ติดตั้ง Temperature Controller ยังไง ให้ค่าที่ได้ไม่มีเพี้ยน?

บทความนี้จะมาบอกถึง วิธีการติดตั้ง Temperature Controller อย่างถูกวิธี นะครับ โดยในเนื้อหานี้จะพูดถึงปัจจัยหลักๆ ที่อาจทำให้ค่าการควบคุมเกิดการผิดเพี้ยนขึ้นได้จากการติดตั้ง ซึ่งเป็นพื้นฐานที่มีความจำเป็นต่อการเลือกใช้ กลุ่มสินค้าเทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรล และ เป็นส่วนหนึ่งที่จะทำให้ท่านมีความเข้าใจถึงความสำคัญของ  เทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรลคืออะไร?

ติดตั้ง Temperature Controller ยังไง ให้ค่าที่ได้ไม่มีเพี้ยน?

การติดตั้ง Temperature Controller ให้ถูกวิธีนั้นมีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะช่วยให้อายุการใช้งานของ Temperature Controllerนั้นยาวนานไม่เสียง่าย  และ ที่สำคัญยังเป็นการช่วยในเรื่องของการคุมอุณหภูมิให้ได้อย่างเที่ยงตรง

โดยปัจจัยที่เราควรคำนึงถึงนั้นจะได้แก่ ตำแหน่งของตัวเซ็นเซอร์ที่ใช้ในการวัดอุณหภูมิ , ความเร็วการตอบสนองต่ออุณหภูมิของตัวเซ็นเซอร์ การเดินสายสัญญาณของตัวเซ็นเซอร์ และ ส่วนอื่นๆอีกมากมาย โดยรายละเอียดต่อไปนี้จะเป็นการแนะนำถึงปัจจัยที่ควรคำนึงถึงบ่อยๆ สำหรับการติดตั้ง Temperature Controller ยังไง ให้ค่าที่ได้ไม่มีเพี้ยน! 


การเจาะรูยึดตัวควบคุมอุณหภูมิ Panel Cut Out

มีความสำคัญมาก เนื่องจากจะทำให้โครงสร้างของ Temperature Controller ไม่บิดเบี่ยว ทนต่อแรงสั่นสะเทือน และสามารถระบายความร้อนภายในตัวได้ดี สะดวกต่อการเดินสายไฟ และซ่อมบำรุง โดยปกติแล้ว Panel Cut Out นั้นจะถูกระบุไว้ที่คู่มือของตัวควบคุมอุณหภูมิอยู่แล้ว



รูปที่ 1
 ขนาดของ panel cut out และ การเว้นระยะห่างของตัวควบคุมอุณหภูมิของ Autonics TK

สัญลักษณ์ บนตัวควบคุมอุณหภูมิ Symbol

มีความสำคัญอย่างมาก เนื่องจากจะเป็นส่่วนหนึ่งในการช่วยให้ Temperature Controller นั้นทำงานได้อย่างถูกต้อง ไม่เกิดการผิดพลาดขณะทำงาน หรือ การอ่านค่าผิด เป็นการป้องกันความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นได้กับคอนโทรลเลอร์ เช่น การลัดวงจร หรือ ภาครับอินพุตเสียหาย ซึ่งเป็นสาเหตุที่เกิดขึ้นได้เป็นประจำ โดยจากรูปที่ 2 สามารถอธิบายสัญลักษณ์ต่างๆ ออกเป็น 9 ส่วนได้ดังนี้

รูปที่ 2 การสัญลักษณ์บนตัวควบคุมอุณหภูมิของ Autonics TK Series

  1. Source
    เป็นขาที่ใช้สำหรับต่อไฟเลี้ยงให้กับตัวควบคุมอุณหภูมิ โดยตามรูปจะใช้ไฟ AC 100~240VAC สำหรับบางรุ่นอาจจะใช้ไฟเลี้ยงแบบ DC ดังนั้นต้องสังเกตตรงส่วนนี้ให้ดี
  2. Input Signal
    เป็นขาที่ใช้ในการรับสัญญาณตัวเซ็นเซอร์ หรือสัญญาณอนาล็อกต่างๆ โดยส่วนใหญ่จะมีอยู่ 4 แบบ คือ Thermocouple, RTDs, Voltage และ Current ตรงจุดนี้จะเน้นเรื่องของขั่วในการต่อให้ถูกต้องเพื่อไม่ให้อ่านค่าผิดพลาด
  3. Out 1
    เป็นขาสัญญาณเอาท์พุตหลักที่ใช้การควบคุมโหลด ไม่ว่าจะตั้งค่า Control Action เป็นแบบ Heat Control หรือ Cool Control โดยสัญญาณเอาท์พุตที่ขานี้จะมีความสัมพันธ์กับรูปแบบการ Control เช่น PID, P, On-Off Control ซึ่งบางครั้งหลายๆ คนเข้าใจผิดเรื่องลักษณะของสัญญาณที่ควรจะต้องออกมาเป็นเชิงเส้น ซึ่งจริงแล้ว ไม่ใช้ ขึ้นอยู่กับผลการคำนวณมากกว่า โดยประเภทของสัญญาณเอาท์พุตสามารถเลือกได้หลายประเภท ตามรูปจะมีสัญญาณที่เป็น Relay, SSR, Current
  4. Out 2
    เป็นขาสัญญาณเอาท์พุตที่ใช้การควบคุมโหลดเหมือนกับ Out 1 แต่จะมีให้ หรือทำงานก็ต่อเมื่อเราเลือกการควบคุมเป็นแบบ Heat/Cool Control ตัวขานี้จะทำหน้าที่ในการควบคุมอุปกรณ์ที่ใช้ทำความเย็น เช่น พัดลม วาว์ลน้ำเย็น
  5. AL1 Out  หรือ Alarm/Event
    สำหรับตัวควบคุมอุณหภูมินั้น จะทำงานตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนด เช่น ตั้งค่าเป็น Alarm High 50⁰C เมืออุณหภูมิ PV มีค่าเกิน 50⁰C ก็จะทำให้หน้าคอนแท็กของเอาท์พุทนี้ทำงาน
  6. AL2 Out  หรือ Alarm/Event
    เป็น Alarm Output อีกตัวที่ทำงานเหมือน AL1 ซึ่งสำหรับตัวควบคุมอุณหภูมินั้น จะทำงานตามเงื่อนไขที่ผู้ใช้งานเป็นผู้กำหนด เช่น ตั้งค่าเป็น Alarm Low 100⁰C เมืออุณหภูมิ PV มีค่าต่ำกว่า 100⁰C ก็จะทำให้หน้าคอนแท็กของเอาท์พุทนี้ทำงาน
  7. Current Transformer
    เป็นขารับสัญญาณอินพุตจากตัวหม้อแปลงชนิดพิเศษที่ต่ออยู่กับ Heater เพื่อคอยวัดกระแสที่ขดลวดความร้อน เพื่อตรวจสอบว่า Heater ขาดหรือไม่ โดยอินพุตชนิดจะถูกใช้เป็น Alarm Function สำหรับควบคุมอุณหภูมิที่มีประสิทธิภาพสูง
  8. Transmission Output 4~20mA
    เป็นขาสัญญาณเอาท์พุต ที่ใช้ในการส่งสัญญาณอนาล็อกที่เป็นกระแส 4~20mA ไปยังตัวคอนโทรเลอร์อื่นๆ หรือตัวบันทึกข้อมูลเช่น  Recorder โดยค่าที่ส่งออกมาจะมีความสัมพันธ์กับค่าของ PV
  9. Communication Output RS-485
    เป็นขาที่ใช้ในการสื่อสารกับอุปกรณ์ภายนอก เช่น PLC, HMI ซึ่งจะใช้สำหรับส่งข้อมูลระหว่างกัน โดยบางแบรนด์ เช่น Autonics, Enda จะมีตัวโปรแกรมสำหรับติดตั้งบน PC เพื่อดึงข้อมูลจากตัว Temperature Controller มาเก็บ หรือวิเคราะห์
  10. Digital Input
    เป็นขาอินพุตที่ช่วยเพิ่มความสามารถในการควบคุมตัวควบคุมอุณหภูมิ เช่น เมือเราต่อ Switch ที่ขานี้แล้วตั้งค่าให้เป็น คำสังเริ่มทำงาน หรือหยุดทำงาน หรือตั้งค่าให้เป็น การเปลี่ยนค่า SV ก็ได้

การตั้งค่าเบื้องต้นก่อนการใช้งานถือว่ามีความสำคัญมากเลยทีเดียวสำหรับการใช้งาน Temperature Controller หากตั้งค่าไม่ถูกต้องอาจทำให้ค่าที่วัดได้มีความผิดพลาดหรือเครื่องไม่สามารถทำงานได้

วิดีโอแนะนำการตั้งค่า SV และการเลือก Type เทอร์โมคัปเปิลของ Temperature Controller

การต่อวงจรของตัวควบคุมอุณหภูมิ

ในการเชื่อมต่อวงจรของตัวควบคุมอุณหภูมิกับอุปกรณ์ภายนอกนั้นมีอยู่ไม่กี่ รูปแบบ เช่น การต่อกับ Magnetics Contactor (MC) เพื่อควบคุมขดลวดความร้อน ควรจะต่อตัวเก็บประจุแบบไมล่าขนาด 0.1uF 630V เพื่อลดความรุนแรงในกรณีเกิดการลัดวงจรที่สายไฟ A ซึ่งจะเกิด EMF นอกจากนี้กรณีที่ภาคเอาท์พุตต่อกับ SCR, SSR ในส่วนที่เป็นโหลดนั้นควรต่อฟิวส์ เพื่อป้องกันการลัดวงจรไว้ด้วย

รูปที่ 3 การต่อวงจรของตัวควบคุมอุณหภูมิกับ Magnetics Contactor

 รูปที่ 4 การต่อวงจรของตัวควบคุมอุณหภูมิกับ SSR, SCR

จากเนื้อหาทั้งหมดคงทำให้ท่านผู้อ่านได้เห็นถึงความสำคัญของการติดตั้งแล้วนะครับ ไม่ว่าจะเป็นเรื่อง การเจาะรูยึดตัวควบคุมอุณหภูมิ  Panel Cut Out , เรื่องของ สัญลักษณ์บนตัวควบคุมอุณหภูมิ Symbol และ การต่อวงจรของตัวควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยทำให้ค่าการควบคุมที่ได้นั้นไม่มีความผิดเพี้ยน และ ยังเป็นการเพิ่มอายุการใช้งานได้อีกด้วย แต่ทั้งนี้ในการประยุกต์ใช้ใน
แต่ละลักษณะงานนั้น ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกมากมายที่จำเป็นต้องอาศัยความรู้ และ การวิเคราะห์ เพื่อให้เหมาะสมต่อการติดตั้งของงานแต่ละ
ประเภทครับ

ทาง my.Factomart.com หวังเป็นอย่างยิ่งว่าข้อมูลเหล่านี้จะทำให้ท่านผู้อ่านความเข้าใจถึงความสำคัญของ  เทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรลคืออะไร?  และ สามารถเลือกใช้ กลุ่มสินค้าเทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรล ได้อย่างถูกต้อง หากท่านมีข้อสงสัย หรือ ต้องการที่จะเพิ่มเติมในส่วนใด
ท่านสามารถส่งข้อความผ่านกล่องแสดงความคิดเห็นที่อยู่ทางด้านล่างนี้ได้ หรือ ถ้าต้องการติดต่อทางเราโดยตรง เรายินดีให้บริการท่านใน
ทุกช่องทางการติดต่อของเราครับ

Facebook Comments