เนื้อหาในส่วนนี้เราจะพูดถึง การประยุกต์ใช้งาน Temperature Controller ในรูปแบบต่างๆ เพื่อให้ท่านผู้อ่านสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างมีความสุข และ สนุกไปกับการทำงานได้ โดยข้อมูลในส่วนนี้คือความรู้ที่จะเสริมความเข้าใจถึงหน้าที่ของ เทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรลคืออะไร? และ ถ้าหากท่านต้องการจะเลือกใช้ กลุ่มสินค้าเทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรล นั้น เราควรจะมีวิธีการเลือกอย่างไร? เพื่อให้เหมาะกับการประยุกต์ใช้งาน โดยทางเราได้เตรียมข้อมูลต่างๆ ไว้ในรายละเอียดดังต่อไปนี้ครับ
มาสนุกกับการประยุกต์ใช้ Temperature Controller!
ในการประยุกต์ใช้งาน Temperature Controller นั้น เราสามารถนำ ตัวควบคุมอุณหภูมิไปใช้งานได้อย่างหลากหลาย โดยเราสามารถยกตัวอย่างการใช้งานตัวควบคุมอุณหภูมิได้ดังนี้
การใช้งานด้านความร้อน Heat Control
สำหรับงานควบคุมอุณหภูมิแบบง่ายๆ ที่เน้นเรื่องของการใช้งานที่ง่าย ฟังก์ชั่นไม่เยอะ ราคาไม่สูงมาก เรามี Temperature Controller ราคาประหยัด ที่มาพร้อมกับคุณสมบัติที่เพียงพอต่อการควบคุมอุณหภูมิ พร้อมฟังก์ชั่น Alarm ที่มีมาให้ถึง 2 รีเลย์
รูปที่ 1 การใช้งาน Temperature Controller ในอุตสาหกรรมยางรถยนต์

การใช้งานด้านความเย็น Cool Control หรือ Compressor Control
สำหรับการทำอุณหภูมิเย็น โดยใช้ ระบบการอัดอากาศ Air Compressor นั้น จะไม่สามารถใช้ตัวคอนโทรลเลอร์แบบ PID ทั่วๆ ไปได้ เรามีคอนโทรลเลอร์ที่ออกแบบมาสำหรับควบคุมอุณหภูมิ โดยสามารถตัดต่อการทำงานของ Compressor ได้โดยตรง มีฟังก์ชั่นหน่วงเวลาเพื่อป้องกันการเสียหายของ Compressor
การใช้งานด้านความร้อนและเย็น Heat/Cool Control
งานที่ต้องการความเที่ยงตรงสูงในการควบคุม ส่วนใหญ่จะนิยมใช้การควบคุมอุณหภูมิแบบ 2 ลูป คือด้านร้อน และด้านเย็น ซึ่งเป็นแบบ PID คอนโทรล เรามีตัวคอนโทรลเลอร์ที่สามารถตอบโจทย์การทำงานในโหมดนี้ได้เป็นอย่างดี โดยมีให้เลือกหลากหลายรุ่น หลายขนาด ตัวอย่างเช่น TK Series ของ Autonics นอกจากรุ่นนี้จะมีฟังก์ชัน Heat/Cool Control แล้วยังมีความเร็ว High-Speed Sampling Rate ถึง 50ms
วิดีโอเปิดกล่อง Temperature Controller รุ่น TK ของ Autonics
การใช้งานตัวควบคุมอุณหภูมิแบบ Remote Set Point or Master/Slave
กรณีที่กระบวนการผลิตแบบต่อเนื่อง ที่มีใช้ตัวควบคุมแบบ PID หรือตัวควบคุมอุณหภุมิจำนวนมาก หากจำเป็นต้องการเปลี่ยนแปลงค่า Set Point (SV) พร้อมๆ กันหรือทั้งหมด หรือให้เป็นสัดส่วนกันนั้น มีความยุ่งยากเป็นอย่างยิ่ง เรามีตัวคอนโทรลเลอร์ที่สามารถทำงานในลักษณะ Master/Slave ซึ่งสามารถตอบโจทย์นี้ได้
การใช้งานตัวควบคุมอุณหภูมิแบบ Pattern/Profile Controller
การผลิตเซรามิกนั้น กระบวนการอบไล่ความชื้นเป็นสิ่งจำเป็นอย่างยิ่ง โดยปกติในเตาอบจะต้องมีการควบคุมอุณหภูมิแบบเป็นขั้นบันไดตามช่วงเวลา เพื่อลดการเสียหาย และรักษาคุณภาพของชิ้นงาน โดยตัวคอนโทรลเลอร์ของเราสามารถตั้งโปรแกรมได้สูงถึง 16 โปรแกรม และมี Alarm เตือน เมื่อโปรแกรมเสร็จ
การใช้งานตัวควบคุมอุณหภูมิแบบ Multi-Loop PID Control
ตัวควบคุมอุณหภูมิแบบ PID ที่สามารถรองรับการควบคุมได้สูงถึง 124 ช่อง เหมาะสำหรังานควบคุมอุณหภูมิในเครื่องฉีดพลาสติกขนาดใหญ่ และต้องการเชื่อมต่อกับระบบควบคุมอื่นๆ เช่น PLC, PC, HMI ทำให้ประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง ลดเวลาในการติดตั้ง ไม่จำเป็นต้องเจาะหน้าตู้เพื่อติดตั้งตัวคอนโทรลเลอร์หลายๆ ตัว
รูปที่ 2 การใช้งาน Temperature Controller แบบ Multi-Loop PID

การใช้งานตัวควบคุมอุณหภูมิแบบ Heater Break Alarm
ปัญหาที่เกิดขึ้นอยู่บ่อยๆ ครั้งในงานควบคุมอุณหภูมิผ่านขดลวดความร้อนหรือ Heater นั้นก็คือเมื่อเจ้า Heater ขาด จนทำให้ระบบม่สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ เนื่องจากอุณหภูมิจะลดลงอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดของเสียขึ้น เรามีตัวควบคุมอุณหภูมิที่สามารถส่งสัญญาณเตือนได้ เมื่อ Heater ที่ทำงานอยู่เกิดขาดขึ้นมา
จากเนื้อหาทั้งหมดคงทำให้ท่านผู้อ่านได้เห็นถึง การประยุกต์ใช้งาน Temperature Controller ในรูปแบบต่างๆ โดยทางเราหวังว่าเนื้อหาสาระในส่วนนี้จะเป็นการเพิ่มแนวทางการประยุกต์ใช้งานให้กับท่านผู้อ่านให้สามารถทำงานได้อย่างมีความสุข และ สนุกกับการทำงานของท่านได้นะครับ และทั้งหมดนี้คือการประยุกต์ใช้งานที่ทาง my.Factomart.com ได้เตรียมมาเสนอให้กับท่านผู้อ่านนะครับ
โดยข้อมูลนี้คือส่วนหนึ่งที่จะเสริมเติมความเข้าใจถึงหน้าที่หลักของ เทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรลคืออะไร? เพื่อช่วยให้ท่านสามารถเลือกใช้ กลุ่มสินค้าเทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรล ได้อย่างเหมาะสม และ ถูกต้องกับลักษณะของงานของท่านได้นะครับ และ ถ้าหากท่านมี ข้อสังสัยเพิ่มเติม หรือ ต้องการเสนอแนะในส่วนใด ท่านสามารถส่งข้อความของท่านได้ในกล่องเสนอความคิดเห็นที่อยู่ทางด่านล่าง หรือ ติดต่อเราได้โดยตรงในทุกช่องทางการติดต่อของเรานะครับ