การเลือกใช้ Inductive Proximity Sensor

Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์

Share this post

ถ้าการเลือกเซนเซอร์สักตัวไปใช้งานนั้นจะต้องเริ่มต้นจากสิ่งใด มีอะไรบ้างที่จะทำให้การเลือกเซนเซอร์ไปใช้งานแล้วเหมาะกับงานที่สุด ป้องกันความผิดพลาดหากเซนเซอร์ที่เลือกไปนั้นไม่เหมาะกับงานบ้าง ใช้งานไม่ได้บ้าง สุดท้ายก็ต้องไปหาซื้อมาใหม่ ทำให้เสียทั้งเวลาและเงินยิ่งขึ้นไปอีก ทางเรามีปัจจัย 9 ข้อที่ช่วยให้คุณมีแนวทางในการเลือกเซนเซอร์ไปใช้งานนั้นง่ายขึ้น ปัจจัยเหล่านี้จะมีบอกตั้งแต่ลักษณะของวัสดุที่วัดจนถึงตัวเซนเซอร์ ช่วยเพิ่มความแม่นยำในการตรวจสอบชิ้นงานหรือวัสดุในพื้นที่การผลิตของคุณ

คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ และ ศูนย์รวมข้อมูล Inductive Proximity Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น

นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น และคุณสามารถไป ดูและเลือกซื้อเซนเซอร์รุ่นต่างๆ ได้ที่หน้าช้อปออนไลน์ของเรา ที่มีเซนเซอร์หลากหลายรุ่น หลากหลายแบรนด์ ในราคาถูกและคุณภาพดี พร้อมกับสอบถามข้อมูลสินค้าและข้อสงสัยได้กับทางเรา

9 ปัจจัยในการเลือก อินดักทีฟพร็อกซิมิตี้เซนเซอร์

1. ประเภทของชิ้นงาน

มีผลกับระยะของการตรวจจับ

2. ระยะทางในการตรวจจับ

Sn & Sd

3. ความถี่ในการตรวจจับ

ความเร็วสูงสุดของวัตถุ

4. ขนาด

บอกหน่วยเป็น Metrix

5. แบบสาย

PVC หรือ PU

6. แหล่งจ่ายไฟ

ขึ้นอยู่กับหน้างานและตัวควบคุม

7. สัญญาณเอาท์พุต

NPN หรือ PNP

8. Switching Function

NO หรือ NC

9. IP Rating

การป้องกันน้ำและฝุ่น

1. ประเภทของชิ้นงาน

ชนิดของโลหะมีความสัมพันธ์กับระยะการตรวจจับหรืออาจพูดได้ว่าเซ็นเซอร์มีระยะในการตรวจจับวัตถุแต่ละชนิดไม่เท่ากัน โดยเราสามารถเลือก ระยะในการตรวจจับ Sensing Distance ให้มีความสัมพันธ์กับชนิดของโลหะ เช่น เหล็ก ทองแดง ซึ่งเราสามารถเอา Factor มาเป็นตัวคูณเพื่อคำนวณหาระยะทางที่แท้จริงในการตรวจจับ

[TS_Advanced_Tables id=”36″ table_scope=”tablesaw” columns_widthlimit=”false”]

2.ระยะทางในการตรวจจับ

ปกติเราจะพิจารณาอยู่ 2 ค่า นั่นก็คือ (Sn), (Sd) ซึ่งแต่ละค่าจะมีความหมายดังนี้ (Sn) หรือ Normal Sensing Distance  จะเป็นค่าของระยะในการตรวจจับ ตามมาตรฐานที่ถูกทดสอบกับแผ่นมาตรฐาน ตาม IEC 947-5-2 โดยจะเป็นระยะที่สามารถตรวจจับได้จริง (Sd) หรือ Sensing Distance จะเป็นค่าระยะในการตรวจจับสูงสุดที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งขึ้นอยู่กับขนาดของ Coil ภายใน Inductive Proximity Sensor โดยเราไม่ควรนำค่านี้มาพิจารณาในการเลือกใช้งานตรวจจับในระยะปกติ แต่ควรใช้พิจารณาถึงโอกาสที่จะมีวัตถุไม่พึงประสงค์ผ่านเข้ามาในระยะตรวจจับเท่านั้น

Inductive Proximity Sensor

ค่าระยะทางตรวจจับสูงสุด (Sd) ที่ตัว Proximity Sensor สามารถตรวจจับได้ของ M12

3.ความถี่ในการตรวจจับหรือ Switching Frequency

ส่วนนี้เป็นส่วนที่มีความสำคัญอย่างยิ่งในเรื่องของการเลือกใช้งาน Inductive Proximity Sensor โดยเราจะพิจารณาจากความเร็วสูงสุดของวัตถุหรือชิ้นงานที่วิ่งผ่านด้านหน้าของ Inductive Proximity Sensor โดยที่เซ็นเซอร์นั้นยังคงตรวจจับและวัดค่าได้อย่างแม่นยำ ตัวอย่างเช่น การใช้งาน Inductive Proximity Sensor ในงานตรวจจับความเร็วรอบของเฟืองที่ต้องพิจารณาเรื่องความถี่ ถ้าเป็น Proximity ที่มี Switching Frequency 1 kHz จะมีความเร็วในการตรวจจับชิ้นงานที่ 1 ms หรือ 1000 ชิ้นต่อวินาที

การคำนวณหาค่าความถี่สูงสุดในการตรวจจับของ Proximity Sensor

4.ขนาดของ Inductive Proximity Sensor (Housing size)

ขนาดเป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับเรื่องระยะทางในการตรวจจับหรือ ค่า (Sn) โดยที่นิยมใช้งาน ส่วนมากนั้นจะมีขนาดบอกเป็นหน่วย Metrix คือ M8x1, M12x1, M18x1, M30x1.5 ซึ่งเป็นรูปทรงกระบอกมีเกลียว โดยถ้ามีขนาดเล็กจะให้ ค่า Sn ที่ใกล้กว่าที่มีขนาดใหญ่ ในส่วนของทรงสี่เหลี่ยมส่วนใหญ่แล้วจะมีรูปร่างที่ไม่เป็นมาตรฐานขึ้นอยู่กับแต่ละผู้ผลิต

ขนาดของ Inductive Proximity Sensor

5.แบบสายหรือคอนเน็คเตอร์

การเลือก Inductive Proximity Sensor ประเภทที่มีสายในตัวและแบบใช้คอนเน็คเตอร์ โดยชนิดของสายจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการติดตั้งว่ามีสภาวะแวดล้อมเป็นแบบใด มีน้ำมันหรือสาระระเหยที่มีผลต่อวัสดุที่นำมาใช้ทำสายไฟหรือไม่ โดยวัสดุมาตรฐานที่ใช้ทำสายไฟจะเป็นแบบ PVC หรือหากต้องการความทนทานมากขึ้นจะเหมาะกับแบบ PU มากกว่า ส่วนรุ่นที่เป็น Connector นั้นจะมีโครงสร้างหรือวัสดุเป็นแบบเดียวกับสายเพียงแต่จะใช้ Connector ขนาด M8 หรือ M12 ต่อกับตัว Proximity Sensor แทนเพื่อให้สะดวกต่อการติดตั้งและบำรุงรักษา

Inductive Proximity Sensor

Proximity Sensor แบบคอนเน็คเตอร์ และแบบมีสาย

6.แหล่งจ่ายไฟ Power Supply

การเลือกใช้งานแหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับเซ็นเซอร์นั้นขึ้นอยู่กับหน้างานและตัวควบคุมที่รับสัญญาณจากตัวเซ็นเซอร์ ตัวอย่างเช่น อุปกรณ์ คอนโทรลเลอร์เป็นพวก PLC, Counter, Timer, Pulse Meter ก็จะใช้แหล่งจ่ายไฟชนิด DC 10-30V ซึ่งมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากกว่า แต่ถ้าโหลดเป็นอุปกรณ์ที่เป็น AC เช่น Coil AC 220VAC ก็สามารถใช้เซ็นเซอร์ที่ใช้แหล่งจ่ายไฟแบบ AC 220V ได้ เช่นกัน แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการต่อสายให้ถูกต้อง

7.สัญญาณเอาท์พุต NPN หรือ PNP

หลายครั้งมักมีคำถามว่าควรจะใช้เซ็นเซอร์ที่มีสัญญาณเอาท์พุตเป็นแบบ NPN หรือ PNP หรือบางครั้งจะมีผู้ใช้งานบางส่วนเรียก common – หรือ common + ซึ่งจริงๆ แล้ว NPN นั้นก็คือ common – และ PNP นั้นก็คือ common + ดังนั้นการเลือกใช้เราจะพิจารณาจากวงจรที่เราไปใช้ว่ามี Common เป็นแบบใด

Proximity Sensor

วงจร NPN และ PNP ของ Proximity Sensor แบบคอนเน็คเตอร์ และแบบมีสาย

8.Switching Function NO หรือ NC

Switching Function หรือบ้างครั้งจะเรียกว่า ปกติเปิด (NO) หรือปกติปิด (NC) การเลือกใช้งานในส่วนนี้จะขึ้นอยู่กับฟังก์ชั่นการทำงานของตัวเซ็นเซอร์ โดยในกรณีที่เป็นการต่อตัวเซ็นเซอร์ในวงจรที่เป็นการตัดการทำงานหรือส่วนของการป้องกันจะนิยมใช้แบบ Normally Close (NC) หรือปกติปิด แต่ถ้าเป็นวงจรทริกเกอร์ทั่วไป เช่น การเริ่มวงจร, การนับจำนวน ก็จะนิยมใช้งานเป็นแบบ Normally Open (NO) หรือปกติเปิด นอกจากนี้ในเซ็นเซอร์บางรุ่นอาจมีทั้งสองวงจรภายในตัว ซึ่งจะขึ้นอยู่กับการต่อสาย

Proximity Sensor

วงจร NO และ NC ของ Proximity Sensor แบบคอนเน็คเตอร์และแบบมีสาย

9. IP Rating

เป็นมาตรฐานที่บ่งชี้ถึงระดับการป้องกันน้ำและฝุ่นของตัวเซ็นเซอร์เอง แต่โดยปกติตัว Inductive Proximity Sensor ในปัจจุบันจะมีค่า IP67 อยู่แล้ว ซึ่งเป็นค่าที่สามารถทนต่อฝุ่นและน้ำในการใช้งานปกติได้อย่างสบาย แต่สำหรับงานที่ต้องการใช้งานตัวเซ็นเซอร์ในสภาวะแวดล้อมที่เลวร้ายก็จะมีเซ็นเซอร์รุ่นพิเศษที่มี IP สูงกว่านี้เช่น IP68K โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ IP Rating


ตัวอย่างในการเลือกใช้ inductive proximity sensor

ที่มา:http://www.sickinsight-online.com/speed-and-acceleration-always-under-control-with-sam-inductive-proximity-sensor/

การใช้งาน Inductive Proximity Sensor ในงานตรวจจับความเร็วรอบของเฟืองที่มีฟันเฟือง 12 ฟันเฟืองและความเร็วรอบ 3000 รอบต่อนาที (RPM)

1. ประเภทของชิ้นงาน

เนื่องจากเฟืองเป็นโลหะ จึงต้องใช้เซนเซอร์ประเภท Inductive proximity sensor เหมาะสำหรับตรวจจับชิ้นงานหรือตำแหน่งวัตถุที่เป็นโลหะเท่านั้น

2. ระยะทางในการตรวจจับ

วัสดุที่ตรวจจับเป็นเหล็ก สามารถหาระยะทางในการตรวจจับ ตามค่า 1.00 x อัตราระยะตรวจจับ

3. ความถี่ในการตรวจจับหรือ Switching Frequency

สามารถคำนวนได้ตามสมการดังนี้

RPM = f x 60 x (1/N)

โดยที่ RPM = หน่อยความเร็วรอบต่อนาที
f = ความถี่
N = จำนวนพัลล์ต่อรอบ

จากความต้องการในการวัดความเร็วนั้นอยู่ที่ 3000 RPM และฟันเฟืองมีทั้งหมด 12 ฟันเฟืองหรือ 12 พัลล์ต่อรอบ

ดังนั้น                                                                        f = (3000 x 12) /(60)

                                                                                 f = 600 Hz

จากการคำนวณจะเห็นไดว่าค่าความถี่ที่ต้องใช้อย่างน้อย 600 Hz หากต้องเลือกใช้งานจริงแนะนำให้เผื่อเพิ่มขึ้นซึ่งในครั้งนี้เราจะเลือก Inductive Proximity Sensor ที่มีความถี่ 800 Hz

4. ขนาดของ Inductive Proximity Sensor (Housing size)

การเลือกขนาดของเซนเซอร์จะขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการติดตั้ง หากเป็นพื้นที่แคบจะใช้เซนเซอร์ขนาดเล็ก หากเป็นพื้นที่กว้างจะใช้เซนเซอร์ขนาดใหญ่ได้ ครั้งนี้เลือกเซนเซอร์ขนาด M8 ที่มีระยะ Sn เท่ากับ 2 mm

5. แบบสายหรือคอนเน็คเตอร์

เลือกใช้แบบสายเคเบิลในการเชื่อมต่อเซนเซอร์

6. แหล่งจ่ายไฟ Power Supply

การเลือกแหล่งจ่ายไฟจะขึ้นอยู่กับหน้างานและตัวควบคุมที่รับสัญญาณจากตัวเซ็นเซอร์ แหล่งจ่ายไฟเป็น PLC ที่จ่ายไฟ 12 – 24VDC

7. สัญญาณเอาท์พุต NPN หรือ PNP

การเลือกสัญญาณเอาท์พุตจะขึ้นอยู่กับ PLC ดังนั้นเอาต์พุตเป็นแบบ NPN

8. Switching Function NO หรือ NC

เลือกการทำงานแบบ แบบ Normally Open (NO)

9. IP Rating

มาตรฐาน IP ขึ้นอยู่กับสภาพแวดล้อมที่นำไปติดตั้งว่ามีฝุ่นหรือน้ำในพื้นที่นั้นมากน้อยเท่าใด

จากการที่พิจารณาทั้ง 9 ข้อ พบว่า Inductive Proximity Sensor รุ่นที่เหมาะสม มีดังนี้ รุ่น F3C-12KS02-N R2M ของแบรนด์ F&C และรุ่น BES M12MI-NSC20B-BP03 ของแบรนด์ Balluff

รุ่น แบรนด์
ขนาด
ระยะตรวจ
จับ
ความถี่ เอาท์พุท ฟังก์ชัน
เอาท์พุท
Supply IP ราคา
F3C-12KS02-N R2M F&C M12 2mm 800Hz NPN NO 12 – 24VDC IP64 368
F3C-12KS02-P R2M F&C M12 2mm 800Hz PNP NO 12 – 24VDC IP64 368
BES M12MI-NSC20B-BV03 Balluff M12 2mm 1200Hz NPN NO 12 – 30VDC IP68 1,970
BES M12MI-NSC20B-BP03 Balluff M12 2mm 1200Hz NPN NO 12 – 30VDC IP68
BES M12MI-PSC20B-BP03 Balluff M12 2mm 1200Hz PNP NO 12 – 30VDC IP68 1,814

จะเห็นได้ว่าจากปัจจัยที่กล่าวมานั้น มีความสำคัญต่อการเลือกใช้ Inductive Proximity Sensor อย่างมาก โดยหลักการเลือกนั้นเราต้องคำนึงถึงจุดประสงค์ของงานที่ต้องการ เราจึงจะสามารถเลือกประเภทที่ตอบสนองกับความต้องการใช้งานได้ดีที่สุด การใช้งานถูกประเภทนอกจากจะเป็นการส่งเสริมประสิทธิภาพของการทำงานได้แล้ว ยังสามารถช่วยยืดอายุการใช้งานให้กับเซ็นเซอร์ได้อีกด้วย

หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Inductive Proximity Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ และดูและเลือกซื้อ Capacitive Proximity Sensor คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

ดาวน์โหลดคู่มือ Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์

ข้อมูลเกี่ยวกับ Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ ทั้ง 2 ประเภทคือ Inductive Proximity Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ และ Capacitive Proximity Sensor คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ ไม่ว่าจะข้อมูลประเภท การเลือก การติดตั้ง ตลอดจนการใช้งาน รวบรวมไว้ในรูปแบบเอกสารให้คุณดาวน์โหลดฟรี

แคตตาล็อกและราคา Price list ของ Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์

แคตตาล็อกและราคา Price list สินค้ากลุ่ม Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ ทั้ง 2 ประเภทคือ Inductive Proximity Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ และ Capacitive Proximity Sensor คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ หลากหลายรุ่น หลายแบรนด์ Autonics, Balluff และ SICK ที่ครบถ้วน พร้อมเอกสารให้ดาวน์โหลดฟรี

Button-02-Home-back-New
Button-N06
Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์
Facebook Comments