สำหรับบทความนี้จะเป็นการ แนะนำถึงประเภทต่างๆ ของ Temperature Controller ที่คุณควรรู้! ไม่ว่าจะเป็นแบบ Analog Controller และ แบบ Digital Controller จนไปถึงประเภทย่อยต่างๆ ว่ามีรายละเอียดการใช้งานเป็นอย่างไร?
ซึ่งความรู้จากเนื้อหานี้จะเป็นการเสริมความเข้าใจ ถึงหน้าที่หลักของ เทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรลคืออะไร?เพื่อทำให้ท่านสามารถนำไปเลือกใช้งาน กลุ่มสินค้าเทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรล ได้อย่างถูกต้อง โดยเนื้อสาระที่เราได้เตรียมมานั้น จะทำให้ท่านได้รู้จักกับประเภทต่างๆได้อย่างไร? ติดตามได้จากบทความต่อไปนี้ครับ
2 แบบหลักของ Temperature Controller ที่คุณควรรู้!
ในการใช้งานตัวควบคุมอุญหภูมินั้น เราสามารถแบ่งประเภทของตัว Temperature Controller ได้เป็นประเภทใหญ่ๆ ได้ 2 ประเภท คือ Analog Controller และ Digital Controller โดยสามารถอธิบายรายละเอียดต่างๆได้ดังนี้
Analog Controller
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุม แต่วงจรภายในไม่ได้ใช้ตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุมหรือคำนวณ จะใช้เพียงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ออฟแอมป์ หรือ อาจจะไม่มีวงจรอิเล็กทรอนิกส์เลยมีเพียงโลหะ 2 ชนิด ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ เช่น Bimetal โดยตัวควบคุมประเภทนี้ปัจจุบันมีใช้น้อยลงในอุตสาหกรรม หรือ งานที่ต้องการความถูกต้องในการวัดและการควบคุมสูง เนื่องจากถูกทดแทนด้วยตัวควบคุมแบบดิจิตอล Digital Controller ซึ่งมีความแม่นยำมากกว่า
ตัวอย่างของ Analog Controller ได้แก่ Analog Temperature Controller เป็นตัวควบคุณหภูมิประเภทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ แต่วงจรภายในไม่ได้ใช้ตัวไมโครคอนโทรลเลอร์ในการควบคุมหรือคำนวณ จะใช้เพียงวงจรอิเล็กทรอนิกส์ เช่น ออฟแอมป์ หรือ วงจรดิจิตอลอย่างง่าย โดยตัวควบคุมประเภทนี้ปัจจุบันมีการใช้น้อยลง จนแทบจะไม่พบเนื่องจากมีการทดแทนด้วย ตัวควบคุมแบบ Digital
รูปที่ 1 ตัวควบคุมอุณหภูมิแบบอนาล็อก Analog Temperature Controller

Digital Temperature Controller
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งที่มีใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ทั้ง ร้อน และ เย็น หรือ ทั้งร้อนและเย็นพร้อมกัน โดยมีความเที่ยงตรงสูง และ สามารถใช้งานได้หลากหลาย รวมถึงสามารถต่อเข้ากับระบบควบคุมแบบใหม่ได้
เช่น Industry 4.0 เพื่อเก็บข้อมูล หรือ การควบคุมจากระยะไกล
แต่อย่างไรก็ตามระบบการควบคุมแบบนี้ก็จะมีความซับซ้อนมากกว่าแบบ Analog Controller เนื่องจาก จำเป็นต้องมีการตั้งค่าตัวแปรต่างๆ
และ อุกรณ์ต่อพ่วงทั้งทางด้านอินพุต และ เอาท์พุต แต่ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบัน ทำให้ความซับซ้อนเหล่านี้ลดลง จึงทำให้สามารถใช้งานได้ไม่ยาก
ตัวอย่างของ Digital Controller ได้แก่ Panel Temperature Controller เป็นตัวควบคุณหภูมิประเภทหนึ่งที่มีใช้กันมากในปัจจุบันซึ่งทำหน้าที่ในการ ควบคุมอุณหภูมิ ซึ่งสามารถควบคุมอุณหภูมิได้ทั้งร้อนและเย็น หรือ ทั้งร้อนและเย็นพร้อมกัน โดยมีความเที่ยงตรงสูง และสามารถใช้งานได้หลากหลาย รวมถึงสามารถต่อเข้ากับระบบควบคุมแบบใหม่ได้ เช่น Industry 4.0 เพื่อเก็บข้อมูล หรือ การควบคุมจากระยะไกล ผ่านทางพอร์ตสื่อสาร เช่น RS-485, TTL, MODBUS โดยจะมีองค์ประกอบพื้นฐานของตัวคบคุมได้แก่ มีหน้าจอแสดงผลค่าอุณหภูมิ PV มีส่วนของการตั้งค่าอุณหภูมิ SV มีช่องรับสัญญาณอินพุต และมีช่องส่งสัญญาณเอาท์พุต

รูปที่ 2 ตัวควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอล Digital Temperature Controller
การแบ่งประเภท Temperature Controller ตามลักษณะของงาน!
จากที่เราได้ทำความรู้จักกับ 2 ประเภทใหญ่ๆ ของ Temperature Controller ไปเรียบร้อยแล้วนะครับ ต่อมาก็จะเป็นการแนะนำประเภทย่อยต่างๆที่ถูกออกแบบมาเพื่อความเหมาะสมของลักษณะงานที่แตกต่างกันออกไป ซึ่งได้แก่
Thermostat
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ ใช้การควบคุมอุณหภูมิจากโลหะ 2 ชนิด ที่ทำหน้าที่เป็นสวิตซ์ เช่น Bimetal หรือแบบท่อแคปป์ลารี่ Capillary Tube ซึ่งนิยมใช้ในการควบคุมอุณหภูมิที่ไม่ต้องการความเที่ยงตรงสูงมากนัก และ ต้องการความประหยัดเป็นสำคัญ เช่น ในเตารีด เตาอบ หม้อหุงข้าว ตู้เย็น หรือในตู้คอนโทรล ที่ต้องการควบคุมการทำงานของพัดลมระบายความ
ร้อนภายในตู้
รูปที่ 3 ตัวควบคุมอุณหภูมิแบบอนาล็อก Thermostat ของ Rainbow
ที่มา: http://www.rainbowelec.co.kr/

DIN Mounting Temperature Controller
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งที่เริ่มมีใช้กันมากในปัจจุบัน ซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิในกระบวนการผลิตที่ต้องใช้การควบคุมหลายๆ ลูป โดยจะประหยัดพื้นที่ในการติดตั้ง เนื่องจากติดตั้งบนราง DIN โดย 1 ตัว สามารถควบคุมได้ตั้งแต่ 2 ถึง 4 ลูป และสามารถต่อควบคุมได้สูงถึง 255 ลูป โดย PID Control สามารถควบคุมอุณหภูมิได้ทั้ง ร้อน และ เย็น หรือ ทั้งร้อนและเย็นพร้อมกัน โดยมีความเที่ยงตรงสูง และ สามารถใช้งานได้หลากหลาย รวมถึงสามารถต่อเข้ากับระบบควบคุมแบบใหม่ได้ เช่น Industry 4.0 เพื่อเก็บข้อมูล หรือ การควบคุมจากระยะไกล โดยจะมีองค์ประกอบพื้นฐานของตัวควบคุมได้แก่ ช่องรับสัญญาณอินพุต และ มีช่องส่งสัญญาณเอาท์พุต ส่วนของการตั้งค่า ID ของการสื่อสาร กับอุปกรณ์อ่านและเขียนค่า เช่น HMI หน้าจอสัมผัส PLC ตัวควบคุม
โดยอุปกรณ์เหล่านี้จะติดต่อกับตัวควบคุมอุณหภูมิผ่านทางพอร์ตสื่อสาร เช่น RS-485, TTL, MODBUS ซึ่งข้อสังเกตอย่างหนึ่งของ DIN Mounting Temperature Controller คือจะไม่มีหน้าจอแสดงผลค่า PV และปุ่มตั้งค่า SV เนื่องจากจะใช้งานผ่าน HMI หรือ PLC แทน

รูปที่ 4 ตัวควบคุมอุณหภูมิแบบดิจิตอลยึดราง DIN
Profile Temperature Controller หรือ Programmable Temperature Controller
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ เหมือนกับตัวควบคุมอุณหภูมิแบบอื่นๆ แต่จะมีฟังก์ชั่นในการควบคุมอุณหภูมิที่เป็นลักษณะสเต็ป หรือการควบคุมที่มีความสัมพันธ์กับเวลา เช่น การอบขนม การอบเซรามิก ที่จำเป็นต้องค่อยๆ เพิ่มอุณหภูมิ และค่อยๆ ลดอุณหภูมิ เพื่อป้องกันความเสียหายแก่ชิ้นงานที่กำลังอบอยู่
ซึ่งข้อสังเกตอย่างหนึ่งของ Profile Temperature Controller นั้นคือเวลาตั้งค่า SV ในตัวควบคุมนั้น จะสามารถตั้งได้หลายๆ ค่า และสามารถตั้งค่าเวลาในการทำอุณหภูมิได้ด้วย
รูปที่ 5 ตัวควบคุมอุณหภูมิแบบ Profile Temperature Controller

Refrigerator Controller และ Defrost Controller
เป็น Temperature Controller ที่เน้นในเรื่องของการควบคุมอุณหภูมิด้านเย็นที่ตัวทำอุณหภูมิเป็นคอมเพรสเซอร์ Compressor ซึ่งใช้ในการเพิ่มความดันให้กับน้ำยาหรือสารทำความเย็น โดยในการเปิดหรือปิดตัว Compressor แต่ละครั้ง จำเป็นต้องมีการหน่วงเวลาเพื่อป้องกันความเสียหายแก่ตัว Compressor จากการเปิด หรือปิด ติดๆ กัน และ มักจะมีฟังก์ชั่นพิเศษเช่น เมื่อเซนซอร์วัดอุณหภูมิเสียจะให้ตัว Compressor ทำงานทุกๆ กี่นาที เพื่อป้องกันสินค้าเสียหาย จากอุณหภูมิที่สูงขึ้น
นอกจากนี้ยังมีฟังก์ชั่นการละลายน้ำแข็ง โดยเซนเซอร์วัดอุณหภูมิที่ใช้ในตัวควบคุมประเภทนี้จะเป็น Thermister NTC ซึ่งสามารถวัดอุณหภูมิในย่านนติดลบได้ดี ซึ่งข้อสังเกตอย่างหนึ่งของ Refrigerator Controller และ Defrost Controller นั้นจะมีหน้าจอแสดงผลเฉพาะค่า PV และตัว Relay Output นั้นจะทนกระแสได้สูงกว่า Controller รุ่นอื่นๆ
รูปที่ 6 ตัวควบคุมอุณหภูมิแบบ Refrigerator Controller และ Defrost Controller

Digital Thermostat
เป็น Temperature Controller ประเภทหนึ่งซึ่งทำหน้าที่ในการควบคุมอุณหภูมิ ใช้แทนตัวควบคุมอุณหภูมิ Analog Thermostat ซึ่งทำจาก Bimetal หรือแบบท่อแคปป์ลารี่ Capillary Tube เนื่องจากต้องการความเที่ยงตรงในการควบคุมอุณหภูมิที่สูงขึ้น โดยจะใช้ในเครื่องใช้ไฟฟ้ารุ่นใหม่ ที่มีหน้าจอแสดงผลอุณหภูมิด้วย เตารีดไอน้ำ เตาอบไฟฟ้า หม้อหุงข้าวดิจิตอล ตู้เย็นดิจิตอล หรือในตู้คอนโทรล ที่ต้องการควบคุมการทำงานของพัดลมระบายความร้อนภายในตู้ ซึ่ง Digital Thermostat เหล่านี้จะใช้เซ็นเซอร์วัดอุณหภูมิจากภายนอก และมีขนาด Relay Output ตั้งแต่ 8A AC ขึ้นไป เพื่อสามารถควบคุมอุปกรณ์ทำความร้อนได้โดยตรง
รูปที่ 7 ตัวควบคุมอุณหภูมิแบบ Digital Thermostat

ด้วยความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็วของภาคอุตสาหกรรม ทำให้เครื่องไม้เครื่องมือที่เราใช้งานนั้น ได้มีการพัฒนารูปแบบและแบ่งแยกออก
ไปได้เป็นหลายประเภท เช่นเดียวกับ Analog Temperature Controller ที่ได้ถูกแทนที่ด้วย Digital Temperature Controller เนื่องจากสามารถตอบสนองการใช้งานในปัจจุบันได้ดีกว่า และ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างประเภทย่อยต่างๆขึ้นมาเพิ่มเติมอย่างมากมาย เพื่อเป็นการอำนวยความสะดวก และ เพิ่มประสิทธิภาพของการทำงานให้ได้ดียิ่งขึ้นด้วย
ดังนั้นเราจึงจำเป็นต้องมีความรู้เรื่องประเภทต่างๆของ Temperature Controller เพื่อให้เราสามารถปรับและประยุกต์ใช้งานได้อย่างถูกต้อง และ สามารถก้าวทันความเจริญก้าวหน้าของงานภาคอุตสาหกรรมที่มีแต่จะพัฒนาขึ้นทุกวันแบบไม่มีสิ้นสุด
ทาง my.Factomart.com หวังว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อท่านผู้อ่านและจะทำให้ท่านเข้าใจถึงหน้าที่หลักของ เทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรลคืออะไร? และ สามารถเลือกใช้ กลุ่มสินค้าเทมเพอร์เรเจอร์คอนโทรล ได้ตามจุดประสงค์ตามที่ท่านต้องการนะครับ หากท่านมี ข้อสังสัยเพิ่มเติม หรือ ต้องการเสนอแนะในส่วนใด ท่านสามารถส่งข้อความของท่านได้ในกล่องเสนอความคิดเห็นที่อยู่ทางด่านล่าง หรือ ติดต่อเราได้โดยตรงในทุกช่องทางการติดต่อของเรานะครับ