บทความนี้จะพูดถึงการแบ่งประเภทของ โฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์ ซึ่งมีความจำเป็นอย่างมากสำหรับการเลือกใช้ กลุ่มสินค้า Photoelectric Sensor เพราะถ้าหากคุณเลือกได้ดี ก็คงเปรียบเสมือนคุณมีเพื่อนที่ดีและพร้อมทำงานอย่างเต็มประสิทธภาพเพื่อคุณ แต่ถ้าหากเราเลือกผิดล่ะ? แน่นอนครับว่า ผลที่ตามมาก็คงได้แต่ภาวนาว่า “อย่าให้งานเกิดความผิดพลาดมากนักเลย” ซึ่งในความเป็นจริงเราจะมามัวนั่งภาวนาอยู่ไม่ได้เพราะการทำงานที่ดีนั้น ควรมีความรู้ความเข้าใจ ว่า Photoelectric Sensor คือ อะไร? มีการแบ่งประเภทออกเป็นอย่างไรบ้าง? ซึ่งท่านจะได้ทราบถึงรายละเอียดต่างๆได้ต่อจากนี้
คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Photoelectric Sensor โฟโต้อิเล็กทริค เซ็นเซอร์ ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น
Photoelectric Sensor นั้นจะมีโหมดการทำงานอยู่ 3 ประเภท คือ แบบตัวรับ ตัวส่ง แยกกัน (Opposed Mode) แบบสะท้อนกับแผ่นสะท้อน (Retroreflective Mode) และ แบบสะท้อนกับวัตถุ (Diffuse Mode) ซึ่งทั้ง 3 แบบนี้ ถือว่าเป็นแบบพื้นฐานของ Photoelectric sensor ทุกประเภท จึงจเป็นต้องมีความเข้าใจ เพื่อให้เกิดการนำไปเลือกใช้ได้อย่างถูกวิธี
การแบ่งประเภทตามโหมดการทำงาน
เพื่อให้การเลือกใช้งาน โฟโต้อิเล็กทริคเซ็นเซอร์ ให้เป็นไปตามความต้องการ และ เหมาะสมกับวัตถุ หรือ ชิ้นงานที่เราต้องการตรวจจับนั้น เราจำเป็นต้องทำความเข้าใจประเภท หรือ โหมดการทำงานของตัวเซ็นเซอร์ให้เรียบร้อยก่อนที่จะเลือกใช้ โดยเราจะสามารถแบ่งโฟโต้เซ็นเซอร์ออกเป็นประเภทหรือโหมดต่างๆ ได้ดังนี้
Opposed Mode,Through Beam Photoelectric sensor โฟโต้เซ็นเซอร์แบบตัวรับ-ตัวส่ง อยู่แยกกัน
เมื่อถึงเวลาการใช้งานจะวางให้อยู่ตรงข้ามกัน ซึ่งเป็นโฟโต้เซ็นเซอร์ที่สามารถตรวจจับวัตถุที่มีขนาดใหญ่ และช่วงระยะในการตรวจจับมากที่สุด ซึ่งในสภาวะการทำงานปกติตัวรับ Receiver จะสามารถรับสัญญาณแสงจากตัวส่ง Emitter ได้ตลอดเวลา โดยเซ็นเซอร์แบบนี้จะทำหน้าตรวจจับวัตถุที่เคลื่อนที่ตัดผ่านหน้าเซ็นเซอร์ ซึ่งวัตถุหรือชิ้นงานที่ผ่านหน้าเซ็นเซอร์จะขวางลำแสงที่ส่งจากตัวส่ง Emitter ไปยังตัวรับ Receiver
เมื่อลำแสงไม่สามารถถึงตัวรับ จะทำให้วงจรภายในรับรู้ได้ว่า มีวัตถุหรือชิ้นงานขวางอยู่ ทำให้สถานะของเอาท์พุตของตัวรับเปลี่ยนแปลงไป โดยเราเรียกลักษณะการทำงานแบบนี้ว่า Dark On หรือ Dark Operate
Photoelectric sensor แบบ Opposed Mode
Retro-reflective Photoelectric sensor โฟโต้เซ็นเซอร์แบบใช้งานคู่กับแผ่นสะท้อน
ภายตัวเซ็นเซอร์แบบนี้จะมีตัวส่ง Emitter และตัวรับ Receiver ติดตั้งภายในตัวเดียวกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟทั้งสองฝั่งเหมือนแบบ Opposed Mode ทำให้การติดตั้งใช้งานได้ง่ายกว่า แต่อย่างไรก็ตามจำเป็นต้องติดตั้งตัวแผ่นสะท้อนหรือ Reflector ไว้ตรงข้ามกับตัวเซ็นเซอร์เอง โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบที่ใช้แผ่นสะท้อนแบบนี้จะเหมาะสำหรับชิ้นงานที่มีลักษณะทึบแสงไม่เป็นมันวาว เนื่องจากอาจทำให้ตัวเซ็นเซอร์เข้าใจผิดว่าเป็นตัวแผ่นสะท้อน และทำให้ทำงานผิดพลาดได้
เซ็นเซอร์แบบนี้จะมีช่วงในการทำงานหรือระยะในการตรวจจับจะได้ใกล้กว่าแบบ Opposed mode ซึ่งในสภาวะการทำงานปกติตัวรับ Receiver จะสามารถรับสัญญาณแสงจากตัวส่ง Emitter ได้ตลอดเวลา เนื่องจากลำแสงจะสะท้อนกับแผ่นสะท้อน Reflector อยู่ตลอดเวลา
หน้าที่หลักของเซ็นเซอร์ชนิดนี้จะคอยตรวจจับวัตถุที่เคลื่อนที่ตัดผ่านหน้าเซ็นเซอร์ เมื่อวัตถุหรือชิ้นงานผ่านเข้ามาที่หน้าเซ็นเซอร์ แล้วจะการขวางลำแสงที่ส่งจากตัวส่ง Emitter ที่ส่งไปยังแผ่นสะท้อน จึงทำให้ตัวรับ Receiver ไม่สามารถรับลำแสงที่จะสะท้อนกลับมาได้
ซึ่งจะทำให้วงจรภายในรับรู้ได้ว่า มีวัตถุหรือชิ้นงานขวางอยู่ ทำให้สถานะของเอาท์พุตของตัวรับเปลี่ยนแปลงไป โดยเราเรียกลักษณะการทำงานแบบนี้ว่า Dark On หรือ Dark Operate นอกจากนี้ตัว Photoelectric sensor ที่ใช้แผ่นสะท้อน สามารถแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ ได้ดังนี้ Non Polarization Photoelectric sensor / Polarization Photoelectric sensor
Photoelectric sensor แบบ Retro-reflective
Diffuse mode, Proximity mode โฟโต้เซ็นเซอร์แบบสะท้อนกับวัตถุโดยตรง
ภายในตัวเซ็นเซอร์แบบนี้จะมีตัวส่ง Emitter และตัวรับ Receiver ติดตั้งภายในตัวเดียวกัน ทำให้ไม่จำเป็นต้องเดินสายไฟทั้งสองฝั่งเหมือนแบบ Opposed Mode ทำให้การติดตั้งใช้งานได้ง่ายกว่า โฟโต้เซ็นเซอร์แบบสะท้อนกับวัตถุ
เซ็นเซอร์ชนิดนี้จะใช้ในการ ตรวจจับชิ้นงานที่มีลักษณะทึบแสงและโปร่งแสงได้ ซึ่งในสภาะการทำงานปกติตัวรับ Receiver จะไม่สามารถรับสัญญาณจากตัวส่ง Emitter ได้ เนื่องจากไม่มีวัตถุที่จะทำหน้าที่เป็นตัวสะท้อนลำแสงกลับมายังตัวรับ Receiver
โดยเซ็นเซอร์แบบนี้จะทำหน้าที่ตรวจจับวัตถุที่เคลื่อนที่ตัดผ่านที่หน้าของเซ็นเซอร์ โดยวัตถุหรือชิ้นงานที่ผ่านหน้าเซ็นเซอร์จะทำหน้าที่สะท้อนลำแสงที่ส่งมาจากตัวส่ง Emitter กลับไปยังตัวรับ จึงทำให้ตัวรับ Receiver สามารถรับลำแสงที่จะสะท้อนกลับมาได้ ซึ่งจะทำให้วงจรภายในรับรู้ได้ว่า มีวัตถุหรือชิ้นงานขวางอยู่ ทำให้สถานะของเอาท์พุตของตัวรับเปลี่ยนแปลงไป โดยเราเรียกลักษณะการทำงานแบบนี้ว่า Light On หรือ Light Operate นอกจากนี้ตัว Photoelectric sensor ที่ใช้แผ่นสะท้อน สามารถแบ่งประเภทย่อยได้ดังนี้
Diffuse Mode
เป็นโหมดการทำงานพื้นฐานสุดของ Photoelectric sensor แบบ Diffuse mode ซึ่งแสงที่ส่งออกจากตัว Emitter นั้น จะทำมุมกับตัวเซ็นเซอร์เอง แต่ตัวรับหรือ Receiver นั้นจะรับเฉพาะแส่งที่สะท้อนกับวัตถุแล้วส่งกลับมาตั้งฉากกับตัวรับเท่านั้น ซึ่งการทำงานแบบนี้ ในเรื่องของสี ขนาด และความสว่างของวัดถุ มีผลต่อระยะทางในการตรวจจับทั้งสิ้น
Photoelectric sensor แบบ Diffuse
Background Suppression
เป็นโฟโต้เซ็นเซอร์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของ Diffuse Mode โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบ Background Suppression นั้น ถูกออกแบบมาให้แก้ปัญหาในการตรวจจับวัตถุที่มีตำแหน่งในการตรวจจับวางอยู่ใกล้กับตัวพื้นหลัง ซึ่งอาจมีลักษณะของพื้นผิวที่ใกล้เคียงกับชิ้นงานจนทำให้บางครั้งตัวเซ็นเซอร์แบบธรรมดาไม่สามารถแยกแยะระหว่างชิ้นงานกับพื้นหลังได้ ทำให้การทำงานเกิดความผิดพลาด
แต่สำหหรับ Photoelectric sensor background suppression นั้นจะอาศัยหลักการทำงานแบบสามเหลี่ยมมุมฉาก โดยตัว Emitter จะส่งสัญญาณแสงเป็นเส้นตรงโดยตั้งฉากกับเลนส์ ส่วนภาครับจะติดตั้งให้ทำมุมกับภาคส่ง เพื่อแสงสะท้อนกับชิ้นงานแล้วกล้บมายังภาครับ ซึ่งภาครับของตัว Photosensor แบบ Background Suppression จะประกอบไปด้วย Photo Transistor 2 ชุด ซึ่งทำหน้าที่รับสัญญาณแสงที่จะท้อนกลับมา และทำการเปรียบเทียบกับเป็นวงจร Window Comparator เพื่อให้สามารถรับรู้ได้ว่าตำแหน่งที่ต้องการตรวจจับอยู่ที่ตรงไหน โดย Photo Transistor ทั้งสองชุดจะจดจำค่าระดับของแสงที่รับได้เอาไว้ ก็จะสามารถจำกัดระยะทางในการตรวจจับได้ ตามขนาดของมุมที่สะท้อนกลับมา
Photoelectric sensor แบบ Background Suppression
Convergent
เป็นโฟโต้เซ็นเซอร์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของ Diffuse Mode โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบ Convergent นั้นถูกออกแบบมาให้ตรวจจับวัตถุในลักษณะของการจำกัดพื้นที่ หรือ ย่านในการตรวจจับ โดยจะตรวจจับชิ้นงาน หรือวัตถุเฉพาะที่อยู่ในย่านการตรวจจับเท่านั้น โดยอาศัยการสร้างพื้นที่ในการตรวจจับจากการทำมุมของตัวส่งและตัวรับภายในเซ็นเซอร์เอง
Photoelectric sensor แบบ Convergent
Divergent
เป็นโฟโต้เซ็นเซอร์ชนิดหนึ่งที่อยู่ในกลุ่มของ Diffuse Mode โดยโฟโต้เซ็นเซอร์แบบ Divergent ถูกออกแบบมาให้แก้ปัญหาในการตรวจจับวัตถุที่มีความมันวาว หรือมีขนาดเล็กๆ ซึ่งในบางครั้งการใช้ตัวเซ็นเซอร์แบบธรรมดานั้น ไม่สามารถตรวจจับและทำให้การทำงานผิดพลาดได้
แต่สำหรับ Divergent นั้น จะอาศัยหลักการทำงานโดยการลดย่านในการตรวจจับให้สั้นลง เพื่อให้สามารถตรวจจับวัตถุที่มีความมันวาวได้ โดยจะทำให้เกิดการกระจายแสง หรือสะท้อนกลับของแสงแบบกระจาย แต่จะมีแสงบางส่วนเท่านั้นที่สะท้อนมาตรงกับตัวเซ็นเซอร์ ซึ่งเป็นผลทำให้ให้ระยะในการตรวจจับสั้นลง
Photoelectric sensor แบบ Divergent
การแบ่งประเภทตามลักษณะการใช้งาน
Foreground Suppression (Adjustable)
สำหรับชิ้นงานหรือวัตถุที่มีสีหรืออัตราการสะท้อนไม่เท่ากันทั้งชิ้นงาน แต่ด้านหลังมี Background ที่มีสีเดียวกันที่สม่ำเสมอ เราอาจจะใช้ตัวเซ็นเซอร์แบบ Foreground Suppression ในการตรวจจับเฉพาะ Background แล้วให้ตัวชิ้นงานที่วิ่งผ่านเป็นตัวตัดลำแสงหรือบังลำแสงแทนก็ได้ โดยสามารถดูได้จากวีดีโอเปรียบเทียบการทำงานระหว่าง Foreground suppression และ Background suppression ได้
Photoelectric sensor แบบ Foreground Suppression
วีดีโอเปรียบเทียบการทำงานระหว่าง Foreground suppression และ Background suppression
Fiber Optic Sensor
เป็นโฟโต้เซ็นเซอร์ชนิดหนึ่งที่ออกแบบมาให้ตรวจจับวัตถุที่มีขนาดเล็กมากๆ หรือต้องการติดตั้งภายในพื้นที่จำกัด แต่ยังคงรูปแบบหรือวิธีการในการทำงานเหมือนโฟโต้เซ็นเซอร์ทั่วๆ ไป เพียงแต่มีการแยกในส่วนของตัวกำเนิดแสง ตัวรับแสง ออกจากเลนส์หรือท่อนำแสง ซึ่งในส่วนของ Fiber Optics Sensor นั้นจะใช้การนำแสงไปยังจุดที่ต้องการตรวจจับผ่านสายไฟเบอร์ และรับแสงกลับมายังตัวรับสัญญาณผ่านทางสายไฟเบอร์เช่นกัน องค์ประกอบของเซ็นเซอร์ประเภทนี้มีดังนี้
Photoelectric sensor แบบ Fiber Optics
Amplifier
เป็นส่วนที่ใช้ในการกำเนิดแสงและรับแสง รวมถึงการสั่งงานเอาท์พุตด้วย ซึ่งแสงที่ Amplifier สร้างขึ้นจะเป็นแบบ Visible Light เท่านั้น
Fiber Cable
เป็นส่วนที่ใช้ในการนำแสงไปยังวัตถุที่ต้องการตรวจจับ ซึ่งจะมีรูปแบบ หรือ โหมดการทำงานเหมือน Photoelectric Sensor นั่นก็คือแบบ Opposed Mode, Through Beam และ Diffuse mode, Proximity mode ซึ่งรูปร่างของสายไฟเบอร์ออฟติกก็มีให้เลือกหลากหลายขึ้นอยู่กับความต้องการของการใช้งาน
ตัวอย่างและโครงสร้างของสายไฟเบอร์ออฟติคแบบต่างๆ
ประเภท Special Photoelectric Sensor
นอกเหนือจาก Photoelectric sensor แบบต่างๆ ที่ได้แนะนำในข้างต้นแล้ว ยังคงมี Photoelectric Sensor ชนิดพิเศษที่ถูกออกแบบมาให้ใช้กับงานที่มีความเฉพาะเจาะจงเป็นพิเศษ เช่น งานที่ต้องการตรวจจับและแยกแยะความแตกต่างของสี หรืองานที่ต้องการตรวจจับแผ่นพลาสติกหรือฟิล์มที่มีความเงา หรือตรวจจับตำแหน่งมาร์คต่างๆ บนบรรจุภัณฑ์หรือสิ่งพิมพ์ต่างๆ หรือเซ็นเซอร์ที่ต้องการใช้ในงานตรวจวัดระยะทาง ตัวอย่างของ Special Photoelectric Sensor ได้แก่
True Color Sensor
สำหรับงานตรวจจับของเหลวในขวดพลาสติกใสที่มีสีที่แตกต่างกันบนสายพานคอนเวย์เยอร์เดียวกันนั้น เป็นงานยากมากถ้าใช้ Photoelectric sensor แบบธรรมดา เนื่องจากความต้องการแยกว่าขวดใดเติมน้ำหรือไม่ได้เติม รวมถึงการติดสลากหรือไม่ได้ติด
แต่สำหรับการใช้งานตัว True Color Sensor ในงานประเภทนี้นั้น เป็นเรื่องง่าย เนื่องจากใช้หลักการของแสงสีขาว ที่เกิดจากการผสมกันของสีนั่นก็คือ แดง เขียว และน้ำเงิน แสงที่ได้จากการสะท้อนกลับมานั้น จะผ่านวงจรกรองแบบอิเล็กทรอนิกส์ ช่วยให้สามารถแยกแยะระหว่างขวดใสหรือขวดที่มีการย้อมสีได้ โดยเราสามารถโปรแกรมภาคเอาท์พุตทั้ง 3 ได้ว่า จะให้เอาท์พุตไหนทำงานเมื่อตรวจจับสีใดได้
ตัวอย่างการใช้งาน True Color Sensor
Laser Sensor
สำหรับงานตรวจจับตำแหน่งวัตถุ หรือ งานที่ต้องการทราบว่าชิ้นงานมีหรือไม่มีนั้น ถ้าเป็นชิ้นงานที่มีขนาดเล็กและมีพื้นผิวไม่เรียบ หรือค่อนข้างทึบแสงนั้น การใช้งานตัว Photo sensor แบบทั่วๆ ไปอาจจะพอใช้งานได้ แต่จะขาดความเที่ยงตรงหรือต้องมรการติดตั้งในระยะที่ใกล้กับชิ้นงานมาก
แต่ถ้าเราใช้แหล่งกำเนิดแสงที่เป็นลักษณะของ Laser ทั้ง Class 1 และ Class 2 เช่น Photoelectric sensor Q4X จะสามารถลดข้อจำกัดในการใช้งานเหล่านี้ได้เนื่องจากมีความละเอียด แม่นยำและกำลังสูง สามารถแยกแยะวัตถุที่มีสีเข้มบนพื้นหลังที่เข้มเหมือนกันได้
ตัวอย่างการใช้งาน Laser Sensor
Clear Object Detection Sensor
การใช้งานเซ็นเซอร์แสงในงานตรวจจับวัตถุที่มีลักษณะเป็นแผ่นใสและมีความบาง ให้มีประสิทธิภาพแม่นยำนั้น เป็นเรื่องที่ค่อนข้างยาก ในปัจจุบันมีเซ็นเซอร์ที่เป็น Clear Object Detection Sensor ซึ่งจะใช้หลักการทำงานของแสงเลเซอร์ หรือคลื่นอัลตราโซนิค ซึ่งมีความเร็วสูงและเหมาะกับงานประเภทนี้
ตัวอย่างการใช้งาน Clear Object Detection Photoelectric Sensor ในงานตรวจจับวัตถุใส
Area Sensor
เป็นเซ็นเซอร์ที่ออกมาเพื่อใช้ในงานกั้นพื้นที่ หรือจำกัดพื้นที่การทำงานให้กับคน เครื่องจักร หรือหุ่นยนต์ โดยตัวของเซ็นเซอร์เองจะประกอบไปด้วยตัว Photoelectric sensor แบบ opposed mode หลายๆ คู่ วางอยู่ห่างๆ กันตามความต้องการเช่น 1,2 หรือ 4 เซนติเมตร โดยเซ็นเซอร์เหล่านี้จะมีระยะทางในการทำงานที่สามารถตรวจจับได้ตั้งแต่ 3-7 เมตรขึ้นไป
ตัวอย่างการใช้งาน Area Sensor และ Light Curtain Sensor
Laser Distance Sensor
สำหรับงานบางประเภทที่ต้องการใช้ตัวเซ็นเซอร์ในการวัดระยะทางโดยไม่จำเป็นต้องสัมผัสกับชิ้นงาน การใช้งานตัวอุลตราโซนิกเซ็นเซอร์อาจจะให้ความละเอียดไม่เพียงพอ ปัจจุบันความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีเลเซอร์ มีมากขึ้นทำให้ต้นทุนในการผลิตลดลง จึงได้มีการนำเอาแสงเลเซอร์มาเป็นส่วนหนึ่งของเครื่องมือวัด L-Gauge เป็นเลเซอร์เซ็นเซอร์ที่สามารถวัดค่าระยะทางได้สูงถึง 250m. และมีสัญญาณอนาล็อกเอาท์พุต 4..20 mA เพื่อใช้สำหรับงานที่ต้องการควบคุมได้
ตัวอย่างการใช้งาน Laser Distance Sensor ในงานวัดและควบคุมระยะทาง
Slot Sensor โฟโตเซ็นเซอร์แบบก้ามปู
ซึ่งเป็นชื่อเรียกตามลักษณะ และ โครงสร้างของตัวเซ็นเซอร์เอง เป็นเซ็นเซอร์ชนิดพิเศษที่มีระยะในการตรวจจับที่คงที่ แต่จะอาศัยการปรับความไวในการตรวจจับขึ้นอยู่กับชนิดและขนาดของวัตถุที่ต้องการตรวจจับโดย จากตัวอย่างเป็นการใช้ Slot Sensor ในการนับจำนวนตัวหลอดฉีดยาพลาสติกที่กำลังถูกลำเรียงออกจากแม่พิมพ์ โดยการลำเรียงชิ้นงานเหล่านี้จะมีการแกว่งไปมา แต่สำหรับ Slot sensor แล้ว จะสามารถตรวจจับได้อย่างแม่นยำ
ตัวอย่างการใช้งาน Slot Sensor ในงานนับจำนวนชิ้นงาน
จากข้อมูลทั้งหมดนี้ คงทำให้ท่านได้เข้าใจถึง แบบพื้นฐานของ Photoelectric sensor ทุกประเภท ซึ่งได้แก่ แบบตัวรับ ตัวส่ง แยกกัน (Opposed Mode) แบบสะท้อนกับแผ่นสะท้อน (Retroreflective Mode) และแบบสะท้อนกับวัตถุ (Diffuse Mode) จะเห็นได้ว่าทั้ง 3 แบบนี้ คือ ประเภทพื้นฐานของ Photoelectric sensor ที่สามารถทำไปพัฒนาเพื่อประยุกต์ใช้งานในแบบต่างๆได้ จึงจำเป็นต้องมีความเข้าใจ เพื่อให้เกิดการนำไปเลือกใช้ได้อย่างถูกวิธี และ จากนี้ทางเราหวังว่าท่านผู้อ่านจะสามารถเลือกใช้ กลุ่มสินค้า Photoelectric Sensor ได้อย่างเหมาะสม และ ส่งผลให้เกิดประสิทธิภาพกับงานของท่านได้ตามความต้องการ
หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Photoelectric Sensor โฟโต้อิเล็กทริค เซ็นเซอร์ ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ
ดาวน์โหลดคู่มือ Photoelectric Sensor
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือและศูนย์รวมข้อมูล Photoelectric Sensor คุณสามารถดาวน์โหลดบทความทุกบทในรูปแบบไฟล์เอกสารได้ที่นี่เลย มีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้
ไม่ว่าจะเป็น Photoelectric Sensor คืออะไร หลักการทำงาน ประเภท อุปกรณ์เสริม การติดตั้ง การประยุกต์ใช้งาน รวมถึงการเลือก NO / NC Sensor และเลือกเซ็นเซอร์แบบ NPN หรือ PNP ที่ใช้กับ PLC หรือ Controller
แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อ Photoelectric Sensor โฟโต้อิเล็กทริค เซ็นเซอร์
แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) Photoelectric Sensor โฟโต้อิเล็กทริค เซ็นเซอร์ ที่เราได้รวบรวมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อ Photoelectric Sensor โฟโต้อิเล็กทริค เซ็นเซอร์
ซึ่งในบทความนี้เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย อาทิเช่น แบรนด์ Autonics, Bulluff และ Banner Engineering