เลือก Photoelectric Sensor อย่างไรให้ตรงใจ

Photoelectric Sensor

Share this post

ในเบื้องต้นทำให้เราได้ทราบแล้วว่า Photoelectric Sensor คืออะไร? ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการเลือกใช้เซ็นเซอร์ให้ตรงตามความต้องการ โดยในเนื้อหาส่วนนี้จะช่วยบอกเล่าถึงวิธีการเลิอกใช้อย่างถูกต้องและสิ่งที่ควรคำนึงถึงในการเลือกใช้ เช่น  โหมดการทำงาน  ประเภท สัญญาณเอาท์พุต และ ปัจจัยอื่นๆ ที่มีความสำคัญต่อการเลือก กลุ่มสินค้าของ โฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์ ให้ได้อย่างเหมาะสมกับประเภทของงาน โดยมีรายระเอียดต่างๆดังต่อไปนี้

เลือก Photoelectric Sensor อย่างไรให้ตรงใจ?

การเลือกใช้โฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์ให้ได้ตรงใจนั้น สามารถทำได้ไม่ยาก ถ้าหากเรารู้หลักหรือปัจจัยสำคัญที่มีความจำเป็นต่อการเลือก ซึ่งเราจะมาดูกันว่ามีอะไรบ้างที่เป็นสิ่งสำคัญที่เราควรคำนึงถึง?

โหมดการทำงานแบบไหน หรือ ประเภทการทำงานแบบใด?

เป็นส่วนที่สำคัญที่สุดในการเลือกใช้งานของเซ็นเซอร์ โดยเซ็นเซอร์แต่ละตัวนั้นจะมีคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกัน และสามารถตรวจจับวัตถุได้ไม่เหมือนกัน เช่น ชิ้นงานขนาดเล็กที่สุดที่สามารถตรวจจับได้ หรือแม้กระทั่งรูปทรง และชนิดของวัตถุว่าเป็นแบบทึบแสงหรือแบบโปร่งแสง จากตัวอย่างที่ผ่านมาจะเห็นได้ว่าการเลือกใช้เซ็นเซอร์ให้ตรงกับประเภทของชิ้นงานนั้นคือสิ่งที่สำคัญที่สุด

ระยะในการตรวจจับขึ้นอยู่กับอะไรบ้าง?

ระยะการทำงานของเซ็นเซอร์นั้น จะขึ้นอยู่กับโหมดการทำงานของเซ็นเซอร์ และ ประเภทของแหล่งกำเนิดแสง ว่าเป็นประเภทใด แต่โดยปกติแล้วตัวเซ็นเซอร์ที่มีจำหน่ายอยู่ในท้องตลาดก็จะมีระยะในการตรวจจับได้ตั้งแต่ 0 – 200 m ซึ่งขึ้นอยู่กับความต้องการในการใช้งาน

Photoelectric Sensor

ภาพแสดงตัวอย่างของสีและชนิดของชิ้นงานที่มีผลกระทบต่อระยะทางในการตรวจจับ

รูปแบบของ Housing มีผลต่อความเร็ว

รูปแบบ Housing ของเซ็นเซอร์ ในส่วนนี้ไม่ได้มีผลต่อความเที่ยงตรง หรือระยะในการตรวจจับสักเท่าไร แต่จะเป็นปัจจัยเสริมที่ทำให้การใช้งานตัวเซ็นเซอร์มีประสิทธิภาพหรือเพิ่มความรวดเร็วให้ได้มากขึ้น เช่น ตัวเซ็นเซอร์ที่มีลักษณะทรงกระบอก M18 ซึ่งสามารถติดตั้งได้ง่ายเพียงแค่เจาะรูยึดเท่านั้น แต่สำหรับบางงานที่มีข้อจำกัดในเรื่องของพื้นที่ในการติดตั้ง ก็จะใช้ตัวเซ็นเซอร์ที่มีขนาดเล็ก เพื่อให้สามารถซ่อนตัวเซ็นเซอร์ไว้ได้ตามจุดต่างๆที่ต้องการ

Photoelectric Sensor

ตัวอย่างรูปร่างโฟโต้เซ็นเซอร์แบบต่างๆ

Power Supply แหล่งจ่ายไฟ คือสิ่งสำคัญ

การเลือกใช้งานแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับตัวเซ็นเซอร์นั้น จะขึ้นอยู่กับหน้างาน และตัวควบคุมที่รับสัญญาณจากตัวเซ็นเซอร์ ยกตัวอย่างเช่น อุปกรณ์คอนโทรลเลอร์เป็นพวก PLC, Counter, Timer, Pulse Meter ก็จะใช้แหล่งจ่ายไฟชนิด DC 10-30V ซึ่งมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากกว่า แต่ถ้าโหลดเป็นอุปกรณ์ที่เป็น AC เช่น Coil AC 220VAC ก็สามารถใช้เซ็นเซอร์ที่ใช้แหล่งจ่ายไฟแบบ AC 220V ได้เช่นกัน แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการต่อสายให้ถูกต้อง

Photoelectric Sensor

ภาคจ่ายไฟของโฟโต้เซ็นเซอร์แบบ DC และ AC

สัญญาณเอาท์พุต NPN หรือ PNP

หลายครั้งมักมีคำถามว่าจะใช้เซ็นเซอร์ที่มีสัญญาณเอาท์พุตแบบ NPN หรือ PNP ? หรือ บางครั้งจะมีผู้ใช้งานบางส่วนเรียก common + หรือ common – ซึ่งจริงๆ แล้ว NPN นั้นก็คือ common – และ PNP นั้นก็คือ common +

โดยเราจะเลือกใช้กันตามตัววงจรที่เราได้ต่อว่ามี Common แบบไหนนั่นเอง ในเซ็นเซอร์บางรุ่นที่ออกแบบมาให้สามารถต่อสัญญาณเอาท์พุตเข้ากับโหลดทางไฟฟ้าได้เลย ก็จะให้สัญญาณเอาท์พุทเป็นแบบหน้าคอนแท็ค ที่สามารถทนโหลดกระแสได้สูง

Photoelectric Sensor

การต่อใช้งานโฟโต้เซ็นเซอร์แบบ NPN, PNP

รูปแบบของการต่อสายจะใช้แบบสายหรือแบบคอนเน็คเตอร์ ?

ประเภทที่มีสายในตัวและแบบที่ใช้คอนเน็คเตอร์ ชนิดของสายนั้นจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการติดตั้งว่ามีสภาวะแวดล้อมเป็นแบบใด มีน้ำมันหรือสารระเหยที่มีผลต่อวัสดุที่ใช้นำมาทำสายไฟหรือไม่ โดยวัสดุมาตรฐานที่ใช้ทำสายไฟก็จะเป็นแบบ PVC แต่ถ้าต้องการความทานมากขึ้นก็จะใช้เป็นแบบ PU สำหรับรุ่นที่เป็น Connector ก็จะมีโครงสร้างหรือวัสดุเป็นแบบเดียวกับสาย เพียงแต่จะใช้ Connector ขนาด M8 หรือ M12 ต่อกับตัว Photoelectric sensor แทน เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและบำรุงรักษา

Switching output / Function Output หรือการทำงานแบบ Dark On หรือ Light On

คือรูปแบบการทำงานของตัวเซ็นเซอร์ที่ระบุว่าจะให้เริ่มทำงาน และมีสัญญาณเอาท์พุตเมื่อไร เช่น ในสภาวะปกติที่ยังไม่มีวัตถุตัดผ่าน แลัวตัวรับ Receiver สามารถรับสัญญาณจากตัวส่ง Emitter ได้ เราจะเรียกรูปแบบนี้ว่าเป็น Dark On หรือ เมื่อมืดแล้วติด ในทางตรงกันข้ามถ้าในสภาวะปกติที่ยังไม่มีวัตถุตัดผ่านแลัวตัวรับ Receiver ไม่สามารถรับสัญญาณจากตัวส่ง Emitter ได้ เราจะเรียกรูปแบบนี้ว่าเป็น Light On หรือเมื่อสว่างแล้วติด ซึ่งการเลือกไปใช้งานก็ขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นที่ต้องการ

Photoelectric Sensor

Function Output หรือการทำงานแบบ Dark On หรือ Light On ของ Photoelectric sensor

Light source : Infrared, laser, LED, Visible

ในการเลือกใช้งานตัวโฟโต้เซ็นเซอร์นั้น สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือเรื่องชนิดของแสงที่ใช้ในการตรวจจับวัตถุ โดยเราสามารถแบ่งประเภทของลำแสงที่ใช้งานได้เป็น 2 ประเภท คือ Visible Light หรือ แสงที่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น แสงสี แดง สีเขียว ซึ่งจะเหมาะกับการตรวจจับชิ้นงานที่ต้องการความเที่ยงตรงสูง ระยะไม่ไกลมากนัก

และอีกประเภทก็คือ Non Visible Light หรือ แสงที่ไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า เช่น แสงย่านอินฟราเรด Infrered ซึ่งจะเหมาะกับการตรวจจับชิ้นงานที่ไม่ต้องการความเที่ยงตรงสูง แต่ต้องการระยะในการตรวจจับที่ไกลมากขึ้น เนื่องจากแสงชนิดนี้จะโดนรบกวนจากแสงธรรมชาติได้น้อยกว่า จึงทำให้ประสิทธิภาพในการรับส่งได้ดีกว่า

Photoelectric Sensor

ย่านสเปคตรัมของแสงที่นำมาใช้งานใน Photoelectric sensor

IP Rating

เป็นมาตรฐานที่บ่งชี้ถึงระดับการป้องกัน น้ำ และ ฝุ่น ของตัวเซ็นเซอร์ แต่โดยปกติตัว Proximity Sensor ในปัจจุบัน จะมีค่า IP67 อยู่แล้ว ซึ่งเป็นค่าที่สามารถทนต่อฝุ่นและนํ้าในการใช้งานปกติได้อย่างสบาย แต่สำหรับงานที่ต้องการใช้งานตัวเซ็นเซอร์ในสภาวะแวดล้อมที่เลวร้ายนั้น จำเป็นจะต้องมีเซ็นเซอร์รุ่น พิเศษ ที่มี IP สูงกว่านี้เช่น IP68K โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ IP Rating

หัวข้อต่างๆนี้คือปัจจัยที่จำเป็นสำหรับการเลือก โฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์ ซึ่งถ้าหากนำหลักเกณฑ์นี้มาช่วยในการตัดสินใจเลือกได้นั้น เราเชื่อว่าข้อมูลเหล่านี้จะเป็นประโยชน์สำหรับท่านที่กำลังสนใจมองหา กลุ่มสินค้าของ โฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์ ได้ แต่อย่างไรก็ตามในการเลือกที่ดีได้นั้น ท่านผู้อ่านจำเป็นต้องมีความเข้าใจจริงถึงความหมายของ Photoelectric Sensor คืออะไร? ซึ่งเป็นพื้นฐานความเข้าใจสำคัญที่จะนำไปสู่การเลือกใช้งานให้ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ

ดาวน์โหลดคู่มือ Photoelectric Sensor

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือและศูนย์รวมข้อมูล Photoelectric Sensor คุณสามารถดาวน์โหลดบทความทุกบทในรูปแบบไฟล์เอกสารได้ที่นี่เลย มีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้

ไม่ว่าจะเป็น Photoelectric Sensor คืออะไร หลักการทำงาน ประเภท อุปกรณ์เสริม การติดตั้ง การประยุกต์ใช้งาน รวมถึงการเลือก NO / NC Sensor และเลือกเซ็นเซอร์แบบ NPN หรือ PNP ที่ใช้กับ PLC หรือ Controller

แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อ Photoelectric Sensor โฟโต้อิเล็กทริค เซ็นเซอร์

แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) Photoelectric Sensor โฟโต้อิเล็กทริค เซ็นเซอร์ ที่เราได้รวบรวมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อ Photoelectric Sensor โฟโต้อิเล็กทริค เซ็นเซอร์

ซึ่งในบทความนี้เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย อาทิเช่น แบรนด์ Autonics, Bulluff  และ Banner Engineering

Button-N06
Button-02-Home-back-New
Photoelectric Sensor
Photoelectric Sensor
Photoelectric Sensor
Photoelectric Sensor
Photoelectric Sensor
Photoelectric Sensor
Photoelectric Sensor
Photoelectric Sensor
Photoelectric Sensor
Facebook Comments