หลักการทำงานของ Temperature RTD

สวัสดีครับผู้อ่านทุกท่าน วันนี้ทางบล็อก Factomart.com เรามีบทความที่เกี่ยวกับตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิที่สามารถวัดอุณหภูมิด้านลบได้อย่างแม่นยำนั้นคือ เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ RTD ซึ่งบทความนี้เราจะมาเข้าใจถึงหลักการทำงานของตัวเซ็นเซอร์นี้กันเลยครับผม

หลักการทำงานของ Temperature RTD

เซอร์ ฮัมฟรีย์ เดวี เป็นผู้ค้นพบว่า “ค่าความต้านทานของโลหะจะเปลี่ยนแปลงไปตามอุณหภูมิ” และอีก 50 ปีต่อมา เซอร์ วิลเลียม ซีเมนส์ ก็ได้ค้นพบว่า “เส้นลวดแพลตินัมสามารถใช้เป็นตัวกลางวัดอุณหภูมิได้” หลังจากนั้นเป็นต้นมาได้มีการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้วัดอุณหภูมิจนกลายมาเป็นอุปกรณ์ที่เราใช้กันในปัจจุบัน ซึ่ง RTD เป็นหนึ่งในอุปกรณ์ที่ใช้วัดอุณหภูมิโดยใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานของโลหะ

RTD ทำจากโลหะที่มีความยาวค่าหนึ่ง ซึ่งที่ 0 °C จะมีค่าความต้านทานค่าหนึ่งตามที่กำหนด ลวดโลหะนี้จะพันอยู่บนแกนที่เป็นฉนวนไฟฟ้ามีคุณสมบัติทนต่อความร้อน แกนสำหรับพันเส้นลวดส่วนใหญ่ทำมาจากสารประเภทเซรามิกหรือแก้ว หรือแพลตทินัมที่เคลือบด้วยเซรามิก ขดลวดนี้ต้องทนต่อการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ ความสั่นสะเทือนเพราะเมื่อขดลวดได้รับความร้อนจะขยายตัวและเมื่อเย็นลงจะหดตัว โดยแกนที่ใช้พันขดลวดต้องมีค่าสัมประสิทธิ์การขยายตัวใกล้เคียงและสัมพันธ์กับการขยายตัวของเส้นลวด

RTD เป็นตัวเซ็นเซอร์อุณหภูมิที่ใช้หลักการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานของโลหะ หากอุณหภูมิมีค่าสูงค่าความต้านทานก็จะสูงขึ้นด้วย ซึ่งเป็นไปตามสมการ

ค่าสัมประสิทธิ์ของการเปลี่ยนแปลงค่าความต้านทานไฟฟ้าของโลหะแต่ละชนิดจะแตกต่างกัน เช่น แพลตินัมจะมีค่าเท่ากับ 0.00392 Ω/Ω/°C จากย่านอุณหภูมิ 0 °C ถึง 100 °C, นิกเกิล 0.0063 Ω/Ω/°C, ทองแดง 0.00425 Ω/Ω/°C

จบไปแล้วกับหลักการทำงานของตัวเซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิ RTD ทางเรายังมีบทความที่เกี่ยวข้องกับเซ็นเซอร์นี้ไม่ว่าจะเป็น ประเภทของ Temperature RTD, วิธีการเลือก Temperature RTD, ความแตกต่างระหว่างเทอร์โมคัปเปิลกับ Temperature RTD, การติดตั้ง Temperature RTD, การประยุกต์ใช้งานและข้อควรระวังในการใช้ Temperature RTD ผู้อ่านทุกท่านสามารถเข้าไปเลือกอ่านได้เลยครับผม หากมีข้อสงสัยหรือต้องการเลือกชมสินค้าสามารถเข้าไปเลือกชมได้ที่ Factomart.com

Facebook Comments