์ เป็น Analog เช่น 4-20 mA , 0-10 Vdc หรือ Discrete เช่น สัญญาณเอาท์พุต NPN หรือ PNP หลายครั้งมักมีคำถามว่าจะใช้เซนเซอร์ที่มีสัญญาณเอาท์พุตเป็นแบบ NPN หรือ PNP ดีในส่วนนี้ หรือบางครั้งจะมีผู้ใช้งานบางส่วนเรียก common + หรือ common – ซึ่งจริงๆ แล้ว NPN นั้นก็คือ common – และ PNP นั้นก็คือ common + เราจะเลือกใช้กันตามตัววงจรที่เราไปต่อว่ามี Common แบบไหนนั่นเอง ในเซนเซอร์บางรุ่นที่ออกแบบมาให้สามารถต่อสัญญาณเอาท์พุตเข้ากับโหลดทางไฟฟ้าได้เลย ก็จะให้สัญญาณเอาท์พุทเป็นแบบหน้าคอนแท็ค ที่สามารถทนโหลดกระแสได้สูง
Communication หรือ การสื่อสาร
เป็นรูปแบบการเชื่อมต่อเซ็นเซอร์ที่เป็นอุปกรณ์ Field Device กับตัวควบคุมหรือคอนโทรลเลอร์ต่างๆ เพื่อใช้ในการส่งข้อมูล เช่น ค่าที่อ่านได้ โดยมีหลายมาตรฐานให้เลือกใช้ เช่น HART protocal, Modbus, Profibus, IO Link
Dimension
รูปร่างรูปทรง ขนาดของตัว Ultrasonic อัลตร้าโซนิค เช่น แบบทรงกระบอก ทรงสี่เหลี่ยม เป็นต้น
รูปแบบของการต่อสาย
แบบสาย หรือ แบบคอนเน็คเตอร์ ประเภทที่มีสายในตัวและแบบใช้คอนเน็คเตอร์ ชนิดของสายขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการติดตั้งว่ามีสภาวะแวดล้อมเป็นแบบใด มีน้ำมัน หรือสารระเหยที่มีผลต่อวัสดุที่ใช้นำมาทำสายไฟหรือไม่ โดยวัสดุมาตรฐานที่ใช้ทำสายไฟก็จะเป็นแบบ PVC แต่ถ้าต้องการความทานมากขึ้นก็จะใช้เป็นแบบ PU ส่วนรุ่นที่เป็น Connector ก็จะมีโครงสร้างหรือวัสดุเป็นแบบเดียวกับสาย เพียงแต่จะใช้ Connector ขนาด M12 ต่อกับตัวเซ็นเซอร์แทน เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและบำรุงรักษา
IP Rating
เป็นมาตรฐานที่บ่งชี้ถึงระดับการป้องกันน้ำและฝุ่นของตัวเซนเซอร์เอง เช่น ถ้าค่า IP67 จะเป็นค่าที่สามารถทนต่อฝุ่นและนำ้ในการใช้งานปกติได้อย่างสบาย แต่สำหรับงานที่ต้องการใช้งานตัวเซนเซอร์ในสภาวะแวดล้อมที่เลวร้าย ก็จะมีเซนเซอร์รุ่น พิเศษ ที่มี IP สูงกว่านี้เช่น IP68K โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่เว็บไซด์ http://www.engineerfriend.com/2012/articles/degrees-of-protection-ip-standard/
ทั้งหมดนี้คือ เงื่อนไข และ ปัจจัย ที่จะสามารถช่วยท่านตัดสินใจเลือกใช้ กลุ่มสินค้าของ Ultrasonic Sensor ให้ถูกใจได้ในระดับหนึ่งแล้วนะครับ โดยทาง my.Factomart.com หวังเป็นอย่างยิ่งว่าความรู้ในส่วนนี้ จะเพิ่มความเข้าใจให้ท่านผู้อ่านได้รู้ว่า Ultrasonic Sensor นั้นคืออะไร?
หากท่านมี ข้อสังสัยเพิ่มเติม หรือ ต้องการเสนอแนะในส่วนใด ท่านสามารถส่งข้อความของท่านได้ ในกล่องเสนอความคิดเห็นที่อยู่ทางด่านล่าง หรือ ติดต่อเราได้โดยตรงในทุกช่องทางการติดต่อของเรานะครับ