ในบทความนี้ทางเราขออาสาพาท่าน มาดูให้รู้ถึงวิธีการติดตั้ง Encoder ให้ดีนั้น เขาทำกันอย่างไร? ซึ่งเราจะบอกเล่าถึงปัจจัยต่างๆ ที่ควรคำนึงถึงทุกครั้งก่อนการติดตั้ง เช่น แรงที่กระทำต่อเพลา การสั่นสะเทือน และ ปัจจัยต่างๆ ที่อาจส่งผลต่อการติดตั้ง ซึ่งในเนื้อหาที่เราจะกล่าวถึงในต่อไปนี้ จะเป็นความรู้ส่วนสำคัญที่จะช่วยให้ท่านได้เข้าใจว่า เอ็นโค้ดเดอร์คืออะไร? ซึ่งจะนำไปสู่การเลือกใช้กลุ่มสินค้าเอ็นโค้ดเดอร์ ได้อย่างเหมาะสม และสามารถสนับสนุนการทำงานของท่านให้เกิดประสิทธิภาพมากที่สุด
คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Encoder เอ็นโค้ดเดอร์ ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น
ดูให้รู้ถึงวิธีการติดตั้ง Encoder ให้ดี เขาทำกันอย่างไร?
การติดตั้ง เอ็นโค้ดเดอร์ นั้น มีความสำคัญมาก ซึ่งจะมีผลต่ออายุการใช้งาน และ ความเที่ยงตรงในการวัด เนื่องจากมีปัจจัยต่างๆ ที่หลากหลายเข้ามาเกี่ยวข้อง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของปัจจัยทางด้านสภาวะแวดล้อม ปัจจัยเรื่องของทางกล
โดยการติดตั้งตัวเอ็นโค้ดเดอร์เข้ากับแกนของมอเตอร์ หรือ เครื่องจักรที่อยู่กับที่ ในบางครั้งแกนของเครื่องจักรเหล่านี้ จะสามารถรองรับแรงทางกลได้มาก แต่เมื่อเทียบกับแกนของเอ็นโค้ดเดอร์เอง การรับแรงจะต่างกันอย่างมาก

การเชื่อมต่อ Encoder แบบ Shaft Type และ Hollow Shaft Type
โดยปกติแล้วแกนของเอ็นโค้ดเดอร์จะมีอยู่ 2 รูปแบบ คือ Shaft และ Hollow Shaft ซึ่งแบบ Shaft จะมีลักษณะเป็นแกนยื่นออกมา โดยในการติดตั้งใช้งานนั้นจะต้องอาศัยอุปกรณ์ที่ใช้ในการเชื่อมระหว่างตัวเอ็นโค้ดเดอร์เข้ากับชิ้นงาน ซึ่งอุปกรณ์เหล่านี้จะมีหลากหลายรูปแบบ เช่น Flexible Coupling จะช่วยในการติดตั้งเอ็นโค้ดเดอร์ให้ง่ายขึ้น เนื่องจากจะสามารถช่วยลดการเสียหายในกรณีที่การติดตั้งที่มีการเยื้องศูนย์ทำให้เกิดแรงเหวี่ยง ส่งผลให้เกิดแรงที่ไม่ต้องการไปยังแกนของเอ็นโค้ดเดอร์ และส่งต่อไปยัง Bearing ด้านใน ซึ่งเป็นอีกสาเหตุหลักที่ทำให้อายุการใช้งานสั้นลง
สำหรับเอ็นโค้ดเดอร์แบบ Hollow Shaft นั้นจะสามารถลดปัญหาเรื่องการติดตั้งลงได้บ้าง เนื่องจากการเยื้องศูนย์นั้นเกิดขึ้นได้ยากกว่า แต่สำหรับเรื่องของแรงสั่นสะเทือนนั้น จะไม่สามารถแก้ไขได้ นอกจากนี้ยังมีปัจจัยอื่นๆ อีกที่ต้องคำนึงถึงในการติดตั้ง ได้แก่
Maximum Shaft Loading
แรงสูงสุดที่กระทำกับเพลาหรือแกนของเอ็นโค้ดเดอร์
Shock
ค่าความเร่งสูงสุดที่เกิดจากการหมุนของเพลาของเอ็นโค้ดเดอร์
Vibration
ค่าการสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่องสูงสุดที่เอ็นโค้ดเดอร์ทนต่อได้
Short circuit protection
วงจรป้องกันการเสียหายของภาคเอาท์พุตของเอ็นโค้ดเดอร์
Reverse polarity protection
วงจรป้องกันการเสียหายของภาคเอาท์พุตของเอ็นโค้ดเดอร์
Operating temperature
ค่าอุณหภูมิสูงสุดที่เอ็นโค้ดเดอร์ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ
IP protection ratings
มาตรฐานในการป้องกันฝุ่นและน้ำของเซ็นเซอร์
IP69K
มาตรฐานตัวใหม่ที่เดิมทีถูกกำหนดโดยประเทศเยอรมัน
NEMA rating
มาตรฐานที่คล้ายกับตัว IP Rated แต่มีการกำหนดมาตรฐานจากอเมริกา
Maximum Shaft Loadings
คือ แรงสูงสุดที่กระทำกับเพลา หรือแกนของเอ็นโค้ดเดอร์ ซึ่งจะมีผลทำให้ตัว Bearing ที่อยู่ภายในตัวเอ็นโค้ดเดอร์ได้รับความเสียหาย ดังนั้นควรเลือก Encoder ที่มีค่า Maximum Shaft Loadings ที่เหมาะสมกับการใช้งาน ซึ่งในเอ็นโค้ดเดอร์หลายๆ ยี่ห้อ เช่น Lika จะมีค่าเหล่านี้บอกไว้ใน Data Sheet

ภาพแสดงแรงสูงสุดที่กระทำกับเพลา หรือแกนของเอ็นโค้ดเดอร์
Shock
คือ ค่าความเร่งสูงสุดที่เกิดจากการหมุนของเพลาของเอ็นโค้ดเดอร์ โดยเราจะอ้างอิงกับมาตรฐาน IEC 60068-2-27 EN: 2008 ซึ่งมีการทดสอบที่การเร่งความเร็วสูงสุด 100g ในช่วงระยะเวลา 6 มิลลิวินาที โดยสามารถดูค่า Shock สูงสุดที่สามารถทนได้ สำหรับเอ็นโค้ดเดอร์แต่ละรุ่นได้ในคู่มือ เพราะถ้าสูงมากกว่านี้อาจทำให้เกิดการเสียหายแก่ชิ้นส่วนภายในได้ เช่น วงจรอิเล็กทรอนิกส์ หรือแผ่น Code Disk อาจแตกร้าวได้
Vibration
คือ ค่าการสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่องสูงสุดที่ตัวเอ็นโค้ดเดอร์สามารถที่จะทนต่อได้ โดยไม่ทำให้ชิ้นส่วนทางกลเกิดการสูญเสีย ซึ่งจะอ้างอิงไปตามมาตรฐานการทดสอบการสั่นสะเทือนซึ่งดำเนินการในการปฏิบัติตามมาตรฐานสากล IEC EN 60068-2-6: 2007 โดยมีการทดสอบที่ค่าแรงสั่นสะเทือน 10 g, ความถี่ 5-2000 Hz ค่าแอมปลิจูดที่ 0.75 มิลลิเมตร และสามารถดูค่า Vibration สูงสุดที่สามารถทนได้ ของเอ็นโค้ดเดอร์แต่ละรุ่นได้ในคู่มือ
Short circuit protection
เป็นวงจรที่ป้องกันการเสียหายของภาคเอาท์พุตของเอ็นโค้ดเดอร์ ในกรณีที่มีเกิดความผิดพลาดแล้วทำให้สัญญาณเอาท์พุตไปสัมผัสกับขาแรงดันศูนย์ โดยปราศจากโหลด ซึ่งจะทำให้เกิดการเสียหายแก่วงจรภาคเอาท์พุตได้ ดังนั้นเอ็นโค้ดเดอร์ที่ดีควรมีวงจรป้องกันการเกิด Short circuit และควรตรวจสอบการเดินสายไฟให้เรียบร้อยทุกครั้งก่อนการเริ่มจ่ายไฟ
Reverse polarity protection
เป็นวงจรที่ป้องกันการเสียหายของภาคเอาท์พุตของเอ็นโค้ดเดอร์ ในกรณีที่มีเกิดความผิดพลาดจากการต่อสายไฟเลี้ยงวงจรผิดขั้ว ซึ่งจะทำให้เกิดการเสียหายแก่วงจรภายในได้ ดังนั้นเอ็นโค้ดเดอร์ที่ดีควรมีวงจรป้องกันการเกิด Reverse polarity และ ควรตรวจสอบการเดินสายไฟให้เรียบร้อยทุกครั้งก่อนการเริ่มจ่ายไฟเช่นกัน
Operating temperature
เป็นค่าอุณหภูมิสูงสุดที่เอ็นโค้ดเดอร์ยังสามารถทำงานได้ตามปกติ และไม่ทำให้เกิดการเสียหายแก่ตัวเอ็นโค้ดเดอร์ด้วย โดยมีการอ้างอิงกับมาตรฐาน CEI IEC 68-2-1 and CEI IEC 68-2-2 และสามารถดูค่า Operating temperature สูงสุดที่สามารถทนได้ของเอ็นโค้ดเดอร์แต่ละรุ่นได้ในคู่มือ
IP protection ratings
เป็นมาตรฐานในการป้องกันฝุ่นและน้ำของเซ็นเซอร์ หรืออุปกรณ์ที่ใช้ไฟฟ้าโดยทั่วๆ ไป ซึ่งสามารถใช้เป็นตัวอ้างอิงในการช่วยเลือกตัวเอ็นโค้ดเดอร์ ให้เหมาะกับการติดตั้งในสภาวะแวดล้อมต่างๆ ได้เป็นอย่างดี ซึ่งตัวเลขยิ่งสูง ยิ่งสามารถทนต่อสภาวะแวดล้อมที่มีฝุ่นและน้ำได้ดีมากขึ้น ดังรูปต่อไปนี้

ภาพแสดงระดับของการป้องกันฝุ่นและน้ำของตัวเอ็นโค้ดเดอร์ ตามมาตรฐาน IEC 60529
IP69K
เป็นมาตรฐานตัวใหม่ที่เดิมทีถูกกำหนดโดยประเทศเยอรมัน ตามมาตรฐาน DIN 40050-9 เพื่อใช้กับยานพาหนะ แต่ปัจจุบันได้กำหนดไว้ในมาตรฐานสากล IEC 60529 ซึ่งจะมีความเข้มข้นในเรื่องของการป้องกันฝุ่นและน้ำ ภายใต้อุณหภูมิที่สูงขึ้น และมีแรงดัน ซึ่งมักจะใช้ในระบบที่มีการฉีดน้ำเพื่อชำระล้าง
NEMA rating
เป็นมาตรฐานที่มีลักษระคล้ายกับตัว IP Rated แต่มีการกำหนดมาตรฐานจากอเมริกา ซึ่งเราสามารถเทียบเคียงมาตรฐาน NEMA มาเป็น IP ได้ตามรูปต่อไปนี้

ภาพแสดงการเทียบเคียงมาตรฐาน NEMA มาเป็น IP rating
จากข้อมูลทั้งหมดคงทำให้ท่านได้รู้ว่าวิธีติดตั้ง Encoder ให้ดีนั้นเขาต้องคำนึงถึงปัจจัยต่างๆ ที่มีผลต่อการติดตั้ง ไม่ว่าจะเป็น แรงสูงสุดที่กระทำกับเพลา ค่าการสั่นสะเทือนอย่างต่อเนื่องที่มีผล ชนิดวงจรของภาคเอาท์พุตที่ใช้ และอีกหลากหลายปัจจัยมากมายที่เราจำเป็นต้องรู้ โดยทั้งหมดนี้คือพื้นฐานที่จะช่วยเพิ่มความเข้าใจว่าเอ็นโค้ดเดอร์คืออะไร? ซึ่งจะทำให้ท่านสามารถใช้งานและเลือกใช้สินค้าเอ็นโค้ดเดอร์ได้อย่างถูกต้อง และจะส่งผลให้ท่านมีความสะดวกในการทำงาน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มอายุการใช้ และประสิทธิภาพให้กับงานของท่านได้อีกด้วย
หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไปดูและเลือกซื้อ Encoder เอ็นโค้ดเดอร์ ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ
ดาวน์โหลดคู่มือ Encoder เอ็นโค้ดเดอร์
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือและศูนย์รวมข้อมูล Encoder เอ็นโค้ดเดอร์ คุณสามารถดาวน์โหลดบทความทุกบทในรูปแบบไฟล์เอกสารได้ที่นี่เลย มีเรื่องที่น่าสนใจดังนี้
- เอ้นโค้ดเดอร์ Encoder คืออะไร?
- มารู้จักประเภท Rotary Encoder กัน
- ประเภทเอาท์พุท Encoder รู้ไปแล้วได้อะไร
- อุปกรณ์เสริมช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ Encoder
- จะเลือก Encoder ทั้งที่ ต้องดูกันที่อะไรบ้าง
- มาดูให้รู้วิธีติดตั้ง Encoder เขาทำกันอย่างไร
- การประยุกต์ใช้ Rotary encoder
แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อ Encoder เอ็นโค้ดเดอร์
แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) Encoder เอ็นโค้ดเดอร์ ที่เราได้รวบรวมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อ Encoder เอ็นโค้ดเดอร์
ซึ่งในบทความนี้เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย อาทิเช่น แบรนด์ Lika และ Autonics