บทความนี้จะเป็นเนื้อหาที่อธิบายถึงการตั้งค่าสวิตช์ความดันหรือเรียกว่า การเทียบก็ได้ โดยในการตั้งค่านี้จะทำเพื่อตรวจจับและแก้ไขข้อผิดพลาดในจุด set point และ deadband ของสวิตช์ความดัน ซึ่งเป็นส่วนที่สำคัญมาก ช่วยป้องกันไม่ให้อุปกรณ์ได้รับความเสียหายขณะใช้งานได้
คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Pressure Switch สวิตช์ความดัน ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น
การตั้งค่าสวิตช์ความดัน Pressure Switch
การตั้งค่านี้เป็นการเทียบค่าที่แม่นยำของสวิตช์ความดัน เป็นขั้นตอนสำคัญในการรับรองคุณภาพกระบวนการและการใช้งานอุปกรณ์อย่างปลอดภัย การตั้งค่านี้คล้ายกับการเทียบมาตรวัดความดัน แต่ตรงนี้แรงดันไฟฟ้าหรือความต่อเนื่องของชุดหน้าสัมผัสสวิตช์จำเป็นต้องอ่านด้วยดิจิตัล มัลติมิเตอร์หรือเครื่องเทียบ
จุดประสงค์ของการเทียบครั้งนี้ คือ ตรวจจับและแก้ไขข้อผิดพลาดในจุด set point และ deadband ของสวิตช์ความดัน การเทียบนี้สามารถช่วยประหยัดเวลา ช่วยลดขั้นตอน และลดจำนวนอุปกรณ์ที่คุณต้องนำไปใช้ในงานได้
Setpoint คืออะไร
คือ ความดันที่สวิตช์ความดันต้องใช้ในการทำงาน สวิตช์ความดันอาจถูกตั้งค่าให้ทำงานกับแรงดันที่เพิ่มขึ้นหรือแรงดันที่ตกลง สวิตช์ส่วนใหญ่ได้รับการออกแบบมาเพื่อทำงานที่จุด setpoint ความดันเกจ บางการใช้งานนั้นจำเป็นต้องตั้งค่าความดันสัมบูรณ์ ซึ่งสัมพันธ์กับความดันที่เป็นศูนย์สัมบรูณ์และจำเป็นต้องมีสวิตช์ความดันสัมบรูณ์ โดยทั่วไปควรเลือกช่วงของสวิตช์ให้จุด setpoint อยู่ระหว่าง 25% ถึง 75% ของช่วงนี้
Deadband คืออะไร
คือ การตั้งค่าที่กำหนดจำนวนการเปลี่ยนแปลงความดันที่จำเป็นในการรีเซ็ตสวิตช์ให้เป็นสถานะปกติหลังจากที่มีการทริป ความแตกต่างของ deadband หรือการรีเซ็ต หรือการสวิตช์นั้นคือความแตกต่างระหว่างความดันที่เพิ่มขึ้นและลดลงขณะที่สวิตช์ความดันทำงาน สำหรับค่าเอาต์พุทคงที่ของสวิตช์โดยทั่วไปจะมีค่าประมาณ 1 – 3% ของช่วงสวิตช์ สำหรับเอาต์พุทสวิตช์ที่ปรับค่าได้ อาจจะถูกปรับจากประมาณ 5 – 12% ของช่วงสวิตช์
ขั้นตอนการตั้งค่า
ขั้นตอนที่ 1
เชื่อมต่อ Pressure Switch เข้ากับเครื่องปรับความดันและเกจวัด
ขั้นตอนที่ 2
เมื่อใช้มัลติมิเตอร์ให้ตั้งค่าเป็นแบบต่อเนื่อง เพื่อตรวจสอบและยืนยันว่าหน้าสัมผัสสวิตช์เป็นไปตามที่ระบุไว้ ทั้งแบบ NO (Normally open) และ NC (Normally close).
ขั้นตอนที่ 3
เชื่อมต่อโอห์มมิเตอร์หรือดิจิตัล มัลติมิเตอร์ เข้าไประหว่างหน้าสัมผัส NO และขั้ว C ของสวิตช์ มิเตอร์ควรอ่านค่าได้ว่า “เปิดวงจร” ปรับตัวควบคุมความดันเพื่อเพิ่มแรงดันไปที่จุด set point ของ Pressure Switch จนกว่าหน้าสัมผัสจะเปลี่ยนแปลง มอเตอร์จะอ่านค่าได้ว่า “Short circuit หรือลัดวงจร” จากนั้นจดบันทึกค่าความดันที่อ่านได้ ค่าความดันนี้ก็คือจุด set point ของสวิตช์สำหรับแรงดัน “ที่เพิ่มขึ้น”
ขั้นตอนที่ 4
เพิ่มความดันไปยังสวิตช์ให้ถึงพิกัดสูงสุด แล้วค่อยๆ ลดความดันลงจนกว่าสวิตช์จะเปลี่ยนจาก NO เป็น NC อีกครั้ง จากนั้นจดบันทึกค่าความดันที่อ่านได้ ความดันนี้คือ การตั้งค่าสวิตช์ความดัน “ตก” ถ้าพบข้อผิดพลาดให้ปรับจุด set point โดยการปรับสกรูแล้วทำซ้ำจนกว่าจะได้ค่าที่ต้องการ
ขั้นตอนที่ 5
จากค่าที่อ่านได้ มีค่าความดันที่แตกต่างกันระหว่างการตั้งค่าความดันที่เพิ่มขึ้นและการตั้งค่าความดันตก สิ่งนี้เรียกว่า “Deadband”ของสวิตช์ Deadband นี้ คำนวณแล้วจะได้เท่ากับหรือน้อยกว่า Deadband ของผู้ผลิตสินค้า แต่โดยส่วนมาก Deadband จะยึดตามค่าที่ผู้ผลิตระบุไว้ ไม่ควรใช้เกินค่าที่ผู้ผลิตระบุไว้
หลังจากที่คุณได้อ่านบทความนี้แล้ว คงจะสามารถตั้งค่า Pressure Switch สวิตช์ความดันได้ก่อนที่จะนำไปใช้งาน หากคุณมีข้อสงสัยเพิ่มเติมที่สามารถสอบถามมาหาเราได้จากข้อมูลด้านล่างนี้เลย
หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Pressure Switch สวิตช์ความดัน ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหลากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ
ดาวน์โหลดคู่มือ Pressure Switch สวิตช์ความดัน
ข้อมูลเกี่ยวกับ Pressure Switch สวิตช์ความดัน หลากหลายเรื่องที่น่าสนใจ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องหลักการทำงาน ประเภท การเลือก การติดตั้ง ตลอดจนการใช้งาน เพื่อให้คุณได้รู้จัก Pressure Switch สวิตช์ความดัน มากยิ่งขึ้น ข้อมูลทั้งหมดจะถูกรวบรวมไว้ในรูปแบบเอกสารให้คุณดาวน์โหลดฟรีไปอ่านได้เลย