7 Step การเลือกซื้อ Switching Power Supply ให้ตรงใจ

สวิตชิ่ง เพาเวอร์ ซัพพลาย

Share this post

เป็นไปได้เราคงไม่อยากซื้อ Switching  Power Supply มาแล้วใช้ไม่ได้หรือไม่เหมาะกับงานคุณใช่มั้ย เพราะฉะนั้นเราควรจะมีวิธีเลือกซื้ออย่างไร? ดูแค่กำลังไฟฟ้าพอหรือไม่?

การเลือก Switching Power Supply ให้เหมาะกับการใช้งานไม่ยากอย่างที่คุณคิด มีหลายๆ ปัจจัยที่เราต้องคำนึงถึง รวมทั้งเราต้องศึกษารายละเอียดของสินค้าและตัวหรือเอกสารสเป็คสินค้าให้เข้าใจก่อนเลือกซื้อเพื่อป้องกันความผิดพลาดที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในอนาคต ในบทความนี้ทางทีมงาน Factomart ได้รวบรวมข้อมูลขั้นตอนการเลือกแบบ step by step เพื่อให้คุณได้ใช้เป็นแนวทางในการเลือกซื้อสวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายที่เพอร์เฟคกับการใช้งานของคุณกัน

หลังจากอ่านบทความของเราแล้ว คุณสามารถดู Catalog รุ่นสินค้าของ Switching Power Supply ที่มีรายการพร้อมให้คุณซื้อได้ทันที หากมีข้อสงสัยทีมงาน Factomart ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านผ่านช่องทาง Live Chat ได้ทันทีครับ หรือถ้าสนใจอ่านข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมของสวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายติดตามได้จาก Switching Power Supply Knowledge Center เช่นกันครับ

Step 1 กำลังไฟฟ้าและแรงดันในระบบไม่ควรแค่ใช้ได้แต่ควรใช้ได้ในระยะยาว

ก่อนที่คุณจะเลือกซื้อคุณต้องทราบว่าระบบของคุณต้องใช้กำลังวัตต์และแรงดันอินพุตเท่าไหร่ เช่น ต้องการแปลงไฟ AC เป็น 24VDC โหลดกินไฟ 100W ถ้าคุณเลือกใช้ตรงตามเท่านี้เลยก็ใช้ได้ แต่ในความเป็นจริงนั้นคุณควรเผื่อกำลังไฟฟ้าไว้ที่ 30-50% ช่วยในกรณีที่มีอุณหภูมิสูงขึ้นอย่างฉับพลันจนทำให้จ่ายกำลังไม่ได้เต็มประสิทธิภาพหรือช่วยในเรื่องการขยายระบบ ซึ่งในบางรุ่นก็จะมีฟังก์ชั่นนี้เรียกว่า Power Reserve เช่นแบรนด์ Schneider Electric

Step 2 เลือกให้เหมาะกับพื้นที่ของคุณ

เน้นพื้นที่ไม่จำกัดหรือมีพื้นที่เยอะหน่อย ติดตั้งง่าย เจาะติดกับตู้ได้เลย เลือกแบบ Front Mounting แต่โดยส่วนใหญ่คนมีความเชื่อถือกับ Switching Power Supply แบบ Din-Rail มากกว่าเนื่องจากมีการออกแบบมาใช้กับตู้คอนโทรลในงานอุตสาหกรรมมาโดยเฉพาะ ซึ่งมีขนาดเล็กแต่ประสิทธิภาพสูงและมีระบบการป้องกันที่มากขึ้นทำให้คนมีความต้องการ Switching Power Supply  แบบ Din-rail เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ

ติดตั้งแบบ Front Mounting หรือ Din-Rail ดี? Choose the right form factor to suite your space

Step 3 Power Supply ของคุณ เลี้ยงอุปกรณ์เพียงตัวเดียวหรือเลี้ยงเป็นแผง?

ถ้างานของคุณเป็นงาน Stand Alone เลี้ยงอุปกรณ์แค่ตัวเดียวหยุดจ่ายไฟไม่เป็นปัญหา แนะนำแบบ Front Mounting แต่ถ้าเป็นระบบใหญ่พวกงาน DC Bus เช่น ระบบ Scada, ระบบ DCS Control และระบบ Automation ระบบพวกนี้ถ้ามีการหยุดจ่ายไฟทั้งระบบคงไม่ดีแน่ แนะนำแบบ Din-rail ประสิทธิภาพสูง ทนความร้อนได้ดี ระบายความร้อนได้ดีกว่า

Step 4 ความร้อนปัจจัยหลักที่ทำให้ Power Supply อายุสั้น

ในแต่ละรุ่นนั้นจะมีสิ่งที่เรียกว่า Derating Curves หรือ กราฟแสดงประสิทธิภาพของกำลังไฟฟ้าเทียบกับอุณหภูมิ ( ֯c) จะทำให้เรารู้ว่า ความร้อนสูงสุดกี่องศา ( ֯c) ที่ยังคงจ่ายกำลังไฟฟ้าได้ 100% ยิ่งอุณภูมิสูงยิ่งดี

ตัวอย่างกราฟ Derating Curves

Step 5 ทำไมแปลงแรงดันเป็น 24VDC แต่กลับได้มาเพียง 20-22VDC

เพราะคุณไม่มีสิ่งที่เรียกว่า Adjust Voltage โดยปกติแล้วเราต่อ Power Supply เข้ากับโหลดจะต้องผ่านตัว Protection ต่างๆ เช่น Fuse, Surge หรือจะต่อโหลดผ่านสายไฟ แทนที่แรงดันจะได้ 24V อาจจะเหลือแค่ 20-22V เราก็ควรจะมีตัว Adjust Voltage คุมแรงดันเหล่านี้เพื่อให้ประสิทธิภาพออกมาเต็มที่

Step 6 เลือกซื้อที่มี Protection คอยป้องกันตัว Switching Power Supply

Protection ต่างๆของ Power Supply ที่ควรต้องมีไม่ว่าจะเป็น Short Circuit, Over Load, Over Voltage, Over Current หรือ Over Temperature ตามลักษณะงานที่เหมาะสม เช่น งานที่มีลักษณะ เศษสายไฟ หรือสายไฟแตะกัน ถ้าไม่มี Short Circuit Protection เกิดการช็อตกันซึ่งพวกนี้ช็อตกันแล้วไม่กลับมาทำงานอีก ถ้ามี Short Circuit Protection ก็จะสามารถทนได้สักครู่นึง ระบบก็กลับมาจ่ายกระแสได้เหมือนเดิม

Step 7 โหลดแบบต่างๆในระบบก็มีผล

ถ้าโหลดในระบบเราเป็นโหลดที่มี L เยอะๆเช่น Coil ใน Magnetic contactor, Coil ของ Solenoid Valve, Coil ของ Relay ที่กินกระแสเยอะๆและเป็นโหลด แนะนำให้เลือก Power Supply ที่มีอัตราการป้องกัน inrush current สูงๆนิดนึง เพราะว่าโหลดพวกนี้จะสร้าง inrush current ขึ้นมาในระบบค่อนข้างเยอะ เพราะฉะนั้นควรเลือก Power Supply ที่ทนต่ออุปกรณ์พวกนี้ได้

ปัจจัยมากมายในที่นี้ล้วนแอบแฝงมาจนคุณไม่นึกถึงมัน เมื่อคุณได้รู้แล้วจะทำให้คุณสามารถเลือกและเปรียบเทียบสินค้าในแต่ละรุ่นแต่ละแบรนด์ต่อไปได้ และเลือกให้เหมาะสมกับงาน ทั้งด้านขนาด กำลังไฟฟ้า ประสิทธิภาพการใช้งานที่สูงขึ้น และมีการป้องกันต่างๆให้กับตัว Power Supply ของคุณมากขึ้น คุณสามารถดู Catalog รุ่นสินค้าของ Switching Power Supply หรือถ้าสนใจอ่านข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมของสวิทชิ่งเพาเวอร์ซัพพลายติดตามได้จาก Switching Power Supply Knowledge Center เช่นกันครับ

ดาวน์โหลดคู่มือ Switching Power Supply

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือและศูนย์รวมข้อมูล Switching Power Supply คุณสามารถดาวน์โหลดบทความทุกบทในรูปแบบไฟล์เอกสารได้ที่นี่เลย มีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้ หลักการทำงาน ประเภท 7 ขั้นตอนการเลือก การติดตั้ง และการเปรียบเทียบรุ่นต่อรุ่น แบรนด์ต่อแบรนด์

แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อ Switching Power Supply

แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) Switching Power Supply ที่เราได้รวบรวมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อ Switching Power Supply เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย เช่น แบรนด์ Schneider Electric, ABB, Meanwell และ Balluff

Button-02-N05-New
Button-02-Home-back-New
สวิตชิ่ง เพาเวอร์ ซัพพลาย
สวิตชิ่ง เพาเวอร์ ซัพพลาย
สวิตชิ่ง เพาเวอร์ ซัพพลาย
สวิตชิ่ง เพาเวอร์ ซัพพลาย
สวิตชิ่ง เพาเวอร์ ซัพพลาย
สวิตชิ่ง เพาเวอร์ ซัพพลาย
Facebook Comments