การชั่งน้ำหนักน้อยที่ค่อนข้างละเอียดอาทิเช่นงานชั่งน้ำยาที่ใช้เป็นส่วนผสมของคอนกรีตผสมเสร็จนั้นมักจะมีปัญหาตัวเลขวิ่งจากแรงสั่นสะเทือนของเครื่องชั่ง (Vibration) เนื่องด้วยว่าการช่างนี้เป็นการช่างที่ค่อนข้างละเอียดและมีน้ำหนักน้อยเมื่อเทียบกับการช่างส่วนผสมอื่นๆ อย่างเช่น หิน, ทราย, น้ำหรือซีเมนต์จึงเป็นจุดที่เจอปัญหาบ่อย ส่วนใหญ่แล้วการชั่งน้ำยาที่ใช้ในการผสมคอนกรีตผสมเสร็จจะตวงระหว่าง 2,000cc จนถึง 5,000cc ซึ่งแปลงเป็นน้ำหนักก็จะอยู่ที่ 2 กิโลกรัมถึง 5 กิโลกรัม
คุณสามารถ อ่านข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมของ Weighing Indicator และเลือกซื้อ ได้ที่แหล่งร่วมข้อมูลและบทความ Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก หากมีข้อสงสัยทีมงาน Factomart ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านผ่านช่องทาง Live Chat ได้ทันทีครับ
แรงสั่นสะเทือนมาจากไหน?
แรงสั่นสะเทือนนั้นเป็นแรงที่มาจากระบบเครื่องกลของถัง
มิกเซอร์หรือมอเตอร์ในเครื่องจักรต่างๆ ในโรงงานผลิตก็อาจจะเผชิญกับปัญหาเช่นเดียวกัน โดยเฉพาะในการชั่งน้ำหนักของในฮอปเปอร์ไซโลที่มีลักษณะเดียวกันหรือแม้แต่การชั่งน้ำหนักบนสายพานก็ตาม
แรงสั่นสะเทือนนั้นทำให้มีการสวิงของน้ำหนักขึ้นลงอยู่ตลอดเวลาแม้ในขณะที่ยังไม่ได้เริ่มชั่งซึ่งจะมีผลให้เกิดปัญหาในการควบคุม มีค่าผิดพลาด (Error) ขึ้น ในกรณีของคอนกรีตผสมเสร็จจะชั่งน้ำยามากเกินไปหรือน้อยเกินไป ส่งผลกระทบถึงประสิทธิภาพของคอนกรีตที่ผสมอยู่หรือเกิดความสูญเสียขึ้นในการผสมนั้น

ผลคาดเคลื่อนจากแรงสั่นสะเทือนสร้างปัญหาแค่ไหน?
ส่วนใหญ่แล้วการชั่งน้ำยาจะชั่งเป็นกิโลและมีจุดทศนิยมอยู่ 2 หลัก โดยเฉลี่ยแล้วการสั่นสะเทือนสามารถสร้างผลคลาดเคลื่อนได้ถึง 0.02 กิโล (200 กรัม)และเป็นผล error ได้ตั่งแต่ 5-10% เดี๋ยวเราจะมาดูแนวทางการแก้ไขปัญหานี้กัน
3 แนวทางการแก้ปัญหาตัวเลขบนหน้าจอเครื่องชั่งวิ่งจากแรงสั่นสะเทือน
1. ใช้หน้าจอแสดงผล Digital Panel Meter แบบ Weighting Indicator
สามารถดูวีดีโอ การเทสหน้าจอ Weighting Indicator รุ่น BC360L2 แสดงผลให้ดูว่าชั่งน้ำหนักได้อย่างแม่นยำ ตัวเลขที่แสดงคงที่แม้ว่ามีการสั่นสะเทือนอยู่ตลอดเวลา
วีดีโอการทดสอบเครื่องชั่งที่มีแรงสั่นสะเทือน
หน้าจอเครื่องชั่งประสิทธิภาพสูง BC360L2 จาก SYMC มาพร้อมด้วยเทคโนโลยี ANTI-VIBRATION และการ Set ค่าด้วยระบบดิจิตอลที่ให้ความละเอียดและความเที่ยงตรงสูง
Weighing Indicator BC360L2 จากแบรนด์ SYMC

2. ย้ายจุดที่ชั่งน้ำยาให้ไปอยู่ไกลจากถังมิกซ์
3. ติดตั้ง damper หรือโช๊ค

เพื่อให้กันแรงสั่นสะเทือนออกจากที่ชั่งน้ำยา วิธีนี้เป็นวิธีที่ไม่ค่อยเห็นมีคนทำเนื่องจากการทำเครื่องกลเพื่อที่จะกันแรงสั่นสะเทือนออกนั้นเป็นสิ่งที่ทำได้ยากและมีโอกาสในการผิดพลาดสูงอาจจะติดตั้งไปแล้วไม่แก้ไขปัญหา 100% และตัวเลขก็ยังคงวิ่งอยู่
Factomart แนะนำทางการแก้ไข
ที่ใช้ หน้าจอ Weighting Indicator ที่มีฟังก์ชั่นกันแรงสั่นสะเทือน ในปี 2561 นี้อุปกรณ์ประเภทนี้ราคาดีและพอๆกับหน้าจออื่นๆทั่วๆไป ในช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมาราคาได้ลงมาพอสมควร ในตลาดจะมีราคาตั้งแต่ 6,000 บาทถึง 12,000 บาท และตัวที่ทาง Factomart ได้นำเสนอจะมีราคาขายอยู่ที่ 6,500 บาท ซึ่งได้มีการเทสดูแล้วว่าสามารถแก้ไขปัญหาตัวเลขวิ่งเนื่องจากแรงสั่นสะเทือนได้จริง
คุณสามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Digital Weighing Indicator รุ่น BC360L2 ของแบรนด์ SYMC หรือ ดูและเลือกซื้อ Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก รุ่นอื่นได้จากหน้าร้านออนไลน์ของเราได้เลย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ
บทความที่เกี่ยวข้อง
โหลดเซลล์ (Load Cell) คืออะไร ? มาหาคำตอบกัน
โหลดเซลล์ (Load Cell) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนจากแรงหรือน้ำหนักที่กระทำต่อตัวโหลดเซลล์ เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ทางเราสามารถนำสัญญาณทางไฟฟ้านี้ไปจ่ายเข้าจอแสดงผล Display แสดงค่าเป็นน้ำหนักหรือแรงที่กระทำให้คนเห็นได้
ทำ Batching Control ฟังก์ชั่นครบด้วย Weighing Indicator + HMI = 22,940฿
การต่อใช้งาน BC360A1 กับหน้าจอ Touch Screen CR1000 และ CR3000 เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ใช้งาน สามารถแก้ไขได้โดยตรงผ่าน Smart Phone หรือ Tablet ทันที ทำให้มีทางเลือกเพิ่มขึ้นไปอีกในการเข้าถึงข้อมูลต่างในไลน์ผลิต
Batching Control ควบคุมปริมาณการจายวัตถุดิบโดยไม่ต้องใช้ PLC ค่าอุปกรแค่ 8,940 บาท
เราจะมาพูดถึงการชั่งน้ำหนักวัตถุดิบในกระบวนการผลิตที่ต้องการความแม่นยำและความถูกต้องในการชั่งเป็นอย่างมาก โดยการชั่งจะเป็นแบบ Batching Control ที่เป็นการเติมวัตถุดิบไปในถังชั่ง เมื่อได้ค่าที่ต้องการก็จะปล่อยวัตถุดิบออกไปยังกระบวนการต่อไป ถ้าคุณอยากรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการชั่งแบบนี้มากขึ้น สามารถอ่านได้จากบทความด้านล่างนี้เลยครับ
วิธีติดตั้ง Weighing Indicator เพิ่มการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
หัวใจสำคัญของการเลือกอุปกรณ์สำหรับใช้งานคือการติดตั้ง มาดูว่า Weighing Indicator ต้องติดตั้งอย่างไร เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีปัญหาตามมา พร้อมตัวอย่างารระบุขนาดการเจาะหน้าตู้และตัวอย่างการยึดหน้าจอกับหน้าตู้คอนโทรล
หลากหลายการประยุกต์ใช้งาน Weighing Indicator
การประยุกต์ใช้งาน Weighing Indicator เพื่อเป็นแนวทางการนำไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การเชื่อมต่อพอร์ตสื่อสาร RS-485 หรือการเชื่อมต่อใช้งานมิเตอร์กับ PLC HMI นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังเครื่องพิมพ์ได้อีกด้วย มาดูกันว่ามันทำได้อย่างไร
วิธีการเลือก Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก
การเลือก Weighing Indicator ไปใช้งานนั้นต้องดูปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาด Rated Output Signal, External Input, จำนวน Load cell สูงสุด, ไฟเลี้ยง, ขนาดในการติดตั้ง, สัญญาณเอาท์พุต, มาตรฐาน IP รวมถึงการทนต่อแรงสั่นสะเทือน
เข้าใจง่ายๆ กับโครงสร้างของ Weighing Indicator ที่คุณต้องรู้ไว้
แนะนำโครงสร้างของ Weighing Indicator ที่ควรจะเข้าใจก่อนการเลือกซื้อไปใช้งาน ซึ่งจะอธิบายการทำงานออกเป็น 8 ส่วน ที่มีความสำคัญ มาดูเลยว่าจะมีอะไรบ้าง
Weighing Indicator จอแสดงน้ำหนัก คืออะไร
การชั่งน้ำหนักนอกจากใช้โหลดเซลล์แล้ว เราจะต้องมี Weighing Indicator หรือ Load Cell Indicator มาใช้ควบคู่ด้วยเสมอ เพื่อใช้เป็นจอแสดงน้ำหนักที่วัดได้
การชั่งน้ำหนักของวัตถุดิบที่เติมเข้าในไซโลด้วยฟังก์ชัน Weigh IN ของ Weighing Indicator/Weighing Terminal BC360L2 แบรนด์ SYMC
Weight Controller BC360L2 สามารถป้องกันการสั่นสะเทือนได้ มี Menu F2.1 ไว้เลือกโหมดทำงาน ไม่ต้องใช้ PLC มาควบคุม ใช้แค่ตัวเดียวก็ควบคุมการทำงานได้หมด
หลักการทำงานที่น่าสนใจของ Weighing Indicator
ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า Weighing Indicator คุณไม่ควรที่จะพลาดเรื่องของการทำงานของ Weighing Indicator ไปอย่างเด็ดขาดเลย เพราะเป็นส่วนที่ช่วยให้คุณเลือกได้ง่ายขึ้น ตรงกับความต้องการมากขึ้น
การใช้งานเครื่องผสมวัตถุดิบ Mixing
โดยทั่วไปแล้วเครื่องผสมวัตถุดิบที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป จะมีอยู่ 4 ส่วนหลักๆ นั่นก็คือ ถังเก็บวัตถุดิบ เครื่องชั่ง ถังเก็บน้ำ และถังผสม แต่ละส่วนนี้มีความสำคัญอย่างไร และแต่ละส่วนนั้นมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง การทำงานของแต่ละส่วนนั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
จอแสดงผล HMI ในงานอุตสาหกรรมคอนกรีต
การผสมคอนกรีตที่เครื่องผสมจำเป็นต้องมีจอแสดงผล HMI เพื่อดูปริมาณวัตถุดิบต่างๆ แล้วจอ HMI มีการทำงานอย่างไร และมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด
การวัดค่าแรงดึงหรือแรงกดในกระบวนการผลิตสินค้า
ในกระบวกการผลิตสินค้าหรือตรวจสอบสินค้า ต้องมีการวัดค่าแรงดึงหรือแรงกดอยู่ในกระบวนการเหล่านี้อยู่เสมอ แล้วอุปกรณ์ชนิดใดที่จะวัดค่าเหล่านี้ได้ และมีการทำงานอย่างไร ตามไปดูกัน
งานชั่งน้ำหนักส่วนผสมวัตถุดิบในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
การชั่งส่วนผสมวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นปูนซีเมนต์ น้ำ หิน ทราย หรืออื่นๆ ให้ถูกต้องตามสัดส่วนเป็นสิ่งสำคัญมาก อุปกรณ์ตัวใดที่จะมาทำหน้าที่นี้กัน?
เครื่องชั่งดิจิตอล รุ่น EK-6000i แบรนด์ A&D
พบกับการแนะนำสินค้าที่น่าสนใจ เครื่องชั่งดิจิตอล Compact Balance รุ่น EK-6000i ของแบรนด์ A&D คุณจะเห็นว่าสินค้าตัวนี้มันน่าสนใจอย่างไร และเหมาะกับงานของคุณหรือเปล่า?
Load Cell ประยุกต์ใช้กับงานอะไรบ้าง ไปดูกัน
Load Cell สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะประยุกต์ใช้ในงานผสมปูนสำหรับคอนกรีตผสมเสร็จต่างๆ รวมทั้งการใช้เทสต์ความแข็งและแรงดึงของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก หรือแท่นปูนซีเมนต์ รวมทั้งนำไปใชัชั่งวัตถุดิบต่างๆ ได้อีกด้วย
Load Cell ไม่ได้ถูกออกแบบจาก Strain Gauge อย่างเดียว
Strain Gauge เป็นแบบโหลดเซลล์ที่พบมากที่สุด แต่ก็ยังพบเห็นดีไซน์อื่นได้อยู่ อาทิเช่น แบบ hydraulic และ pneumatic คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ Load Cell ไม่ได้ถูกออกแบบจาก Strain Gauge อย่างเดียว
สูตรง่ายๆ สำหรับคำนวณน้ำหนัก Load Cell
คุณเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับการคำนวณน้ำหนักสำหรับการเลือกจำนวนโหลดเซลล์หรือไม่ เพราะจำนวน Load Cell ที่ใช้ในการรับน้ำหนักไม่ว่าจะเป็นแรงกดหรือแรงดึงต้องเหมาะสม เรามีสูตรการคำนวณน้ำหนัก Load Cell ที่ง่ายๆ แค่อ่านก็ทำตามได้
สาเหตุที่ทำให้ Load Cell เสียและแนวทางการแก้ไข
ถ้าโหลดเซลล์ที่คุณใช้งานอยู่มีปัญหาบ่อยเกินไป คุณอาจจะต้องอ่านคู่มือของเราเกี่ยวกับ สาเหตุของโหลดเซลล์เสียหายหรือแตก
ประเภทของ Load Cell แบบสเตรนเกจ
โหลดเซลล์แบบสเตรนเกจมีหลากหลายรูปแบบที่ได้ออกแบบเฉพาะสำหรับงานที่่แตกต่างกัน คุณอาจจะเคยได้ยินโหลดเซลล์แบบ Shear Beam ที่ได้ออกแบบเฉพาะสำหรับงานแบบ Off-Center เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของโหลดเซลล์แบบสเตรนเกจได้ที่บทความของเรา
ง่ายมาก! สร้างเครื่องชั่งได้ด้วยตัวเองจาก Load Cell
การสร้างเครื่องชั่งใช้เองอย่างง่าย โดยใช้โหลดเซลล์ สำหรับงานชั่งน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม DIY ไม่ใช่ช่าง คุณก็สร้างเครื่องชั่งได้
คู่มือการเลือกใช้ Load Cell ให้ถูกต้อง
ในการเลือกใช้ตัวโหลดเซลล์นั้นเราจำต้องใช้ให้ถูกประเภทและใช้อุปกรณ์เสริมให้เหมาะสมเพื่อที่จะทำให้ วัดค่าได้อย่างแม่นยำไม่เสี่ยงต่อความเสียหายในขณะที่ใช้งาน ในบทความนี้เราจะพูดถึงปัจจัยที่ใช้ในการเลือกตัวโหลดเซลล์เพื่อทำให้คุณสามารถเลือกได้อย่างถูกต้อง