แนะนำโครงสร้างของ Weighing Indicator ที่ควรจะเข้าใจก่อนการเลือกซื้อไปใช้งาน เพื่อให้เข้าใจถึงภายในของอุปกรณ์กันก่อน บทความนี้จะอธิบายการทำงานของโครงสร้างที่แบ่งออกเป็น 8 ส่วนที่มีความสำคัญ มาดูเลยว่าจะมีอะไรบ้าง
คุณสามารถดูและเลือกซื้อ Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก ทั้งหมดหลายรุ่นที่ให้คุณซื้อได้ทันที หากมีข้อสงสัยทีมงาน Factomart ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านผ่านช่องทาง Live Chat ได้ทันทีครับ หรือถ้าสนใจอ่านข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมของ Weighing Indicator ติดตามได้จาก แหล่งรวมข้อมูล Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก ได้เลยครับ
โครงสร้างพื้นฐานของ Weighing Indicator
ในส่วนนี้จะเป็นการอธิบายโครงสร้างของ Load Cell Indicator ซึ่งจะอธิบายการทำงานของส่วนต่างๆ ออกเป็น 8 ส่วน ซึ่งเป็นส่วนที่มีความสำคัญ และมีรายละเอียดต่างๆ ดังนี้

ภาคอินพุต Input
มีหน้าที่ในการรับสัญญาณไฟฟ้าที่ได้มาจากเซ็นเซอร์ โดยสัญญาณที่ได้จะแปรเปลี่ยนค่าตามน้ำหนักที่กระทำกับโหลดเซลล์ หรือที่เรียกว่า Reted Output mV/V ตัวอย่างเช่น Load Cell Capacity 100kg, Rated Output 2mv/V มีความหมายว่าเมื่อเราจ่ายแรงดัน Excitation Voltage = 10VDC สัญญาณเอาท์พุตของ Load Cell สูงสุดจะมีค่าเท่ากับ 2mV*10V = 20mV ที่น้ำหนักสูงสุด 100kg ดังนั้นเมื่อมีแรงมากระทำกับโหลดเซลล์ตัวนี้ = 50kg ค่าแรงดันที่จะเข้ามาที่ภาคอินพุตนี้จะมีค่า = 10mV นั่นเอง

ภาพการรับสัญญาณอินพุตสูงสุดของ Load Cell Indicator PAXS ของ RedLion
ภาคขยายสัญญาณ Amplifier
เป็นส่วนที่ทำหน้าที่ในการขยายสัญญาณต่างๆ ที่รับมาจากภาคอินพุต เนื่องจากสัญญาณที่รับเข้ามาบางประเภทอาจจะมีขนาดเล็กมากๆ ทำให้ยากต่อการนำไปใช้งาน หรือประมวลผล เช่น สัญญาณจาก Load Cell, Strain Gauge โดยจะนิยมใช้วงจรขยาย Instrument Ampliifier หรือวงจร Differential Amplifier ในการขยายสัญญาณ
ภาคแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล A/D convertor
ทำหน้าที่ในการแปลงสัญญาณอนาล็อกที่ใช้จากวงจรขยาย ให้เป็นสัญญาณดิจิตอล เพื่อใช้ในการประมวลผลสัญญาณ เนื่องจากตัวประมวลผลสัญญาณ จะใช้สัญญาณดิจิตอลในการประมวลผลเท่านั้น ตัวอย่างเช่น Load Cell Indicator ซึ่งเป็น Panel Meter ที่นิยมใช้วงจร A/D Convertor แบบ Delta Sigma แบบ 24bits
ภาคแปลงสัญญาณดิจิตอลเป็นอนาล็อก D/A convertor
เป็นวงจรที่ทำหน้าที่กลับกันกับภาคแปลงสัญญาณอนาล็อกเป็นดิจิตอล A/D convertor โดยจะทำการแปลงสัญญาณที่ได้จากการประมวลผลแล้ว เป็นสัญญาณอนาล็อก เช่น 0-10VDC หรือ 4-20mA เพื่อใช้ Retransmission สัญญาณอินพุต ให้กับตัวคอนโทรลเลอร์อื่นๆ หรือเครื่องบันทึกข้อมูลเช่น Recorder
ภาคประมวลผล Processing
เป็นหัวใจหลักของตัวมิเตอร์ที่ทำหน้าที่ในการจัดการข้อมูลต่างๆ ที่ได้รับมา ให้เป็นไปตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้งานป้อนเอาไว้ เช่น ความละเอียดที่ต้องการ ความไวในการแสดงผล หรือการสเกลค่าแสดงผลที่หน้าจอ
ภาคแสดงผล Indicator
เป็นส่วนที่ใช้ในการสื่อสารกับผู้ใช้งาน โดยทำหน้าที่ในการนำค่าที่ได้จากการประมวลผลมาแสดงให้อยู่ในรูปของภาษาที่เข้าใจได้โดยง่าย เช่น ตัวเลขดิจิตอล หรือ ตัวอักษรภาษาอังกฤษ โดยประเภทของหน้าจอแสดงผลที่มีใช้อยู่ในปัจจุบันนั้นจะมีอยู่ 3 แบบ คือ แบบที่เป็น LED แบบหลอด VFD ซึ่งจะแสดงเป็นสีเขียว และแบบที่เป็น LCD โดยแบบที่เป็น LCD จะต้องมี Back Light ช่วยในการทำงานถึงจะทำให้สามารถมองเห็นค่าได้ในที่มืด
แหล่งจ่ายไฟ Power Supply
ในมิเตอร์นั้นจะมีส่วนที่เป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงอยู่ 2 ส่วน คือส่วนที่เป็นไฟเลี้ยงวงจรภายในตัวมิเตอร์เอง ซึ่งจำเป็นต้องมีอยู่ และอีกส่วนเป็นแหล่งจ่ายไฟเลี้ยง AUX, External หรือวงจรไฟเลี้ยงสำหรับอุปกรณ์ภายนอก เช่น Load Cell ซึ่งโดยส่วนใหญ่จะเป็นแรงดัน 5VDC หรือ 10VDC
ภาคเอาท์พุต
เป็นส่วนที่ใช้ในการส่งสัญญาณที่ได้จากการประมวลผล เพื่อใช้ในการควบคุมหรือนำไปประมวลผลต่อ โดยตัวอย่างของสัญญาณที่ได้นั้นได้แก่ สัญญาณเป็น Relay ซึ่งจะใช้ในการควบคุม สัญญาณอนาล็อกเอาท์พุต เช่น 0-10VDC, 4-20mA นอกจากนี้ยังมีสัญญาณเอาท์พุตที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอกที่เป็น Computer Software, PLC, DCS, SCADA เช่น RS-485, RS-232, PROFIBUS และอื่นๆ โดยจะมี Protocol ที่ใช้ในการคุยกันระหว่างคอนโทรลเลอร์ เช่น MODBUS, DNP3
คุณสามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก ได้จากหน้าร้านออนไลน์ของเราได้เลย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ
บทความที่เกี่ยวข้อง
โหลดเซลล์ (Load Cell) คืออะไร ? มาหาคำตอบกัน
โหลดเซลล์ (Load Cell) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนจากแรงหรือน้ำหนักที่กระทำต่อตัวโหลดเซลล์ เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ทางเราสามารถนำสัญญาณทางไฟฟ้านี้ไปจ่ายเข้าจอแสดงผล Display แสดงค่าเป็นน้ำหนักหรือแรงที่กระทำให้คนเห็นได้
ทำ Batching Control ฟังก์ชั่นครบด้วย Weighing Indicator + HMI = 22,940฿
การต่อใช้งาน BC360A1 กับหน้าจอ Touch Screen CR1000 และ CR3000 เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ใช้งาน สามารถแก้ไขได้โดยตรงผ่าน Smart Phone หรือ Tablet ทันที ทำให้มีทางเลือกเพิ่มขึ้นไปอีกในการเข้าถึงข้อมูลต่างในไลน์ผลิต
Batching Control ควบคุมปริมาณการจายวัตถุดิบโดยไม่ต้องใช้ PLC ค่าอุปกรแค่ 8,940 บาท
เราจะมาพูดถึงการชั่งน้ำหนักวัตถุดิบในกระบวนการผลิตที่ต้องการความแม่นยำและความถูกต้องในการชั่งเป็นอย่างมาก โดยการชั่งจะเป็นแบบ Batching Control ที่เป็นการเติมวัตถุดิบไปในถังชั่ง เมื่อได้ค่าที่ต้องการก็จะปล่อยวัตถุดิบออกไปยังกระบวนการต่อไป ถ้าคุณอยากรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการชั่งแบบนี้มากขึ้น สามารถอ่านได้จากบทความด้านล่างนี้เลยครับ
วิธีติดตั้ง Weighing Indicator เพิ่มการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
หัวใจสำคัญของการเลือกอุปกรณ์สำหรับใช้งานคือการติดตั้ง มาดูว่า Weighing Indicator ต้องติดตั้งอย่างไร เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีปัญหาตามมา พร้อมตัวอย่างารระบุขนาดการเจาะหน้าตู้และตัวอย่างการยึดหน้าจอกับหน้าตู้คอนโทรล
หลากหลายการประยุกต์ใช้งาน Weighing Indicator
การประยุกต์ใช้งาน Weighing Indicator เพื่อเป็นแนวทางการนำไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การเชื่อมต่อพอร์ตสื่อสาร RS-485 หรือการเชื่อมต่อใช้งานมิเตอร์กับ PLC HMI นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังเครื่องพิมพ์ได้อีกด้วย มาดูกันว่ามันทำได้อย่างไร
วิธีการเลือก Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก
การเลือก Weighing Indicator ไปใช้งานนั้นต้องดูปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาด Rated Output Signal, External Input, จำนวน Load cell สูงสุด, ไฟเลี้ยง, ขนาดในการติดตั้ง, สัญญาณเอาท์พุต, มาตรฐาน IP รวมถึงการทนต่อแรงสั่นสะเทือน
เข้าใจง่ายๆ กับโครงสร้างของ Weighing Indicator ที่คุณต้องรู้ไว้
แนะนำโครงสร้างของ Weighing Indicator ที่ควรจะเข้าใจก่อนการเลือกซื้อไปใช้งาน ซึ่งจะอธิบายการทำงานออกเป็น 8 ส่วน ที่มีความสำคัญ มาดูเลยว่าจะมีอะไรบ้าง
Weighing Indicator จอแสดงน้ำหนัก คืออะไร
การชั่งน้ำหนักนอกจากใช้โหลดเซลล์แล้ว เราจะต้องมี Weighing Indicator หรือ Load Cell Indicator มาใช้ควบคู่ด้วยเสมอ เพื่อใช้เป็นจอแสดงน้ำหนักที่วัดได้
การชั่งน้ำหนักของวัตถุดิบที่เติมเข้าในไซโลด้วยฟังก์ชัน Weigh IN ของ Weighing Indicator/Weighing Terminal BC360L2 แบรนด์ SYMC
Weight Controller BC360L2 สามารถป้องกันการสั่นสะเทือนได้ มี Menu F2.1 ไว้เลือกโหมดทำงาน ไม่ต้องใช้ PLC มาควบคุม ใช้แค่ตัวเดียวก็ควบคุมการทำงานได้หมด
หลักการทำงานที่น่าสนใจของ Weighing Indicator
ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า Weighing Indicator คุณไม่ควรที่จะพลาดเรื่องของการทำงานของ Weighing Indicator ไปอย่างเด็ดขาดเลย เพราะเป็นส่วนที่ช่วยให้คุณเลือกได้ง่ายขึ้น ตรงกับความต้องการมากขึ้น
การใช้งานเครื่องผสมวัตถุดิบ Mixing
โดยทั่วไปแล้วเครื่องผสมวัตถุดิบที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป จะมีอยู่ 4 ส่วนหลักๆ นั่นก็คือ ถังเก็บวัตถุดิบ เครื่องชั่ง ถังเก็บน้ำ และถังผสม แต่ละส่วนนี้มีความสำคัญอย่างไร และแต่ละส่วนนั้นมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง การทำงานของแต่ละส่วนนั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
จอแสดงผล HMI ในงานอุตสาหกรรมคอนกรีต
การผสมคอนกรีตที่เครื่องผสมจำเป็นต้องมีจอแสดงผล HMI เพื่อดูปริมาณวัตถุดิบต่างๆ แล้วจอ HMI มีการทำงานอย่างไร และมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด
การวัดค่าแรงดึงหรือแรงกดในกระบวนการผลิตสินค้า
ในกระบวกการผลิตสินค้าหรือตรวจสอบสินค้า ต้องมีการวัดค่าแรงดึงหรือแรงกดอยู่ในกระบวนการเหล่านี้อยู่เสมอ แล้วอุปกรณ์ชนิดใดที่จะวัดค่าเหล่านี้ได้ และมีการทำงานอย่างไร ตามไปดูกัน
งานชั่งน้ำหนักส่วนผสมวัตถุดิบในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
การชั่งส่วนผสมวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นปูนซีเมนต์ น้ำ หิน ทราย หรืออื่นๆ ให้ถูกต้องตามสัดส่วนเป็นสิ่งสำคัญมาก อุปกรณ์ตัวใดที่จะมาทำหน้าที่นี้กัน?
เครื่องชั่งดิจิตอล รุ่น EK-6000i แบรนด์ A&D
พบกับการแนะนำสินค้าที่น่าสนใจ เครื่องชั่งดิจิตอล Compact Balance รุ่น EK-6000i ของแบรนด์ A&D คุณจะเห็นว่าสินค้าตัวนี้มันน่าสนใจอย่างไร และเหมาะกับงานของคุณหรือเปล่า?
Load Cell ประยุกต์ใช้กับงานอะไรบ้าง ไปดูกัน
Load Cell สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะประยุกต์ใช้ในงานผสมปูนสำหรับคอนกรีตผสมเสร็จต่างๆ รวมทั้งการใช้เทสต์ความแข็งและแรงดึงของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก หรือแท่นปูนซีเมนต์ รวมทั้งนำไปใชัชั่งวัตถุดิบต่างๆ ได้อีกด้วย
Load Cell ไม่ได้ถูกออกแบบจาก Strain Gauge อย่างเดียว
Strain Gauge เป็นแบบโหลดเซลล์ที่พบมากที่สุด แต่ก็ยังพบเห็นดีไซน์อื่นได้อยู่ อาทิเช่น แบบ hydraulic และ pneumatic คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ Load Cell ไม่ได้ถูกออกแบบจาก Strain Gauge อย่างเดียว
สูตรง่ายๆ สำหรับคำนวณน้ำหนัก Load Cell
คุณเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับการคำนวณน้ำหนักสำหรับการเลือกจำนวนโหลดเซลล์หรือไม่ เพราะจำนวน Load Cell ที่ใช้ในการรับน้ำหนักไม่ว่าจะเป็นแรงกดหรือแรงดึงต้องเหมาะสม เรามีสูตรการคำนวณน้ำหนัก Load Cell ที่ง่ายๆ แค่อ่านก็ทำตามได้
สาเหตุที่ทำให้ Load Cell เสียและแนวทางการแก้ไข
ถ้าโหลดเซลล์ที่คุณใช้งานอยู่มีปัญหาบ่อยเกินไป คุณอาจจะต้องอ่านคู่มือของเราเกี่ยวกับ สาเหตุของโหลดเซลล์เสียหายหรือแตก
ประเภทของ Load Cell แบบสเตรนเกจ
โหลดเซลล์แบบสเตรนเกจมีหลากหลายรูปแบบที่ได้ออกแบบเฉพาะสำหรับงานที่่แตกต่างกัน คุณอาจจะเคยได้ยินโหลดเซลล์แบบ Shear Beam ที่ได้ออกแบบเฉพาะสำหรับงานแบบ Off-Center เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของโหลดเซลล์แบบสเตรนเกจได้ที่บทความของเรา
ง่ายมาก! สร้างเครื่องชั่งได้ด้วยตัวเองจาก Load Cell
การสร้างเครื่องชั่งใช้เองอย่างง่าย โดยใช้โหลดเซลล์ สำหรับงานชั่งน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม DIY ไม่ใช่ช่าง คุณก็สร้างเครื่องชั่งได้
คู่มือการเลือกใช้ Load Cell ให้ถูกต้อง
ในการเลือกใช้ตัวโหลดเซลล์นั้นเราจำต้องใช้ให้ถูกประเภทและใช้อุปกรณ์เสริมให้เหมาะสมเพื่อที่จะทำให้ วัดค่าได้อย่างแม่นยำไม่เสี่ยงต่อความเสียหายในขณะที่ใช้งาน ในบทความนี้เราจะพูดถึงปัจจัยที่ใช้ในการเลือกตัวโหลดเซลล์เพื่อทำให้คุณสามารถเลือกได้อย่างถูกต้อง