สวัสดีครับ…ยินดีต้อนรับครับผม กลับมาพบกันอีกครั้ง วันนี้เรามาพร้อมกับการติดตั้งและข้อควรระวังต่างๆ ของ Capacitive Proximity Sensor ซึ่งการติดตั้งคาปาซิทีฟพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ นั้นจำเป็นต้องพิจารณาจากหลายองค์ประกอบ เช่น โครงสร้างของเซ็นเซอร์ ประเภทของสัญญาณเอาท์พุต สภาพแวดล้อม เป็นต้น โดยสามารถอธิบายรายละเอียดเพิ่มเติมได้ดังนี้
คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ และศูนย์รวมข้อมูล Capacitive Proximity Sensor คาปาซิทีฟ เซ็นเซอร์ ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น
โครงสร้างของ Capacitive proximity sensor
สามารถแบ่งได้เป็น 2 รูปแบบ ซึ่งแต่ละรูปแบบจะมีข้อกำหนดในการติดตั้งที่แตกต่างกัน ซึ่งจะมีผลต่อทิศทางในการตรวจจับ เช่น โครงสร้างที่เป็นแบบ Flush และ แบบ Non Flush โดยโครงสร้างภายในเซ็นเซอร์ทั้ง 2 แบบ นั้นจะมีโครงสร้างที่แตกต่างกัน ในเรื่องของขนาด Active Plate ซึ่งแบบ Non-Flush จะมีแผ่น Active Plate ที่มีขนาดใหญ่กว่า ทำให้ได้ระยะ SN ที่ไกลกว่า (ดูได้จากรูปที่ 1)
รูปที่ 1 Capacitive proximity sensors แบบ Flush type และ Non-Flush type
นอกจากนี้ในการติดตั้งเซ็นเซอร์ทั้งสองแบบนั้น ยังมีรูปแบบการติดตั้งที่แตกต่างกันเนื่องจากเซนเซอร์แบบ Flush จะสามารถตรวจจับวัตถุที่ด้านหน้าของ Active plate ได้เพียงอย่างเดียว แต่สำหรับแบบ Non-Flush นั้นจะสามารถตรวจจับวัตถุที่อยู่ด้านหน้าและด้านข้างของ Active Plate ได้ดังนั้นในการติดตั้งควรระมัดระวัง เพื่อให้เกิดการทำงานค้างสถานะเอาท์พุตของตัวเซนเซอร์ โดยดูได้จากรูปที่ 2
รูปที่ 2 การติดตั้ง Capacitive proximity sensors แบบ Flush type และ Non-Flush type
รูปที่ 3 การติดตั้ง Capacitive proximity sensors แบบหันหน้าเซนเซอร์เข้าหากัน
ชนิดของ Capacitive proximity sensor และ สภาพแวดล้อมที่เหมาะสม
สภาวะแวดล้อมมีผลต่อการเลือกชนิดการใช้งานของเซ็นเซอร์ ซึ่งเราสามารถเลือกวัสดุที่นำมาใช้สร้างเซ็นเซอร์ได้ โดยวัสดุแต่ละประเภทนั้น จะมีคุณสมบัติการทนต่อสภาวะแวดล้อมหรือสารเคมีที่แตกต่างกัน เช่น PTFE (TEFLON) เป็นวัสดุชนิดหนึ่งที่นิยมนำมาใช้สร้างเซนเซอร์ เนื่องจากมีคุณสมบัติที่ทนต่อการกัดกร่อนได้เป็นอย่างดี
นอกจากนี้ยังมีตัวอย่างของวัสดุแบบอื่นๆ ที่ใช้สร้างคาปาซิทีฟเซ็นเซอร์ ได้ดังนี้
PVC (= polyvinyl chloride)
PTFE (= polytetrafluoroethylene)
FEP (= tetrafluoroethylene-perfluoropropylene)
PUR (= polyurethane)
PBT/PET (= polybutylene terephthalte / polyethylene terephthalate)
PE (= polyethylene)
POM (= polyoxymethylene)
PA (= polyamide)
PC (= polycarbonate)
MS/Cr (= brass,chromium-plated)
Steel/V2A 1.4301;1.4305
ขนาดของ housing size
เป็นองค์ประกอบหนึ่งที่มีความเกี่ยวข้องกับระยะทางในการตรวจจับหรือค่า (Sn) โดยขนาดของเซ็นเซอร์ ที่ได้รับความนิยมจะมีขนาดบอกเป็นหน่วย Metrix คือ M12x1, M18x1, M30x1.5 ซึ่งเป็นรูปทรงกระบอกมีเกลียว โดยเซ็นเซอร์ที่ขนาดใหญ่จะให้ค่า Sn ได้ไกลกว่าเซ็นเซอร์ที่มาขนาดเล็ก และในส่วนเซ็นเซอร์ทรงสี่เหลี่ยมส่วนใหญ่แล้วจะมีรูปร่างที่ไม่เป็นมาตรฐาน โดยจะขึ้นอยู่กับการออกแบบของแต่ละผู้ผลิต
สำหรับประเภทที่มีสายในตัวและแบบใช้คอนเน็คเตอร์ โดยชนิดของสายจะขึ้นอยู่กับพื้นที่ในการติดตั้งว่ามีสภาวะแวดล้อมเป็นแบบใด เช่น มีน้ำมันหรือสารระเหยที่มีผลต่อสายไฟหรือไม่ โดยวัสดุมาตรฐานที่นิยมใช้ทำสายไฟ จะเป็นแบบ PVC แต่ถ้าต้องการความทนทานมากขึ้นก็จะใช้เป็นแบบ PU ในส่วนของรุ่นที่เป็นแบบใช้คอนเน็คเตอร์จะมีโครงสร้างหรือวัสดุเป็นแบบเดียวกับสาย เพียงแต่จะใช้คอนเน็คเตอร์ ขนาด M12 ต่อเข้ากับเซ็นเซอร์แทน เพื่อให้ง่ายต่อการติดตั้งและการบำรุงรักษา
แหล่งจ่ายไฟ Supply Sequence
การเลือกใช้แหล่งจ่ายไฟเลี้ยงสำหรับเซ็นเซอร์นั้นจะขึ้นอยู่กับหน้างานและตัวควบคุมที่รับสัญญาณจากเซ็นเซอร์ ยกตัวอย่าง เช่น อุปกรณ์ คอนโทรลเลอร์ในกลุ่ม PLC, Counter, Timer, Pulse Meter นั้นจะใช้แหล่งจ่ายไฟชนิด DC 10-30V ซึ่งมีความปลอดภัยต่อผู้ใช้งานมากกว่า แต่ถ้าโหลดเป็นอุปกรณ์ที่เป็น AC เช่น Coil AC 220VAC ก็จะใช้เซ็นเซอร์ที่มีแหล่งจ่ายไฟแบบ AC 220V ได้เช่นกัน แต่ต้องใช้ความระมัดระวังในการต่อสายให้ถูกต้อง
สัญญาณเอาท์พุต NPN หรือ PNP
หลายครั้งมักมีคำถามว่า ควรจะใช้เซ็นเซอร์ที่มีสัญญาณเอาท์พุตเป็น แบบ NPN หรือ PNP และในบางครั้งก็จะมีผู้ใช้งานบางส่วนเรียกว่า common – หรือ common + ซึ่งโดยแท้จริง แล้ว NPN นั้นก็คือ common – และ PNP นั้นก็คือ common + ดังนั้นในการเลือกใช้ เราจะพิจารณาจากวงจรที่นำไปใช้ว่ามี Common เป็นแบบใด
รูปที่ 4 สัญญาณเอาท์พุตของ Capacitive proximity sensor
Switching Function NO หรือ NC
Switching Function NO หรือ NC ในบ้างครั้งจะเรียกว่า ปกติเปิด (NO) หรือ ปกติปิด (NC) โดยการเลือกใช้งานในส่วนนี้ จะขึ้นอยู่กับ ฟังก์ชันการทำงานของตัวเซนเซอร์ โดยในกรณีที่เป็นการต่อตัวเซ็นเซอร์ในวงจร ที่เป็นการตัดการทำงานหรือส่วนของการป้องกัน จะนิยมใช้แบบ Normally Close (NC) หรือ ปกติปิด แต่ถ้าเป็นวงจรทริกเกอร์ทั่วไป เช่น การเริ่มวงจร การนับจำนวน ก็จะนิยมใช้งานเป็น แบบ Normally Open (NO) หรือ ปกติเปิด นอกจากนี้ในเซ็นเซอร์บางรุ่น อาจมีทั้งสองวงจรภายในตัวเดียวกันซึ่งจะขึ้นอยู่กับลักษณะของการต่อสาย
รูปที่ 5 สัญญาณเอาท์พุตของ Capacitive proximity sensor แบบ Switching Function NO, NC
IP Rating
คือมาตรฐานที่บ่งชี้ถึงระดับการป้องกันน้ำและฝุ่นของเซ็นเซอร์ โดยปกติจะมีค่า IP67 อยู่แล้ว ซึ่งเป็นค่าความทนต่อน้ำและฝุ่นสำหรับการใช้งานในแบบปกติได้ แต่สำหรับงานที่ต้องการใช้เซ็นเซอร์ในสภาวะแวดล้อมที่เลวร้าย ก็จะมีเซ็นเซอร์รุ่นพิเศษ ที่มีค่า IP สูงขึ้นมา เช่น IP68K โดยสามารถดูข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ IP Rating
รูปที่ 6แสดงระดับของการป้องกันฝุ่นและน้ำของตัวเซนเซอร์ ตามมาตรฐาน IEC 60529
จะเห็นได้ว่าการติดตั้งคือส่วนที่จำเป็นอย่างยิ่ง ที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพให้กับการทำงานของ Capacitive Proximity Sensor ได้ ซึ่งเราต้องพิจารณาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็น โครงสร้างของเซ็นเซอร์ ประเภทของสัญญาณเอาท์พุต รวมไปถึง สภาวะแวดล้อม โดยทั้งหมดที่กล่าวมานั้นคือส่วนสำคัญที่ผู้อ่านจำเป็นต้องเข้าใจ ทางทีม Factomart.com ได้รวบรวมเนื้อหาที่เกี่ยวข้องไว้ที่ แหล่งรวบรวมข้อมูล Capacitive Proximity Sensor ไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้วครับ และถ้าหากมีข้อสงสัยหรือต้องการเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนใดสามารถติดต่อสอบถามได้โดยตรงกับทีมงาน Factomart.com ได้ทุกช่องทางครับ
หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Inductive Proximity Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ และดูและเลือกซื้อ Capacitive Proximity Sensor คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ
ดาวน์โหลดคู่มือ Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์
ข้อมูลเกี่ยวกับ Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ ทั้ง 2 ประเภทคือ Inductive Proximity Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ และ Capacitive Proximity Sensor คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ ไม่ว่าจะข้อมูลประเภท การเลือก การติดตั้ง ตลอดจนการใช้งาน รวบรวมไว้ในรูปแบบเอกสารให้คุณดาวน์โหลดฟรี
แคตตาล็อกและราคา Price list ของ Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์
แคตตาล็อกและราคา Price list สินค้ากลุ่ม Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ ทั้ง 2 ประเภทคือ Inductive Proximity Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ และ Capacitive Proximity Sensor คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ หลากหลายรุ่น หลายแบรนด์ Autonics, Balluff และ SICK ที่ครบถ้วน พร้อมเอกสารให้ดาวน์โหลดฟรี