หัวใจสำคัญของการเลือกอุปกรณ์สำหรับใช้งานคือการติดตั้ง มาดูว่า Weighing Indicator ต้องติดตั้งอย่างไร เพื่อให้งานดำเนินไปอย่างมีประสิทธิภาพ ไม่มีปัญหาตามมา พร้อมตัวอย่างารระบุขนาดการเจาะหน้าตู้และตัวอย่างการยึดหน้าจอกับหน้าตู้คอนโทรล
คุณสามารถดูและเลือกซื้อ Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก ทั้งหมดหลายรุ่นที่ให้คุณซื้อได้ทันที หากมีข้อสงสัยทีมงาน Factomart ยินดีให้คำปรึกษาทุกท่านผ่านช่องทาง Live Chat ได้ทันทีครับ หรือถ้าสนใจอ่านข้อมูลอื่นๆ เพิ่มเติมของ Weighing Indicator ติดตามได้จาก แหล่งรวมข้อมูล Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก ได้เลยครับ
การติดตั้ง Weighing Indicator
ในการติดตั้งตัว Load Cell Indicator เข้ากับตัว Load Cell เพื่อใช้งานวัดน้ำหนัก หรือวัดแรง จำเป็นต้องตรวจสอบตำแหน่งของการเดินสายจากตัว Load Cell เข้ากับตัว Indicator ให้ถูกต้อง เนื่องจากอาจทำให้เกิดการเสียหายได้
ภาพการติดตั้ง Weighing Indicator เข้ากับตู้คอนโทรล
ภาพการเชื่อมต่อสาย Load Cell แบบ 4 สาย
ภาพการต่อโหลดเซลล์แบบ 6 สายกับ Load Cell Indicator PAXS ของ RedLion
นอกจากวิธีการต่อใช้งานสัญญาณอินพุตแล้วยังมีเรื่องของการต่อสัญญาณเอาท์พุตประเภทต่างๆ ของตัว Load Cell Indicator ที่จะนำไปใช้งานร่วมกับอุปกรณ์ต่อพ่วงอื่นๆ เช่น เสียงเตือน Alarm, Tower Light หรือ PLC
สำหรับการเจาะหน้าตู้คอนโทรล หรือแผงหน้าปัดต่างๆ เพื่อติดตั้งตัว Load Cell Indicator นั้นมีความสำคัญเป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากถ้าเจาะขนาดผิดพลาดอาจทำให้การติดตั้งไม่เรียบร้อย ความแข็งแรงทนทานลดลง อีกทั้งยังทำให้เสียเวลาในการติดตั้ง หรืออาจทำให้ต้องเสียตู้คอนโทรลใบนั้นไปเลยก็ได้ ซึ่งมาตรฐานส่วนใหญ่แล้ว จะเรียกกันว่า Panel Cut Out ซึ่งจะบอกค่าตัวเลขพร้อมกับค่าผิดพลาดเป็นบวกไว้อย่างเดียวเนื่องจากถ้าเป็นลบด้วยอาจทำให้การใส่ตัว Panel Meter ทำไม่ได้ หรือแน่นเกินไป
ภาพตัวอย่างการระบุขนาดการเจาะหน้าตู้คอนโทรลเพื่อติดตั้ง Load Cell Indicator รุ่น PAXS
ภาพตัวอย่างการยึด Load Cell Indicator รุ่น PAXS กับหน้าตู้คอนโทรล
การสอบเทียบทำได้อย่างไร
หลังจากการติดตั้ง Load Cell Indicator เข้ากับ Load Cell แล้วก่อนการใช้งานจริง มักจะต้องมีการสอบเทียบตัวเครื่องชั่งก่อน เพื่อให้สามารถใช้งานได้อย่างถูกต้องและแม่นยำ โดยการสอบเทียบนั้น เราสามารถจ้างสถาบันมาตรวิทยาแห่งชาติ เพื่อให้เข้ามาสอบเทียบได้ ในกรณีที่ต้องการใบรับรองการสอบเทียบที่ได้มาตรฐาน ISO17025 เพื่อที่จะสามารถสอบย้อนกลับไปยังมาตรฐานนานาชาติได้ แต่ถ้าต้องการสอบเทียบเพื่อให้ทราบว่าเครื่องชั่งของเราสามารถใช้งานได้หรือไม่ เราสามารถทำการตั้งค่าได้อยู่ 2 วิธี
การสอบเทียบแบบการใช้ค่าน้ำหนักจริง
การสอบเทียบแบบนี้เป็นวิธีการสอบเทียบที่ดีที่สุด เนื่องจากเป็นการบอกให้ตัว Load Cell Indicator รับรู้และจดจำค่าน้ำหนักจริงที่เราทราบค่าอย่างแน่นอน หรืออาจจะผ่านการสอบเทียบมาแล้ว
ซึ่งวิธีการทำนั้นก็จะขึ้นอยู่กับแต่ละยี่ห้อซึ่งไม่สามารถบอกได้แน่นอน แต่สามารถบอกได้อย่างคร่าวๆ ว่าในการ Calibrate นั้นจะเริ่มจากการตั้งค่า Indicator ให้อยู่ใน Calibration Mode ก่อน จากนั้นทำการตั้งค่าหน้าจอแสดงผลให้เป็น 0 เพื่อหาจุดอ้างอิง จากนั้นนำตุ้มน้ำหนัก ที่มีค่าน้ำหนักใกล้เคียงกับการชั่งน้ำหนักจริงมาวาง แต่ถ้าหาไม่ได้ก็ให้ใช้ค่ามากที่สุดที่หาได้ มาวางตรงกลางของเครื่องชั่งแล้วทำการใส่ค่าน้ำหนักจริงที่รู้ลงไปที่ตัว Indicator จากนั้นก็ออกจากโหมด Calibrate เพื่อเข้าสู่โหมดการชั่งน้ำหนักปกติ
การสอบเทียบแบบการใส่ค่าพิกัดของ Load Cell
ซึ่งจะเป็นการเอา Rated Output mV/V ที่ได้มาจาก Load Cell ที่ต่อกับตัว Indicator มาใส่ พร้อมกับ Maximum Load Capacity รวมของ Load Cell ทุกตัว เช่น Load Cell 4 ตัว ตัวละ 500kg ค่า Rated Output 2mV/V, Excitation Voltage 10VDC ค่า Maximum Load Capacity จะมีค่าเท่ากับ 500kg x 4 = 2000kg, 2Ton โดยนำค่า 2000 kg และค่า 2mV/V มาใส่ใน Load Cell Indicator ซึ่งจะเห็นได้ว่าการสอบเทียบแบบนี้จะง่ายกว่าแบบแรก แต่ก็ให้ความเที่ยงตรงที่น้อยกว่า
คุณสามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Weighing Indicator หน้าจอสําหรับเซ็นเซอร์ ชั่งน้ำหนัก ได้จากหน้าร้านออนไลน์ของเราได้เลย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ