สวัสดีครับ…บล็อก Factomart.com ขอต้อนรับสู่โลกของแหล่งความรู้ซึ่งรวมเนื้อหาทางด้านอุปกรณ์อุตสาหกรรมไว้มากมาย ซึ่งวันนี้เราขอนำเสนอหลักการทำงานของ Warning Light สัญญาณไฟเตือนสามารถแสดงสถานะการทำงานของเครื่องจักรพร้อมเตือนภัยอันตรายต่างๆ ที่จะเกิดขึ้นได้
คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Warning Light หรือไฟสัญญาณเตือน ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น
หลักการทำงานของ Warning Light
เปรียบเทียบประเภทของแหล่งกำเนิดแสง Light Source
ในการเปรียบเทียบอายุการใช้งาน ความสว่าง และความคุ้มค่าในการใช้งานของแหล่งกำเนิดแสงต่างๆ ในการเปรียบเทียบนั้น จะเป็นการเปรียบเทียบคุณลักษณะและคุณสมบัติโดยทั่วๆ ไป จากกลุ่มตัวอย่าง 100 กลุ่ม
โดยจากรูปกราฟ Radar จะสามารถสรุปได้ว่า
จากข้อสรุปที่ได้มานั้นทำให้ทราบว่าแหล่งกำเนิดแสงประเภท Xenon Lamp Strobe Type เป็นแหล่งกำเนิดที่ให้ความสว่างมากกว่าแหล่งกำเนิดแสงประเภทอื่นๆ และแหล่งกำเนิดแสงที่มีอายุการใช้งานที่ยาวนานที่สุดคือแหล่งกำเนิดแสงประเภท LED Steady/Flash Type ซึ่งจริงๆ แล้วแหล่งกำเนิดแสงประเภทนี้นั้นจะให้แสงสว่างที่ต่ำที่สุดแต่ด้วยปัจจุบันเทคโนโลยีการผลิตหลอด LED ได้พัฒนาขึ้นมาก ทำให้สามารถผลิตหลอดที่มีความสว่างใกล้เคียงกับหลอดไส้แบบวัตต์สูงๆ ได้ จึงเป็นแหล่งกำเนินแสงอย่างหนึ่งที่น่านำมาใช้งาน
รูปแบบการกระจายแสงของ Signal Light ผ่านเลนส์
การกระจายแสงแบบ B/BF - Bulb/Bulb Flickering
การกระจายแสงแบบ B/BF – Bulb/Bulb Flickering เป็นการกระจายแสงโดยอาศัยแหล่งกำเนิดแสงที่เป็นหลอดไส้ โดยแสงจะเกิดจากตรงกลางแล้วผ่านไปยังตัวฝาครอบที่ออกแบบเป็นพิเศษ ซึ่งมีลักษณะเป็นหยักหรือเป็นคลื่นมีลักษณะคล้ายเลนส์ เพื่อให้เกิดการลดทอนของสเปคตรัมของแสงที่ต้องการให้น้อยที่สุด ซึ่งจะทำให้ได้แสงสีที่ต้องการจริงๆ
โดยการใช้งานของการกระจายแสงแบบนี้เหมาะกับการใช้งานที่ต้องการมองเห็นในระยะใกล้และมีการกระจายแสงแบบรอบทิศทาง ในรุ่นที่มีการกระพริบจะกระพริบด้วยความเร็ว 80-100 ครั้งต่อนาที โดยสามารถควบคุมการกระพริบของหลอดไฟได้จากสายไฟควบคุมการกระพริบ
การกระจายแสงแบบ R - Bulb Revolving
การกระจายแสงแบบ R – Bulb Revolving เป็นรูปแบบการกระจายแสงที่พบมากในการใช้งาน Warning Light หรือไฟหมุน ซึ่งแสงที่ส่งออกมาจะอาศัยการสะท้อนของแผ่นสะท้อนภายในทีมีพื้นผิวโครงสร้างเป็นมุม เพื่อให้เกิดการรวมและสะท้อนแสงออกเป็นแนวตรงมากที่สุด ซึ่งผลที่ได้ทำให้แสงสามารถเดินทางได้ใกล้ขึ้น จึงเหมาะสำหรับการใช้งานในระยะการมองเห็นได้ไกลกว่าแบบการกระจายแสงแบบ B/BF – Bulb/Bulb Flickering ซึ่งตัวฝาครอบจะถูกออกแบบให้มีความเรียบและใสมากที่สุด เพื่อให้แสงสามารถส่องไปได้ไกลตามการหมุนของตัวแผ่นสะท้อนภายใน ซึ่งสามารถปรับความเร็วในการหมุนได้
การกระจายแสงแบบ L/LF – LED หรือ LED Flashing
การกระจายแสงแบบ L/LF – LED หรือ LED Flashing เป็นรูปแบบการกระจายแสง โดยมีทิศทางของแสงเป็นแบบตรงด้วยเหตุผลที่ว่าหน้าเลนส์ของ LED จะทำมุมประมาณ 30 องศา โดยแสงที่เกิดขึ้นจะเกิดจากกลุ่มของหลอด High brightness LED ขนาดเล็กๆ จำนวนมากเพื่อให้ได้ความเข้มแสงสูงส่องผ่านตัวฝาครอบที่ลักษณะเป็นคลื่นๆ เหมือนเลนส์เพื่อให้เกิดการรวมแสงเวลาส่งออกไปในการควบคุมการทำงานของการกระพริบนั้น สามารถควบคุมได้จากภายนอกโดยความเร็วในการกระพริบจะอยู่ที่ประมาณ 80-100 ครั้งต่อนาที การใช้งานเหมาะกับงานที่ต้องการมองเห็นในระยะไม่ไกลมากนัก
การกระจายแสงแบบ LR – LED Revolving
การกระจายแสงแบบ LR – LED Revolving เป็นรูปแบบการกระจายแสง โดยอาศัยหลักการแพร่กระจายแสงของหลอด High brightness LED ขนาดเล็กๆ จำนวนมาก เพื่อให้ได้ความเข้มแสงสูง สะท้อนกับแผ่นสะท้อนแบบเรียบชนิดพิเศษที่ความสามารถในการสะท้อนสูง โดยทำมุมเป็น 90 องศา และแผ่นสะท้อนนี้จะหมุนรอบแหล่งกำเนิดแสง การใช้แผ่นสะท้อนแบบเรียบก็เพราะว่าแสงของหลอด LED นั้นเดินทางเป็นเส้นตรงอยู่แล้ว ซึ่งจากการทำงานแบบนี้ทำให้แสงสามารถเดินทางไปได้ไกลกว่าแบบกระจายแสงอื่นๆ จึงเหมาะกับการใช้งานระยะทางไกลๆ แต่อย่างไรก็ตาม หลอดไฟ LED สามารถถูกรบกวนจากแสงอาทิตย์ได้ จึงเหมาะกับการใช้งานภายในอาคารมากกว่า กลางแจ้ง
การกระจายแสงแบบ X – Xenon Lamp Strobe
การกระจายแสงแบบ X-Xenon Lamp Strobe เป็นรูปแบบการกระจายแสงแบบกระพริบ โดยมีความเข้มแสงและสว่างมากที่สุด โดยปกติแล้วหลอด Xenon จะกระพริบอยู่ที่ความเร็ว 80-100 ครั้งต่อนาที โดยหลอดประเภทนี้สามารถแบ่งออกเป็นย่อยๆ ได้ เช่น กระพริบ 1 ครั้ง กระพริบ 2 ครั้ง หรือกระพริบ 3 ครั้ง ติดกันเป็นชุดๆ ซึ่งขึ้นอยู่กับรูปแบบความหมายของสัญญาณ รูปแบบการกระจายแสงแบบนี้จะคล้ายๆ กับแสงอาทิตย์ จึงสามารถใช้งานกลางแจ้งได้เนื่องจากมีความเข้มแสงที่มากกว่า ทำให้ง่ายต่อการมองเห็น โดยสีของแสงที่ได้จะขึ้นอยู่กับสีของฝาครอบ เช่น ฝาครอบสีแดง แสงที่ได้ก็จะเป็นสีแดง
คุณลักษณะและคุณสมบัติของเสียง Sound Characteristics
ในระบบการให้สัญญาณเตือนโดยใช้เสียงนั้น เราจำเป็นต้องศึกษารูปแบบและคุณสมบัติของเสียง เพื่อให้สามารถนำไปใช้งานได้อย่างถูกต้อง และปลอดภัยกับผู้ใช้งาน โดยคุณสมบัติพื้นฐานที่จำเป็นต้องศึกษามีดังนี้
ความดังของเสียง Loudness of Sound
ในการส่งสัญญาณเตือนด้วยเสียงนั้น สิ่งหนึ่งที่จำเป็นต้องคำนึงถึงก็คือเรื่องของความดัง ซึ่งหน่วยที่เราเรียกใช้กันเป็นมาตรฐานนั้นก็คือ Decibel (dB) โดยความดังของเสียงนั้นจะแปรพันตามระดับความสูงของรูปคลื่นเสียงหรือ Amplitude โดยถ้ารูปคลื่นเสียงมีค่า Amplitude สูงก็จะให้เสียงที่ดังกว่า ความดันของเสียงนั้นที่พูดถึงในหน่วยของ dB จะเป็นการอ้างอิงระหว่างค่าความดันของเสียงมาตรฐานเทียบกับค่าความดันของเสียงที่วัดได้ ซึ่งจะมีค่าเป็นบวกเท่านั้น
จากสมการ Level of Sound Pressure (LP)=20log (P/P1) มีหน่วยเป็น dB สามารถอธิบายได้ว่า เมื่อ P = P1 หรือค่าความดันเสียงที่วัดได้เทียบกับค่าความดันอ้างอิง ความดันของเสียงจะมีค่าเป็น 0 dB, แต่ถ้าความดันที่วัดได้มีค่าเป็น 2 เท่าของความดันอ้างอิง ค่าความดันของเสียงจะมีค่าเป็น 6 dB, และถ้า 3 เท่า ค่าความดันของเสียงจะมีค่าเป็น 9 dB โดยสัญญาณเสียงเตือนที่ใช้กันโดยทั่วๆ ไปจะมีค่าความดันเสียงอยู่ที่ระดับ 80 – 130 dB
มาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับสินค้า
ความถี่ของเสียง Frequency (Pitch) of Sound
ความถี่เสียงเป็นเรื่องของความรู้สึกในการรับฟังหรือรับรู้ในเรื่องของการสั่นสะเทือนของคลื่นความถี่ แต่ในทางวิชาการเราพูดถึงจำนวนรูปคลื่นที่เกิดขึ้นใน 1 วินาที ซึ่งโดยปกติแล้วการรับฟังหรือได้ยินของหูคนนั้นจะอยู่ที่ความถี่ 20 – 2000 Hz ซึ่งเป็นย่านความถี่ของเสียงอยู่แล้ว ในการเลือกใช้งานความถี่เสียงนั้นโดยปกติจะขึ้นอยู่กับงานที่ต้องการใช้ เช่น เสียงเตือนภัยที่แสดงถึงความอันตรายมากๆ ก็จะนิยมใช้เสียงที่สูง
หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไปดูและเลือกซื้อ Warning Light ไฟสัญญาณเตือน ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ
ดาวน์โหลดคู่มือ Warning Lights ไฟสัญญาณเตือน
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของคู่มือและศูนย์รวมข้อมูล Warning Lights ไฟสัญญาณเตือน คุณสามารถดาวน์โหลดบทความทุกบทในรูปแบบไฟล์เอกสารได้ที่นี่เลย
โดยมีเรื่องที่น่าสนใจเกี่ยวกับ ซอฟสตาร์ท (Soft Starter) ทั้งหมด ไม่ว่าจะ Warning Lights คืออะไร หลักการทำงาน ประเภทของ Warning Lights วิธีการเลือกใช้ Warning Lights การติดตั้งและข้อควรระวัง และเรียนรู้การประยุกต์ใช้งาน โดยคุณสามารถดาวน์โหลดคู่มือไปศึกษาได้ฟรี
แคตตาล็อกและราคา สำหรับเลือกซื้อ Warning Lights ไฟสัญญาณเตือน
แหล่งร่วมแคตตาล็อกและราคา (Price list) Warning Lights ไฟสัญญาณเตือน ที่เราได้รวบรวมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเพิ่มความสะดวกสำหรับผู้ที่สนใจหรือกำลังหาข้อมูลเพื่อทำการเลือกซื้อ Warning Lights ไฟสัญญาณเตือน
ซึ่งในบทความนี้เราได้เตรียมแคตตาล็อกจากแบรนด์ที่ถือได้ว่าเป็นแบรนด์ที่ได้รับความนิยมอย่างแพร่หลายในอุตสาหกรรมของเมื่องไทย อาทิเช่น Autonics, Patlite, Werma, Q Light และ Schneider Electric ที่ครบถ้วน พร้อมเอกสารให้ดาวน์โหลดฟรี