4 ส่วนสำคัญของโครงสร้าง Paddle Level Switch

Share this post

จากในหน้าหลักที่ผ่านมาคงทำให้ท่านผู้อ่านเข้าใจถึงความหมายของ Paddle Level Switch คือ อะไร? แล้วใช่ไหมครับ แต่สำหรับบทความนี้จะเป็นส่วนช่วยขยายความเข้าใจให้ท่านผู้อ่านรู้ถึงส่วนประกอบภายในของสวิตซ์ชนิดนี้ ว่าอะไรคือ โครงสร้างหลักสำคัญ ที่สามารถขับเคลื่อนให้สิวตซ์นี้ทำงานได้ 

โดยความรู้ในส่วนนี้เป็นพื้นฐานที่จะส่งผลให้มีความเข้าใจในหลักการทำงาน และ ทำให้ผู้อ่านสามารถเลือกใช้ กลุ่มสินค้าของ Paddle Level Switch ได้อย่างถูกต้อง โดยโครงสร้างสำคัญคัญจากที่กล่าวมานั้นจะประกอบไปด้วยอะไรบ้าง? ติดตามอ่านกันได้จากบทความต่อไปนี้นะครับ

4 ส่วนสำคัญของโครงสร้าง Paddle Level Switch

ถึงแม้ว่าการใช้งาน Paddle Level Switch นี้จะไม่ยาก เนื่องจากไม่จำเป็นต้องปรับค่าอะไรมาก แค่จ่ายไฟให้หมุน แล้วรอตรวจจับสถานะการเปลี่ยนแปลงของหน้าคอนแทคเท่านั้น แต่โครงสร้างของตัวเซ็นเซอร์ชนิดนี้นั้นมีความสำคัญมากนะครับ โดยเฉพาะส่วนที่ทำหน้าที่เป็นใบพัด ซึ่งจะต้องสัมผัสกับ วัตถุดิบ หรือ Media โดยตรง ในที่นี้จะขอแบ่งส่วนประกอบของตัวเซ็นเซอร์เป็นดังนี้

1.Motor

มอเตอร์ คือ ตัวขับเคลื่อนใบพัด ซึ่งจัดว่าเป็นหัวใจสำคัญ ที่ทำให้เซ็นเซอร์แบบนี้ทำงานได้อย่างถูกต้อง ดังนั้นถ้าตัวมอเตอร์เสีย หรือเกิดการเสียหาย เซ็นเซอร์ก็จะไม่สามารถทำงานได้ ตัวมอเตอร์ที่ใช้งานในตัวเซ็นเซอร์ประเภทนี้จะมีอยู่ 2 แบบ คือ

1.1) DC Motor เป็นมอเตอร์ที่มีใช้ในตัวเซ็นเซอร์ทั่วๆ ไป ติดตั้งได้โดยง่าย แต่มีข้อเสียตรงที่อายุการใช้งานสั้นประมาณ 5000 ชั่วโมง หรือประมาณ 6 เดือน โดยประมาณ ซึ่งขึ้นอยู่กับสภาวะแวดล้อมในการติดตั้ง

รูปที่ 1 ตัวอย่าง DC Motor ในสวิทซ์ใบพัด

1.2) AC Motor เป็นมอเตอร์แบบ Permanent Magnet Synchronus AC motor ซึ่งจะมีอายุการใช้งานที่ยาวนานกว่า ตัวอย่างเช่น KA ของบริษัท Monitortech ในเอกสารสินค้าของเขา แจ้งไว้ว่ามีอายุการใช้งานถึง 20 ปี เนื่องจากไม่ต้องคอยบำรุงรักษาเรื่องของแปลงถ่าน

รูปที่ 2 ตัวอย่าง AC Motor ในสวิทซ์ใบพัด

2.Paddle

ใบพัด เป็นส่วนที่ทำหน้าที่สัมผัสกับตัววัตถุดิบโดยตรง ซึ่งจำเป็นต้องมีโครงสร้างที่แข็งแรง และ ทนต่อสภาพแวดล้อม เช่น การกัดกร่อน หรือความร้อน โดยส่วนใหญ่จะออกแบบให้มีลักษณะรูปแบบต่างๆ ให้เหมาะสมกับวัตถุดิบหรือ Media ที่ต้องการตรวจจับ

รูปที่ 3 ตัวอย่างใบพัดสำหรับ Rotary Paddle Level Switch

3.Body Housing

โครงของตัวเซ็นเซอร์ เป็นส่วนที่ใช้บรรจุตัวมอเตอร์และวงจรไฟฟ้าของเซ็นเซอร์ ซึ่งตัวโครงสร้างจะทำจากวัสดุที่แข็งแรง เนื่องจากในการใช้งานอาจจะมีเศษวัตถุดิบหรือวัตถุโดยรอบตกใส่ ตัวอย่างของวัสดุที่ใช้ทำ เช่น อลูมิเนียมหล่อ

4.Electrical Contact

หน้าคอนแทคไฟฟ้า เป็นส่วนที่ใช้ในการเชื่อมต่อวงจรไฟฟ้า กับตัวควบคุมภายนอก โดยอุปกรณ์ที่ใช้สวิทซ์หน้าคอนแทคนั้นจะเป็นตัว Limit Switch ซึ่งถ้าเป็นเซ็นเซอร์ที่ออกแบบดี จะมีอยู่ด้วยกัน 2 ตัว โดยแต่ละตัวทำหน้าที่ดังนี้

4.1) Limit Switch 1 จะเป็นตัวหลักที่จะทำงานก็ต่อเมื่อมี Media ทับอยู่ที่ตัวใบพัด ทำให้ใบพัดหยุดหมุนและทำให้เกิดแรงบิดภายในและทำให้กลไกภายในไปเตะตัว Limit Switch 1  ให้ทำงาน เพื่อไปสั่งควบคุมอุปกรณ์อื่นๆ

4.2) Limit Switch 2 จะเป็นตัวรองที่จะทำงานก็ต่อเมื่อมี Media ทับอยู่ที่ตัวใบพัด ทำให้ใบพัดหยุดหมุนและทำให้เกิดแรงบิดภายในและทำให้กลไกภายในไปเตะตัว Limit Switch 2 ให้ทำงานเพื่อตัดไฟเลี้ยงวงจรของมอเตอร์ เพื่อป้องกันการเกิด Rotor Lock ซึ่งเป็นสาเหตุที่ทำให้อายุการใช้งานของมอเตอร์สั่นลง

รูปที่ 4 วงจร Limit Switch ภายในตัวสวิทซ์ใบพัด Rotary Paddle Level Switch

 จะเห็นได้ว่าเพียงแค่ Motor , Paddle , Body Housing และ Electrical Contact ก็สามารถทำให้ Paddle Level Switch สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งทั้ง 4 ส่วนนี้คือโครงสร้างหลัก ที่ท่านผู้อ่านควรทำความเข้าใจ เพื่อเป็นพื้นฐานสำคัญในการศึกษาเรื่อง หลักการทำงาน ให้มีความเข้าใจได้อย่างดีในโอกาสต่อไปนะครับ

และนี้คือเนื้อหา 4 ส่วนสำคัญของโครงสร้าง Paddle Level Switch ที่ทาง Factomart.com ได้จัดเตีรยมไว้ให้นะครับ ซึ่งในส่วนนี้ เป็น
พื้นฐานที่จะส่งผลให้ผู้อ่านสามารถเลือกใช้ กลุ่มสินค้าของ Paddle Level Switch ได้อย่างถูกต้อง และ หากท่านมีข้อสังสัยเพิ่มเติมว่า Paddle Level Switch คือ อะไร? หรือ ต้องการเสนอแนะในส่วนใด ท่านสามารถส่งข้อความของท่านได้ในกล่องเสนอความคิดเห็นที่อยู่ทางด่านล่าง หรือ ติดต่อเราได้โดยตรงในทุกช่องทางการติดต่อของเรานะครับ   

Facebook Comments