วิธีการเลือก Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก

Share this post

การเลือก Weighing Indicator ไปใช้งานนั้นต้องดูปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาด Rated Output Signal, External Input, จำนวน Load cell สูงสุด, ไฟเลี้ยง, ขนาดในการติดตั้ง, สัญญาณเอาท์พุต, มาตรฐาน IP รวมถึงการทนต่อแรงสั่นสะเทือน ในบทความจะอธิบายรายละเอียดการเลือกปัจจัยต่างๆ ไว้ ช่วยให้คุณสามารถเลือกไปใช้งานได้ง่ายขึ้น

คุณสามารถดูและเลือกซื้อ Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก ทั้งหมดหลายรุ่นที่ให้คุณซื้อได้ทันที หากมีข้อสงสัยทีมงาน Factomart ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านผ่านช่องทาง Live Chat ได้ทันทีครับ หรือถ้าสนใจอ่านข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมของ Weighing Indicator ติดตามได้จาก แหล่งรวมข้อมูล Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก ได้เลยครับ

ปัจจัยสำหรับเลือกใช้ Weighing Indicator

การเลือกใช้งานตัว Load Cell Indicator นั้นจะมีวิธีการเลือกตามการใช้งานที่ต้องการ โดยสามารถสรุปได้ดังนี้

ขนาด Rated Output Signal

ขนาดของ Rated Output Signal (mV/V) ของโหลดเซลล์ที่ต้องการเชื่อมต่อ ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะมีให้เลือกอยู่แล้ว เช่น 1mV/V, 2mV/V, 3mV/V ซึ่งยิ่งเซ็นเซอร์โหลดเซลล์ที่มีค่า Rated Output Signal (mV/V) จะยิ่งสามารถแสดงค่าได้ละเอียดมากขึ้น

External Input

External Input หรือช่องรับสัญญาณอินพุตที่สามารถตั้งฟังก์ชั่นการทำงานได้ว่า จะให้ทำหน้าที่เป็นอะไร เช่น เมื่อต่อกับ Push Button Switch เมื่อกดแล้วเป็นการ Set Zero หรือทำให้หน้าจอแสดงค่าเป็น 0 หรือกดเพื่อให้เป็นการ Tare ค่า

จำนวน Load cell สูงสุด

จำนวน Load cell สูงสุดที่สามารถต่อได้ เนื่องจาก Indicator บางยี่ห้ออาจจะรองรับ Load Cell ได้เพียงแค่ 1 ตัว ซึ่งกรณีที่ต้องการต่อ Load Cell หลายๆ ตัว ขนานกันเพื่อแบ่งน้ำหนักกัน ก็จะทำให้ไม่สามารถต่อใช้งานได้ ในการต่อ Load Cell มากกว่า 1 ตัว จะนิยมใช้ตัว Summing Box เพื่อเป็นตัวรวมสัญญาณก่อนเข้า Load Cell Indicator

ภาพ Summing Box ของ ZEGA สำหรับรวมสัญญาณ Load Cell จำนวน 4 ตัว

ไฟเลี้ยง Power Supply

ภาคจ่ายไฟสำหรับ Weighing Indicator นั้นโดยปกติจะนิยมใช้ค่าแรงดันที่เป็นมาตรฐานที่ใช้ในโรงงานอยู่แล้ว เช่น 110VAC หรือ 220VAC บางครั้งอาจจะมีการใช้ระดับแรงดันไฟฟ้าที่เป็น DC 24V เนื่องจากต้องการความปลอดภัยในการซ่อมบำรุงรักษา

ขนาดในการติดตั้ง

ขนาดในการติดตั้งหรือ Size ในการติดตั้ง load Cell Indicator บนแผงหน้าปัด หรือที่ตู้คอนโทรล ซึ่งโดยปกติแล้วในประเทศเรานั้นจะอ้างอิงกันที่มาตรฐาน DIN 43700 ซึ่งปัจจุบันมาตรฐานนี้ ถูกแทนที่ด้วยมาตรฐานใหม่คือ IEC 61554:2002-08 โดยจะเป็นขนาดของการเจาะรูบนแผงหน้าปัดเพื่อใส่ตัว Panel Meter ปัจจุบันขนาดที่มีใช้กันบ่อยๆ ได้แก่ขนาด 48*96mm และขนาด 98*184mm.

สัญญาณเอาท์พุต

สัญญาณเอาท์พุตของ Weighing Indicator นั้น โดยปกติแล้วจะเลือกใช้งานหรือไม่ก็ได้ขึ้นอยู่กับความจำเป็นในการใช้งาน เช่น ถ้าต้องการดูค่าอย่างเดียวก็ไม่จำเป็นต้องเลือกใช้งาน แต่สำหรับบางครั้งต้องการส่งสัญญาณไปยัง PLC อาจจะเลือกรุ่นที่สามารถส่งสัญญาณ 0-10VDC หรือ 4-20mA ก็ได้ แต่ถ้าต้องการสื่อสารสัญญาณเป็นแบบดิจิตอล เพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำและถูกต้อง

การเลือกสัญญาณเอาท์พุตเป็นแบบ RS-485 เพื่อให้ส่งสัญญาณได้ไกล และใช้ Protocol MODBUS ในการสื่อสารข้อมูล นอกจากการส่งสัญญาณที่เป็นอนาล็อกหรือดิจิตอลแล้ว ยังมีสัญญาณเอาท์พุตที่เป็นแบบ On-Off ซึ่งทำงานเป็นแบบ Relay โดยจะมีสถานะในการตรวจจับสัญญาณได้ เช่น สัญญาณต่ำกว่าที่กำหนด Low Limit สัญญาณสูงกว่าที่กำหนด High Limit สัญญาณอยู่ระหว่างสูงและต่ำ

ภาพตัวอย่าง Load Cell Indicator ที่สามารถเพิ่มการ์ดเอาท์พุตได้ ของ RedLion รุ่น PAXS

มาตรฐาน IP

มาตรฐานการป้องกันฝุ่นและน้ำ IP ในการเลือกใช้งาน Load Cell Indicator โดยส่วนใหญ่จะต้องถูกติดตั้งในบริเวณที่ต้องการชั่งน้ำหนัก ซึ่งจะมีปัญหาเรื่องฝุ่น ดังนั้นควรเลือก Indicator ที่มีการปิดมิดชิด โดยมี IP สูงๆ

การทนต่อแรงสั่นสะเทือน

หลายๆ ครั้งที่ปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากสายหลุด หรือน็อตคลายตัวจากแรงสั่นสะเทือนของมอเตอร์ หรือสายพานลำเลียง ดังนั้น จุดเชื่อมต่อสายไฟต่างๆ ถ้าใช้เป็นแบบ Terminal Spring ก็จะช่วยแก้ปัญหาเหล่านี้ได้

คุณสามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก ได้จากหน้าร้านออนไลน์ของเราได้เลย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

บทความที่เกี่ยวข้อง

Facebook Comments