ระยะการตรวจจับของ Capacitive Proximity สำคัญแค่ไหนกับงานของคุณ

Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์

Share this post

ยินดีต้อนรับสู่บทความของ Factomart ครับ กลับมาพบกับเรื่องราวดีๆ กันอีกครั้งหนึ่ง วันนี้เราจะพูดถึงระยะการตรวจจับวัตถุของเซ็นเซอร์ชนิดนี้โดยเฉพาะ ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ ปัจจัยต่างๆที่ส่งผลต่อระยะการทำงานของเซ็นเซอร์หรือวิธีการคำนวณหาระยะการตรวจจับแต่ละชนิดของวัตถุซึ่งในเรื่องราวต่างๆที่เกี่ยวข้องกับเรื่องระยะนี้ถือได้ว่าเป็นเรื่องที่สำคัญและมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการเลือกใช้งานโดยรายละเอียดต่างๆ จะประกอบไปด้วยหัวข้อหลักดังนี้

คุณสามารถเข้าไปอ่านบทความอื่นๆ ได้ที่ ศูนย์รวมข้อมูลเกี่ยวกับ Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ และศูนย์รวมข้อมูล Capacitive Proximity Sensor คาปาซิทีฟ เซ็นเซอร์ ในหน้านี้จะรวมรวบบทความที่น่าสนใจไว้มากมาย โดยบทความทั้งหมดคุณสามารถเข้าไปอ่านได้เลย และสามารถดาวน์โหลดเนื้อหาทั้งหมดในรูปแบบไฟล์ PDF ได้ฟรีอีกด้วย นอกจากนี้ยังมีหน้าแคตตาล็อกสินค้าให้คุณเข้าไปดาวน์โหลดฟรี เพื่อใช้หารุ่นที่คุณต้องการได้ง่ายขึ้น

ปัจจัยที่ส่งผลต่อระยะการตรวจจับ

ระยะเซ็นเซอร์การตรวจจับของ Capacitive Proximity Sensor นั้น จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ ซึ่งจะแบ่งออกเป็นปัจจัยภายนอกและภายใน

ปัจจัยภายนอก

ปัจจัยภายนอกจะได้แก่ปริมาณของพื้นที่ผิวของวัตถุที่ต้องการตรวจจับและค่าไดอิเล็กทริคของตัวกลางระหว่างวัตถุและเซ็นเซอร์ ซึ่งปกติก็จะเป็น อากาศ อุณหภูมิและความชื้น ซึ่งนอกจากนี้ยังรวมไปถึงเรื่องของความถี่ในการตรวจจับของวัตถุอีกด้วย

ปัจจัยภายใน

ปัจจัยภายในของตัวเซ็นเซอร์จะได้แก่ ส่วนที่เป็นพื้นที่แอคทีฟ (Active surface) ของเซ็นเซอร์ ซึ่งโดยปกติแล้ว ถ้ายิ่งมีพื้นที่มากก็จะส่งผลให้ระยะทางในการตรวจจับของเซ็นเซอร์นั้นมีระยะที่ไกลมากยิ่งขึ้น

การคำนวณหาระยะการตรวจจับของเซ็นเซอร์

คาปาซิทีฟพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์นั้นสามารถตรวจจับวัตถุได้หลากหลายชนิดแต่ระยะในการตรวจจับหรือ Sensing distance นั้นจะแปรเปลียนไปตามชนิดของวัตถุจึงจำเป็นต้องมีหลักในการช่วยเพิ่มความสะดวกในการเลือกใช้งานเซ็นเซอร์ขึ้นมา

ซึ้งเราจะใช้ตารางตามรูปที่ 1 ในการช่วยหาระยะที่คาปาซิทีฟพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์นั้นสามารถตรวจจับได้ ยกตัวอย่าง เช่น ในกรณีต้องการตรวจจับ แผ่น Polycarbonate ที่มีความหนา 6 mm และ ใช้ Capacitive proximity sensor ที่มีระยะตรวจับ 20 mm โดยระยะในการตรวจจับจริงจะมีค่าเท่าใด

Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์

รูปที่ 1 ค่า Factor เพื่อใช้คำนวณกับระยะ Sensing distance ของเซ็นเซอร์ เมื่อใช้ตรวจจับวัตถุแต่ละชนิด

จากตารางค่า Factor ของ  Polycarbonate ที่มีความหนา 6 mm นั้นมีค่าเท่ากับ 0.4 ดังนั้น ระยะในการตรวจจับจริงจะมีค่าเท่ากับ

Real Sensing = 20 mm x 0.4

              = 8 mm

นอกจากการนำค่า Factor ที่ใช้คูณกับระยะ Sensing distance (SN) ของเซ็นเซอร์แล้ว เรายังสามารถปรับระยะในการตรวจจับวัตถุได้จากการปรับค่าความไวในของการตรวจจับได้โดยการใช้ไขควงพลาสติกในการช่วยปรับ ซึ่งจะสามารถปรับให้เอาท์พุตทำงานได้เมื่อมีวัตถุอยู่ในระยะที่ต้องการตรวจจับและปรับให้เอาท์พุตหยุดการทำงาน เมื่อวัตถุอยู่ห่างจากระยะในการตรวจจับแต่อย่างไรก็ตามเราต้องคำนึงถึงค่า Hysteresis ของเซ็นเซอร์ด้วย

Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์

 รูปที่ 2 การปรับค่าความไวในการตรวจจับได้โดยการใช้ไขควงพลาสติก

การคำนวณหาระยะการตรวจจับจากค่า Sn และ Sd

ในการหาระยะการตรวจจับนั้น โดยปกติแล้วจะคำนวณได้จากการใช้ ค่า Sn และ Sd ซึ่งในแต่ละค่านั้นจะมีความหมายและการนำไปใช้ที่แตกต่างกันออกไป ดังนี้

Sn หรือ Normal Sensing Distance

Sn หรือ Normal Sensing Distance: จะเป็นค่าของระยะในการตรวจจับ ตามมาตรฐานที่ถูกทดสอบกับแผ่นมาตรฐาน ซึ่งจะใช้แผ่นโลหะที่เชื่อมกับกราวด์ของเซ็นเซอร์โดยจะเป็นระยะที่สามารถตรวจจับได้จริง

Sd หรือ Sensing Distance

Sd หรือ Sensing Distance: จะเป็นค่าระยะในการตรวจจับสูงสุดที่มีความเป็นไปได้ ซึ่งจะขึ้นอยู่กับขนาดของแผ่น Metal Plate ที่อยู่ภายในเซ็นเซอร์ ซึ่งเราไม่ควรนำค่านี้มาพิจารณาในการเลือกใช้งานตรวจจับในระยะปกติ แต่จะใช้ในกรณีที่ต้องการพิจารณาถึงโอกาส ที่จะมีวัตถุไม่พึงประสงค์ผ่านเข้ามาในระยะตรวจจับของเซ็นเซอร์เท่านั้น

และยังคงมีค่า H หรือค่า Hysteresis ของระยะในการตรวจจับ ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่เซ็นเซอร์ เอาท์พุตทำงาน เปลี่ยนสถานะเป็น หยุดทำงานโดยปกติแล้ว จะมีค่าส่วนต่างซึ่งแสดงค่าเป็น % ของค่า Sr และ ดังนั้นในการติดตัวเซ็นเซอร์จำเป็นต้องพิจารณาถึงค่านี้ด้วย

Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์

รูปที่ 3 ความแตกต่างระหว่างค่า Sn (S) และค่า Hysteresis (H)

จะเห็นได้ว่าเรื่องระยะทางในการตรวจของ Inductive Proximity Sensor นั้ คือส่วนสำคัญที่จำเป็นต้องรู้ทั้งในเรื่องของปัจจัยที่สามารถเกิดขึ้นได้ทั้งภายในและภายนอกของเซ็นเซอร์ ชนิดของแต่ละวัตถุที่ส่งผลต่อระยะการตรวจจับที่แตกต่างกัน รวมไปถึงการใช้ค่า Sn และ  Sd ที่ถูกต้องว่าเราควรใช้ให้เหมาะในกรณีใด

จากความรู้ทั้งหมดที่ได้กล่าวมานั้นเป็นส่วนหนึ่งที่จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้กับ คาปาซิทีฟพร็อกซิมิตี้เซ็นเซอร์ ได้แต่ถ้าต้องการที่จะเพิ่มความเข้าใจ เพื่อเสริมการทำงานให้กับเซ็นเซอร์ชนิดนี้ ให้ได้เต็มประสิทธิภาพนั้น เราจำเป็นต้องรู้ในเรื่องการแบ่งประเภท, การเลือกใช้ที่เหมาะสม, การติดตั้งที่ดีรวมไปถึงความเข้าใจการประยุกต์ใช้ ซึ่งหัวข้อต่างๆที่กล่าวมานั้นถือเป็นหัวข้อสำคัญที่ควรศึกษา โดยเราได้จัดทำไว้เป็นที่เรียบร้อยแล้ว หากผู้อ่านท่านใดมีข้อสงสัยหรือต้องการเสนอแนะเพิ่มเติมในส่วนใดทางทีมงาน Factomart.com ยินดีให้บริการผ่านทุกช่องทางครับ

หากคุณสนใจสินค้า สามารถเข้าไป ดูและเลือกซื้อ Inductive Proximity Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ และดูและเลือกซื้อ Capacitive Proximity Sensor คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ ได้ที่หน้าเว็บออนไลน์ของเรา มีสินค้าหากหลายรุ่น จากแบรนด์ดังให้เลือกมากมาย ถ้าคุณมีข้อสงสัยหรืออยากสอบถามเพิ่มเติมเกี่ยวกับสินค้า สามารถแชทมาหาเราได้ทันทีจากช่องแชทด้านล่างขวามือ หรือส่งเมลล์มาที่ [email protected] หรือผ่าน Line ที่ @factomart และเบอร์โทร 021-050-567 ได้หลากหลายช่องทาง มีผู้เชี่ยวชาญให้คำแนะนำตลอดเวลาทำการ

ดาวน์โหลดคู่มือ Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์

ข้อมูลเกี่ยวกับ Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ ทั้ง 2 ประเภทคือ Inductive Proximity Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ และ Capacitive Proximity Sensor คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ ไม่ว่าจะข้อมูลประเภท การเลือก การติดตั้ง ตลอดจนการใช้งาน รวบรวมไว้ในรูปแบบเอกสารให้คุณดาวน์โหลดฟรี

แคตตาล็อกและราคา Price list ของ Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์

แคตตาล็อกและราคา Price list สินค้ากลุ่ม Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ ทั้ง 2 ประเภทคือ Inductive Proximity Sensor เซ็นเซอร์ตรวจจับโลหะ และ Capacitive Proximity Sensor คาปาซิทีฟ พร็อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์ หลากหลายรุ่น หลายแบรนด์ Autonics, Balluff และ SICK ที่ครบถ้วน พร้อมเอกสารให้ดาวน์โหลดฟรี

Button-02-Home-back-New
Button-N10
Proximity Sensor พร้อกซิมิตี้ เซ็นเซอร์
Facebook Comments