โดยปกติแล้ว Batching คอนโทรลทำด้วย PLC ต้องมีค่าอุปกรณ์และค่าโปรแกรมด้วย งบประมาณโดยรวมไม่ต่ำกว่า 1 แสนบาทแน่นอน
ด้วยนวัตกรรมในการชั่งน้ำหนักแบบใหม่ทำให้มีหน้าจอชั่งน้ำหนักที่มีฟังก์ชั่นพิเศษสำหรับ Batching Control โดยเฉพาะซึ่งเหมาะกับการชั่งน้ำหนักวัตถุดิบในกระบวนการผลิต สามารถทำให้คุณเลือกใช้ฟังก์ชั่นและตั้งค่าต่างๆ อย่าง ‘free fall’ หรือเลือกใช้ formulas ที่ได้ถูกบันทึกในตัว Weighing Indicator แบบ DIY (Do It Yourself) ไม่ต้องง้อการเขียนโปรแกรมบน PLC อีกต่อไป
หากมีข้อสงสัยทีมงาน Factomart ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านผ่านช่องทาง Live Chat ได้ทันทีครับ หรือถ้าสนใจอ่านข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมของ Weighing Indicator ติดตามได้จาก แหล่งรวมข้อมูล Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก
การชั่งน้ำหนักแบบ Batching Control
เราจะพูดถึงการชั่งน้ำหนักของวัตถุดิบในกระบวนการผลิต ซึ่งเป็นขั้นตอนที่สำคัญ เพราะความถูกต้องและแม่นยำของการชั่งน้ำหนักของวัตถุดิบในขั้นตอนนี้จะมีผลกับคุณภาพและต้นทุนของสินค้าที่ผลิตออกมา
การชั่งน้ำหนักในรูปแบบนี้ เราจะเลือกน้ำหนักของวัตถุดิบตามที่ตั้งไว้ ก็จะหยุดเติม หลังจากนั้นก็จะปล่อยวัตถุดิบออกจากถังชั่งเพื่อไปใช้ในขั้นตอนถัดไปของกระบวนการว่า การชั่งน้ำหนักแบบ Batching Control คือ การเติมวัตถุดิบไปในถังชั่ง เมื่อได้ค่าผลิต โดยที่การชั่งวัตถุดิบแบบ Batching Control นี้ สามารถชั่งวัตถุดิบได้มากกว่า 1 วัตถุดิบตามรูปที่ 1 ขึ้นอยู่กับกระบวนการผลิตนั้นๆ

รูปที่ 1 การชั่งน้ำหนักวัตถุดิบมากกว่า 1 วัตถุดิบแบบ Batching Control
การทำ Batch Controller โดยใช้ PLC กับแบบที่ไม่จำเป็นต้องใช้ PLC
ทำ Batching Control โดยใช้ PLC Programming
สำหรับการชั่งน้ำหนักในรูปแบบนี้จะใช้หน้าจอเครื่องชั่งทั่วๆ ไป ต่อใช้งานร่วมกับ PLC ที่เขียนโปรแกรมการสั่งงานให้เติมและปล่อยวัตถุดิบตามขั้นตอนการทำงานแบบ Batching

รูปที่ 2 การชั่งน้ำหนักแบบ Batching Control ที่ใช้หน้าจอเครื่องชั่งทั่วไปควบคุมการทำงานร่วมกับ PLC
ทำ Batching Control โดยใช้ PLC Programming
89,200฿ – 109,200฿
- PLC = 20,000-30,000
- Programing = 40,000-50,000
- Panel meter = 10,000
- Load Cell x4 = 3,000
- Touch Screen or Computer = 15,000
- Power Supply = 1,200
สำหรับการชั่งน้ำหนักในรูปแบบนี้จะมีการนำ Weighing Terminal มาใช้ในงานชั่งน้ำหนัก Batching Control

รูปที่ 3 การชั่งน้ำหนักแบบ Batching Control ที่ใช้ Weighing Terminal ควบคุมการทำงาน
ทำ Batching Control โดยใช้ BC360A1 Weighing Indicator แบรนด์ SYMC
28,140฿!!!
- BC360A1 weighing indicator = 8,940
- Touch Screen = 15,000
- Load Cell x4 = 3,000
- Power Supply = 1,200
สำหรับการใช้งานแบบที่ 1 ถ้าต่อไปหากผู้ใช้งานต้องการแก้ไขค่าน้ำหนักต่างๆ จากเดิมที่โปรแกรม PLC กำหนดไว้ ถ้าผู้ใช้งานเป็นคนเขียนโปรแกรมเองก็ไม่ป็นไร แต่ก็ยังต้องใช้เวลาในการแก้ไขโปรแกรมอยู่ดี ถ้าผู้ใช้งานไม่ได้เป็นคนเขียนโปรแกรมเอง ก็จะต้องเรียกทาง Programmer เข้ามาทำการแก้ไขให้ ซึ่งก็จะต้องเสียทั้งค่าใช้จ่ายและเวลาในการแก้ไขโปรแกรม แต่ถ้าใครก็ตามที่เลือกใช้งานในแบบที่ 2 ผู้ใช้งานสามารถแก้ไขค่าน้ำหนักต่างๆ ได้ด้วยตัวเอง ทำให้ประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย
ไม่มีหน้าจอชั่งน้ำหนักอื่นที่ราคาต่ำกว่า 20,000++ บาทที่สามารถทำได้ ประหยัดเวลาโปรแกรม (set ฟังก์ชั่นแค่ 15-30นาที) และประหยัดค่าใช้จ่าย (6-7 หมื่นบาท)
หน้าจอชั่งน้ำหนักสำหรับ Batching Contro Weighing Terminal รุ่น BC360A1 ของ SYMC
- เลือกใช้ฟังก์ชั่นแบบ DIY ที่ไม่ต้องจ้างคนเขียนโปรแกรมหรือเสียเวลากับ PLC
- ชั่งวัตถุดิบได้ ถึง4 วัตถุดิบ
- ไม่มีหน้าจอชั่งน้ำหนักอื่นที่ราคาต่ำกว่า 20,000++ บาทที่สามารถทำได้
- ประหยัดเวลาโปรแกรม (set ฟังก์ชั่นแค่ 5-10นาที) และประหยัดค่าใช้จ่าย (6-7 หมื่นบาท)
- สามารถตั้งค่าที่ต้องการของแต่ละวัตถุดิบที่ต้องการชั่งได้เลย ปกติแล้วหน้าจอธรรมดาจะใช้วิธีการบวกขึ้นไ
- เรื่อยๆ อาทิเช่นวัตถุดิบ ก. 12kg วัตถุดิบ ข. 14.5kg และวัตถุดิบ ค. 7kg ต้อง set แบบบวกขึ้นไป (12 -> 26.5 -> 33.5) ทำให้สับสน
- บันทึกสูตรการผลิตได้ถึง 10 สูตร ไม่ต้องเสียเวลามานั่งจำสูตรและแก้ไข Setpoint ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนสูตรส่วนผสม
- ไม่เสี่ยงต่อความผิดพลาด
- ขจัดปัญหาน้ำหนักของวัตถุดิบที่เติมเกินค่าที่ตั่งไว้ ด้วยการ ติมวัตถุดิบแบบ 2 Step ด้วยวาล์ว 2 ตัวตัวนึงตัวใหญ่ตัวหนึ่งตัวเล็ก เมื่อเติมได้ ใกล้จะเต็มก็สั่งปิดวาล์วตัวใหญ่ 1 ตัวและเหลือวาล์วตัวเล็กเพียง 1 ที่ค่อยๆเติมให้ถึง 100%
- ตั้งค่ารองรับ Free fall ที่คำนึงถึงวัตถุดิบที่ยังอยู่ในท่อตอนที่ปิดวาล์ว.
- พิมพ์รายงานในการผลิตเอามาทำ QC หรือนับสต๊อกของวัตถุดิบที่เหลือหลังจากการผลิต
1. ทำงานแบบ Batching Control โดยไม่ต้องใช้ PLC
เลือกใช้ฟังก์ชั่นแบบ DIY ที่ไม่ต้องจ้างคนเขียนโปรแกรมหรือเสียเวลากับ PLC หรือ interlock circuit ชั่งวัตถุดิบได้ ถึง4 วัตถุดิบ ไม่มีหน้าจอชั่งน้ำหนักอื่นที่ราคาต่ำกว่า 20,000++ บาทที่สามารถทำได้ ประหยัดเวลาโปรแกรม (set ฟังก์ชั่นแค่ 15-30นาที) และประหยัดค่าใช้จ่าย (6-7 หมื่นบาท)

รูปที่ 5 การใช้ BC360A1 ควบคุมการชั่งน้ำหนักแบบ Batching Control โดยไม่ต้องใช้ PLC
ตัวอย่างการทำงานของหน้าจอชั่งน้ำหนัก BC360A1 Weighing Indicator
Auto Feed/Auto Dump
Auto Feed/Semi Auto Dump
2. ตั้งค่า Target ของแต่ละวัตถุดิบที่ต้องการชั่งได้
สามารถตั้งค่าที่ต้องการของแต่ละวัตถุดิบที่ต้องการชั่งได้เลย ปกติแล้วหน้าจอธรรมดาจะใช้วิธีการบวกขึ้นไปเรื่อยๆ อาทิเช่นวัตถุดิบ ก. 12kg วัตถุดิบ ข. 14.5kg และวัตถุดิบ ค. 7kg ต้อง set แบบบวกขึ้นไป (12 -> 16.5 -> 24.5) ทำให้สับสน ถ้าใช้ BC360A1 weighting indicator ก้อ set 12, 14.5, 7 ไปเลยไม่เสี่ยงต่อความผิดพลาดที่เกิดขึ้นจากคน และยังประหยัดเวลาอีกด้วย
Panel Meter ธรรมดา



วัตถุดิบที่ 1 ที่ต้องการชั่งคือ 10kg เราก็จะต้องตั้ง SP1 = 10kg เพื่อให้ Output1 ทำงาน
วัตถุดิบที่ 2 ที่ต้องการชั่งคือ 20kg เราก็จะต้องตั้ง SP2 = 30kg เพื่อให้ Output2 ทำงาน
วัตถุดิบที่ 3 ที่ต้องการชั่งคือ 15kg เราก็จะต้องตั้ง SP3 = 45kg เพื่อให้ Output3 ทำงาน
วัตถุดิบที่ 4 ที่ต้องการชั่งคือ 25kg เราก็จะต้องตั้ง SP4 = 70kg เพื่อให้ Output4 ทำงาน
และ Output 1-4 ก็จะทำงานตลอดจนกว่าค่าน้ำหนักจะลดลงต่ำกว่าค่า SP ที่ตั้งไว้ ซึ่งการถ้าเราต้องการทำงานในลักษณะ Batching Control คือเมื่อเติมวัตถุดิบได้ตามค่าที่ตั้งไว้ก็สั่งหยุด แล้วไปสั่งเติมวัตถุดิบถัดไป เราจะต้องต่อวงจร Control หรือเขียนโปรแกรม PLC เพื่อให้ทำงานตามขั้นตอนของ Batching Control ซึ่งเป็นเรื่องที่ยุ่งยาก
หน้าจอชั่งน้ำหนัก BC360A1

สามารถตั้งค่า Target ของแต่ละวัตถุดิบที่ต้องการชั่งได้เลย โดยไม่ต้องรวมค่า Target ของวัตถุดิบที่ตั้งก่อนหน้าตามรูปที่ 8 และสามารถทำงานตามขั้นตอนของ Batching Control ได้เลย ตามรูปที่ 9 ทำให้การชั่งมีความแม่นยำมากขึ้น

3. บันทึกสูตรการผลิตของส่วนผสมต่างๆ ได้ถึง 10 สูตร

รูปที่ 10 บันทึกสูตรส่วนผสมของแต่ละวัตถุดิบได้สูงสุด 10 สูตร
บันทึกสูตรการผลิตได้ถึง 10 สูตร ซึ่งแต่ก่อนสามารถทำได้ด้วย อุปกรณ์ราคาแพงเท่านั้น การที่ไม่สามารถบันทึกและเปลี่ยนสูตรได้ทันทีอาจจะต้องใช้เวลาในการเปลี่ยนสูตร ถึง 30 นาที ในการเซ็ตอัพใหม่ทุกครั้ง เสี่ยงต่อความผิดพลาดอีกด้วย
4. ตั้งจำนวน Batch ในการชั่งได้

เราสามารถตั้งจำนวน Batch ในการชั่งได้ เช่น ถ้าเราต้องการชั่งทั้งหมด 15 Batch เราก็สามารถตั้งค่า Batch ในการทำงานได้เลย โดยไม่ต้องเสียเวลามาคอยจดว่าทำงานไปแล้วกี่ Batch ครบตามจำนวน Batch ที่ต้องการแล้วหรือยัง เมื่อเครื่องทำงานครบ 15 Batch ตามที่ตั้งไว้ เครื่องก็จะหยุดการทำงาน เมื่อต้องการทำงานใหม่ เราก็สามารถ Reset และตั้งค่า Batch ใหม่ได้
5. เลือกการ ตัด-ต่อ วาล์วในการเติมวัตถุดิบได้ 2 Step

เปิดวาล์วทั้ง 2 ตัวเพื่อการเติมที่รวดเร็๋ว

ปิดวาล์วแค่ตัวเล็กสำหรับการเติมที่แม่นยำ
ขจัดปัญหาน้ำหนักของวัตถุดิบที่เติมเกินค่าที่ตั่งไว้ ด้วยการ ตัด-ต่อ วาล์วในการเติมวัตถุดิบแบบ 2 Step คือเติมด้วยวาล์ว 2 ตัวตัวนึงตัวใหญ่ตัวหนึ่งตัวเล็ก เมื่อเติมได้ ใกล้จะเต็มก็สั่งปิดวาล์วตัวใหญ่ 1 ตัวและเหลือวาล์วตัวเล็กเพียง 1 ที่ค่อยๆเติมให้ถึง 100% ได้อย่างแม่นยำ ทำให้ผสมสูตรได้อย่างแม่นยำคุณภาพการผลิตยอดเยี่ยมเป็นที่พึ่งพอใจของลูกค้า
6. สามารถตั้งค่า Free Fall หรือ Spill

ตั้งค่ารองรับ Free fall ที่คำนึงถึงวัตถุดิบที่ยังอยู่ในท่อตอนที่ปิดวาล์ว. ทำให้ผสมสูตรได้อย่างแม่นยำคุณภาพการผลิตยอดเยี่ยมเป็นที่พึ่งพอใจของลูกค้า
หลังจากที่ปิดวาล์ว เมื่อน้ำหนักที่ชั่งได้ถึงค่าที่ตั้งไว้ จะมีวัตถุดิบส่วนหนึ่งที่ลอยอยู่ในอากาศก่อนตกลงไปในถังชั่ง ซึ่งส่วนนี้จะเป็นส่วนที่ทำให้ค่าน้ำหนักที่ชั่งได้เกินค้าที่ตั้งไว้ BC360A1 จะมีฟังก์ชันในการตั้งค่าที่จะสั่งปิดวาล์วก่อนถึงค่าที่ตั้งไว้ และพอน้ำหนักส่วนที่ลอยอยู่ก่อนตกลงไปในถังชั่งไปรวมกับน้ำหนักในถังชั่งก็จะได้ค่าน้ำหนักเท่ากับค่าที่ตั้งไว้พอดี
7. พิมพ์รายงานผลการชั่งน้ำหนัก

พิมพ์รายงานในการผลิตเอามาทำ QC หรือนับสต๊อกของวัตถุดิบที่เหลือหลังจากการผลิต
กรณีที่เราต้องการทราบน้ำหนักของวัตถุดิบแต่ละ Batch และผลรวมของน้ำหนักวัตถุดิบทั้งหมดที่ใช้ไป เพื่อใช้จัดทำรายงานสรุปผลการใช้วัตถุดิบในแต่ละวัน เราอาจจะใช้วิธีการให้ผู้ใช้งานจดบันทึกซึ่งมีโอกาสผิดพลาดสูง หรือใช้คอมพิวเตอร์ต่อพ่วงและเขียนโปรแกรมเพื่อสั่งพิมพ์รายงานผลการชั่ง ซึ่งต้องใช้ Programmer ในการเขียนโปรแกรม และมีค่าใช้จ่ายสูง
ใครก็ตามที่เลือกใช้งาน BC360A1 สามารถสั่งพิมพ์รายงานผลการชั่งน้ำหนักของวัตถุดิบในแต่ละ Batch และผลรวมของน้ำหนักที่ชั่งได้ของแต่ละวัตถุดิบ โดยต่อเข้ากับเครื่องพิมพ์ได้โดยตรงตามรูปที่ 15 และ 16

การชั่งน้ำหนักแบบ Batching Control ต้องมีการใช้ PCL เข้ามาช่วยควบคุม เพื่อลดความยุ่งยากในส่วนนี้ Weighing Terminal รุ่น BC360A1 ของ SYMC เหมาะกับผู้ที่ต้องการลดค่าใช้จ่ายด้านโปรแกรม DIY ได้ด้วยตัวเอง BC360A1 ยังสามารถตั้งค่า Target ของแต่ละวัตถุดิบ, บันทึกสูตรการชั่งได้ถึง 10 สูตร, ตั้งจำนวน Batch, ตัดต่อวาวล์ในการเติมวัตถุดิบได้ 2 Step และยังสามารถพิมพ์ออกมาเป็นเอกสารได้อีกด้วย
กรอกฟอร์มรับโปรโมชั่น หน้าจอชั่งน้ำหนักสำหรับ Batching Control BC360A1 แบรน SYMC
หากมีข้อสงสัยทีมงาน Factomart ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านผ่านช่องทาง Live Chat ได้ทันทีครับ หรือถ้าสนใจอ่านข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมของ Weighing Indicator ติดตามได้จาก แหล่งรวมข้อมูล Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก
บทความที่เกี่ยวข้อง
โหลดเซลล์ (Load Cell) คืออะไร ? มาหาคำตอบกัน
โหลดเซลล์ (Load Cell) คืออุปกรณ์ที่ใช้ในการเปลี่ยนจากแรงหรือน้ำหนักที่กระทำต่อตัวโหลดเซลล์ เป็นสัญญาณทางไฟฟ้า ทางเราสามารถนำสัญญาณทางไฟฟ้านี้ไปจ่ายเข้าจอแสดงผล Display แสดงค่าเป็นน้ำหนักหรือแรงที่กระทำให้คนเห็นได้
ทำ Batching Control ฟังก์ชั่นครบด้วย Weighing Indicator + HMI = 22,940฿
การต่อใช้งาน BC360A1 กับหน้าจอ Touch Screen CR1000 และ CR3000 เพื่อความสะดวกสำหรับผู้ใช้งาน สามารถแก้ไขได้โดยตรงผ่าน Smart Phone หรือ Tablet ทันที ทำให้มีทางเลือกเพิ่มขึ้นไปอีกในการเข้าถึงข้อมูลต่างในไลน์ผลิต
Batching Control ควบคุมปริมาณการจายวัตถุดิบโดยไม่ต้องใช้ PLC ค่าอุปกรแค่ 8,940 บาท
เราจะมาพูดถึงการชั่งน้ำหนักวัตถุดิบในกระบวนการผลิตที่ต้องการความแม่นยำและความถูกต้องในการชั่งเป็นอย่างมาก โดยการชั่งจะเป็นแบบ Batching Control ที่เป็นการเติมวัตถุดิบไปในถังชั่ง เมื่อได้ค่าที่ต้องการก็จะปล่อยวัตถุดิบออกไปยังกระบวนการต่อไป ถ้าคุณอยากรู้รายละเอียดเกี่ยวกับการชั่งแบบนี้มากขึ้น สามารถอ่านได้จากบทความด้านล่างนี้เลยครับ
วิธีติดตั้ง Weighing Indicator เพิ่มการทำงานให้มีประสิทธิภาพ
หัวใจสำคัญของการเลือกอุปกรณ์สำหรับใช้งานคือการติดตั้ง มาดูว่า Weighing Indicator ต้องติดตั้งอย่างไร เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีปัญหาตามมา พร้อมตัวอย่างารระบุขนาดการเจาะหน้าตู้และตัวอย่างการยึดหน้าจอกับหน้าตู้คอนโทรล
หลากหลายการประยุกต์ใช้งาน Weighing Indicator
การประยุกต์ใช้งาน Weighing Indicator เพื่อเป็นแนวทางการนำไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์อื่นๆ ให้เกิดประสิทธิภาพยิ่งขึ้น เช่น การเชื่อมต่อพอร์ตสื่อสาร RS-485 หรือการเชื่อมต่อใช้งานมิเตอร์กับ PLC HMI นอกจากนี้ยังสามารถเชื่อมต่อไปยังเครื่องพิมพ์ได้อีกด้วย มาดูกันว่ามันทำได้อย่างไร
วิธีการเลือก Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ชั่งน้ำหนัก
การเลือก Weighing Indicator ไปใช้งานนั้นต้องดูปัจจัยต่างๆ เช่น ขนาด Rated Output Signal, External Input, จำนวน Load cell สูงสุด, ไฟเลี้ยง, ขนาดในการติดตั้ง, สัญญาณเอาท์พุต, มาตรฐาน IP รวมถึงการทนต่อแรงสั่นสะเทือน
เข้าใจง่ายๆ กับโครงสร้างของ Weighing Indicator ที่คุณต้องรู้ไว้
แนะนำโครงสร้างของ Weighing Indicator ที่ควรจะเข้าใจก่อนการเลือกซื้อไปใช้งาน ซึ่งจะอธิบายการทำงานออกเป็น 8 ส่วน ที่มีความสำคัญ มาดูเลยว่าจะมีอะไรบ้าง
Weighing Indicator จอแสดงน้ำหนัก คืออะไร
การชั่งน้ำหนักนอกจากใช้โหลดเซลล์แล้ว เราจะต้องมี Weighing Indicator หรือ Load Cell Indicator มาใช้ควบคู่ด้วยเสมอ เพื่อใช้เป็นจอแสดงน้ำหนักที่วัดได้
การชั่งน้ำหนักของวัตถุดิบที่เติมเข้าในไซโลด้วยฟังก์ชัน Weigh IN ของ Weighing Indicator/Weighing Terminal BC360L2 แบรนด์ SYMC
Weight Controller BC360L2 สามารถป้องกันการสั่นสะเทือนได้ มี Menu F2.1 ไว้เลือกโหมดทำงาน ไม่ต้องใช้ PLC มาควบคุม ใช้แค่ตัวเดียวก็ควบคุมการทำงานได้หมด
หลักการทำงานที่น่าสนใจของ Weighing Indicator
ก่อนการตัดสินใจเลือกซื้อสินค้า Weighing Indicator คุณไม่ควรที่จะพลาดเรื่องของการทำงานของ Weighing Indicator ไปอย่างเด็ดขาดเลย เพราะเป็นส่วนที่ช่วยให้คุณเลือกได้ง่ายขึ้น ตรงกับความต้องการมากขึ้น
การใช้งานเครื่องผสมวัตถุดิบ Mixing
โดยทั่วไปแล้วเครื่องผสมวัตถุดิบที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมทั่วไป จะมีอยู่ 4 ส่วนหลักๆ นั่นก็คือ ถังเก็บวัตถุดิบ เครื่องชั่ง ถังเก็บน้ำ และถังผสม แต่ละส่วนนี้มีความสำคัญอย่างไร และแต่ละส่วนนั้นมีหน้าที่แตกต่างกันอย่างไรบ้าง การทำงานของแต่ละส่วนนั้นมีขั้นตอนอย่างไรบ้าง
จอแสดงผล HMI ในงานอุตสาหกรรมคอนกรีต
การผสมคอนกรีตที่เครื่องผสมจำเป็นต้องมีจอแสดงผล HMI เพื่อดูปริมาณวัตถุดิบต่างๆ แล้วจอ HMI มีการทำงานอย่างไร และมีความสำคัญมากน้อยเพียงใด
การวัดค่าแรงดึงหรือแรงกดในกระบวนการผลิตสินค้า
ในกระบวกการผลิตสินค้าหรือตรวจสอบสินค้า ต้องมีการวัดค่าแรงดึงหรือแรงกดอยู่ในกระบวนการเหล่านี้อยู่เสมอ แล้วอุปกรณ์ชนิดใดที่จะวัดค่าเหล่านี้ได้ และมีการทำงานอย่างไร ตามไปดูกัน
งานชั่งน้ำหนักส่วนผสมวัตถุดิบในอุตสาหกรรมก่อสร้าง
การชั่งส่วนผสมวัตถุดิบในอุตสาหกรรม ไม่ว่าจะเป็นปูนซีเมนต์ น้ำ หิน ทราย หรืออื่นๆ ให้ถูกต้องตามสัดส่วนเป็นสิ่งสำคัญมาก อุปกรณ์ตัวใดที่จะมาทำหน้าที่นี้กัน?
เครื่องชั่งดิจิตอล รุ่น EK-6000i แบรนด์ A&D
พบกับการแนะนำสินค้าที่น่าสนใจ เครื่องชั่งดิจิตอล Compact Balance รุ่น EK-6000i ของแบรนด์ A&D คุณจะเห็นว่าสินค้าตัวนี้มันน่าสนใจอย่างไร และเหมาะกับงานของคุณหรือเปล่า?
Load Cell ประยุกต์ใช้กับงานอะไรบ้าง ไปดูกัน
Load Cell สามารถนำไปประยุกต์ใช้งานได้หลากหลายรูปแบบ ไม่ว่าจะประยุกต์ใช้ในงานผสมปูนสำหรับคอนกรีตผสมเสร็จต่างๆ รวมทั้งการใช้เทสต์ความแข็งและแรงดึงของผลิตภัณฑ์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นพลาสติก หรือแท่นปูนซีเมนต์ รวมทั้งนำไปใชัชั่งวัตถุดิบต่างๆ ได้อีกด้วย
Load Cell ไม่ได้ถูกออกแบบจาก Strain Gauge อย่างเดียว
Strain Gauge เป็นแบบโหลดเซลล์ที่พบมากที่สุด แต่ก็ยังพบเห็นดีไซน์อื่นได้อยู่ อาทิเช่น แบบ hydraulic และ pneumatic คุณสามารถอ่านเพิ่มเติมได้ในบทความ Load Cell ไม่ได้ถูกออกแบบจาก Strain Gauge อย่างเดียว
สูตรง่ายๆ สำหรับคำนวณน้ำหนัก Load Cell
คุณเคยเจอปัญหาเกี่ยวกับการคำนวณน้ำหนักสำหรับการเลือกจำนวนโหลดเซลล์หรือไม่ เพราะจำนวน Load Cell ที่ใช้ในการรับน้ำหนักไม่ว่าจะเป็นแรงกดหรือแรงดึงต้องเหมาะสม เรามีสูตรการคำนวณน้ำหนัก Load Cell ที่ง่ายๆ แค่อ่านก็ทำตามได้
สาเหตุที่ทำให้ Load Cell เสียและแนวทางการแก้ไข
ถ้าโหลดเซลล์ที่คุณใช้งานอยู่มีปัญหาบ่อยเกินไป คุณอาจจะต้องอ่านคู่มือของเราเกี่ยวกับ สาเหตุของโหลดเซลล์เสียหายหรือแตก
ประเภทของ Load Cell แบบสเตรนเกจ
โหลดเซลล์แบบสเตรนเกจมีหลากหลายรูปแบบที่ได้ออกแบบเฉพาะสำหรับงานที่่แตกต่างกัน คุณอาจจะเคยได้ยินโหลดเซลล์แบบ Shear Beam ที่ได้ออกแบบเฉพาะสำหรับงานแบบ Off-Center เป็นต้น ซึ่งคุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับประเภทของโหลดเซลล์แบบสเตรนเกจได้ที่บทความของเรา
ง่ายมาก! สร้างเครื่องชั่งได้ด้วยตัวเองจาก Load Cell
การสร้างเครื่องชั่งใช้เองอย่างง่าย โดยใช้โหลดเซลล์ สำหรับงานชั่งน้ำหนักไม่เกิน 20 กิโลกรัม DIY ไม่ใช่ช่าง คุณก็สร้างเครื่องชั่งได้
คู่มือการเลือกใช้ Load Cell ให้ถูกต้อง
ในการเลือกใช้ตัวโหลดเซลล์นั้นเราจำต้องใช้ให้ถูกประเภทและใช้อุปกรณ์เสริมให้เหมาะสมเพื่อที่จะทำให้ วัดค่าได้อย่างแม่นยำไม่เสี่ยงต่อความเสียหายในขณะที่ใช้งาน ในบทความนี้เราจะพูดถึงปัจจัยที่ใช้ในการเลือกตัวโหลดเซลล์เพื่อทำให้คุณสามารถเลือกได้อย่างถูกต้อง